เทคโนโลยีทำให้คนเท่ากัน

อ่านหนังสือ In Order to Live ของ Park Yeonmi อยู่แล้วเจอเรื่องเล่าตอนหนึ่งที่ Yeonmi ได้พบกับ “ผ้าอนามัย” เป็นครั้งแรกทำให้นึกขึ้นได้ว่าผ้าอนามัยเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ทำให้ความเท่าเทียมระหว่างเพศเป็นจริงได้เช่นทุกวันนี้

Yeonmi เล่าถึงเกาหลีเหนือที่ผู้หญิงไม่สามารถออกจากบ้านได้เดือนละหลายๆ วันเพราะประจำเดือน พอเธอมาเจอกับผ้าอนามัยทำให้เธอสามารถไปไหนมาไหนได้แม้แต่ในช่วงที่มีประจำเดือน

กลับมาคิดดูด้วยมุมมองของคนที่เหมือนเดินทางข้ามเวลามา 50-60 ปีอย่าง Yeonmi ข้อจำกัดอย่างประจำเดือนทำให้ยังทำให้ผู้หญิงทั่วโลกสามารถทำงานได้เท่าเทียมผู้ชายได้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อนอย่างมาก เทคโนโลยีในวันนี้เอง เมื่อมันซึมซับเข้าไปในสังคมก็อาจจะเปลี่ยนสังคมในระดับเดียวกัน

อย่างเทคโนโลยีสำหรับผู้หญิง เช่น การมีลูกได้ในช่วงอายุที่กว้างขึ้นที่ทุกวันนี้เริ่มมีแล้วด้วยเทคโนโลยีการแช่แข็งไข่ (แต่ยังมีประเด็นอีกมาก) ในอนาคตผู้หญิงก็สามารถเติบโตในหน้าที่การงานจนพอใจ ครอบครัวที่มีทุนเริ่มต้นน้อยสามารถสร้างฐานะได้เป็นเวลานานจนกว่าจะมีลูก

เราเดินทางมาไกล และเส้นทางที่เราเดินไปอาจจะทำให้เรารู้สึกแปลกๆ แต่ถ้ามองว่าเราคงย้อนกลับเส้นทางที่เราเคยผ่านมาแล้วไม่ได้ ในอนาคตก็อาจจะคล้ายๆ กัน

 

In Ear

น่าจะเป็น Shure SE535LTD เปลี่ยนสายเป็นสายขาว EAC64CL

หูฟังเปล่าๆ 15,900 บาท สีแดงเป็นรุ่น LTD ไม่เห็นในไทย เปลี่ยนสายอีกพันกว่าบาท

ลาก่อน

 

SPECTRE

  • เพลงเปิดไม่อลัง เทียบกับ Skyfall ไม่ได้เลย
  • Léa Seydoux ดูแล้วคิดถึง Taylor Swift แต่รวมๆ ดูสวยทั้งเรื่อง +แต้มไปในประเด็นนี้
  • เล่นประเด็น Agent/Surveillance ทันสมัยมาก หลัง Snowden หลายหน่วยงานก็ออกมาบอกว่ากลับไปใช้ agent+informant กัน
  • ประเด็น agent vs. surveillance นี่จริงๆ เพิ่งชัดในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ คนเขียนบทอ่านขาด
  • ดันมาตรงกับวันออกร่างกฎหมาย IPB พอดี
  • ไม่มี มือถือลอยเด่น, กล้องคอมแพคโผล่มากลางเรื่อง, หรือโลโก้คอมพิวเตอร์ชัดแล้ว กลับไปเหลือรถและนาฬิกา
  • ซับไตเติ้ลมีแปลกๆ หลายจุด ไม่อ่านได้ควรข้าม
 

ดักฟังอินเทอร์เน็ต

ช่วงนี้มีข่าวดักฟังอินเทอร์เน็ตมาเรื่อยๆ โดยเฉพาะในต่างประเทศ (ที่ใช้กฎหมายยุคสงครามเย็นกันมานาน หรือไม่ก็ใช้กฎหมายตั้งแต่ 9/11) พอเจอ Snowden เลยต้องอัพเดตกฎหมายกันชุดใหญ่

อำนาจดักฟังเป็นเรื่องใหญ่ คำถามคือเรายอมรับไม่ได้ทุกกรณีรึเปล่าคงไม่ใช่ การดักฟังเป็นการละเมิด แต่ถ้ามีเหตุมันเบากว่าการจับกุม ซึ่งจะไปรบกวนชีวิตของผู้ต้องสงสัยกว่าเดิม

คำถามคือแล้วทำยังไงเราจะยอมรับได้ โดยส่วนตัวคิดว่า หลักการคือ

  • ตรวจสอบย้อนกลับได้ อันนี้สำคัญ กรณี Snowden บอกเราว่าการบอกว่ามีหมายศาลไม่ได้เป็นเครื่องป้องกันที่เพียงพอ (มีดีกว่าไม่มีแต่ว่ามีแล้วระบบแย่ก็ดีกว่านิดเดียวมากๆ FISA แทบจะเป็นตรายาง) คำสั่งควรเปิดเผยข้อมูลโดยรวม (aggregated data – จำนวนผู้ได้รับผลกระทบ, จำนวนคำสั่ง, จำนวนข้อความ) อย่างรวดเร็ว มีกรรมการตรวจสอบเข้าถึงรายละเอียดได้ทั้งหมด (อาจจะต้องมีระดับเข้าถึงความลับระดับความมั่นคงได้) และรายงานความผิดพลาดอย่างรวดเร็ว ในระยะยาว คำสั่งที่ไร้ผลแล้ว เช่น ปิดคดี หรือหมดอายุความ ต้องเปิดเผยรายละเอียดสู่สาธารณะ คนสั่งต้องไม่ทำตามสบายใจว่าไม่มีใครรู้ แต่ต้องคาดว่าหลังเรื่องจบจะมีคนรู้เสมอ ใครเป็นคนขอ ใครเป็นคนตรวจทาน ใครเป็นคนอนุญาต เป็นกรรม (ไม่ว่าดีหรือร้าย) ที่จะติดตัวไปจนตาย หลังเปิดเผยอาจจะมีฮีโร่หรือมีซาตานก็ต้องพร้อมรับสิ่งที่ตามมา
  • มีขอบเขตจำกัด อำนาจการดักฟังอาจจะไม่สามารถกำหนดเป็นบุคคลได้เสมอไป อาจจะกระทบคนจำนวนมากๆ เช่น ทั้งบ้าน, ทั้งโรงเรียน ฯลฯ แต่ต้องมีขอบเขตว่า ต่อให้ได้รับอนุญาตเป็นชุด (bulk) ก็ไม่ใช่เอาไปตีความใช้งานได้ตามใจชอบประเภทว่าถือหมายเดียวซัดทั้งประเทศ คำสั่งต้องระบุจำนวนผู้ได้รับผลกระทบและรายงานสู่กระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ อาจจะต้องมีเพดานว่าคำสั่งจะอนุมัติได้ไม่เกินขอบเขตแค่ไหน เช่น ขนาดพื้นที่ หรือจำนวนอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ จำนวนไอพี ฯลฯ
  • ไม่ทำให้คนปลอดภัยน้อยลง กระบวนการดักฟัง เจาะระบบ ฯลฯ ต้องอยู่บนหลักว่าผู้ใช้โดยทั่วไปสามารถจัดหาระบบรักษาความปลอดภัยได้ดีแค่ไหนก็ให้เขาทำไป ต้องไม่มีการบังคับให้เปิดช่องพิเศษซึ่งลดความปลอดภัยโดยรวมลง รัฐเองมีความสามารถในการจัดหาช่องโหว่ที่ยังไม่เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป อันนั้นก็ใช้งานได้ แต่ต้องไม่บังคับให้ผู้ผลิตใส่ช่องโหว่ลงไปอย่างตั้งใจ เพราะสุดท้ายแล้วช่องโหว่พวกนั้นจะกลายเป็นช่องโหว่ทำให้คนทั่วไปถูกโจมตีเสียเอง กรณีแบบนี้ที่เป็นบทเรียนคือกุญแจของ TSA และ RSA_EXPORT

หลักการอื่นๆ ประเภทว่าต้องเป็นคดีร้ายแรง มีเหตุผลพอสมควร ฯลฯ คงอยู่ในกฎหมายส่วนใหญ่อยู่แล้ว