Monoculture

วันก่อนไปเรียน Knowledge Management กับ อ.ยืนมาในฐานะ Guest Speaker อาจารย์พูดถึงหลายเรื่องมากๆ แต่ประเด็นหนึ่งที่ติดใจคือเรื่องของ Monoculture[^1] ที่ อ.ระบุว่าโลกกำลังพบกับกระแสของวัฒนธรรมที่เชี่ยวกราก และหลอมรวมเอาวัฒนธรรมทั้งโลกเข้าเป็นวัฒนธรรมเดียวกัน

ผมว่าจะเขียนเรื่องนี้ตั้งหลายวันแล้วแต่มาเจอกับ[ประเด็นภูฏานใน Blognone][bn] เสียก่อน เลยคิดว่าเรื่องนี้น่าสนใจพอที่จะเขียนเป็นเรื่องเดียวกัน

ความขัดแย้งอย่างหนึ่งคือสังคมมนุษย์แทบทั้งโลกนั้นต้องการความเจริญ เราคงไม่เจอสังคมไหนที่ไม่อยากให้ตัวเลขที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่เช่น อายุขัยเฉลี่ย, ความทั่วถึงของสาธารนูปโภค, รายได้ต่อหัว ฯลฯ ดีขึ้นตามกาลเวลา แต่เมื่อก่อนเวลาเราสร้างเขื่อน หรือต่อสายไฟนั้น ยังไม่เคยมียุคไหนที่เราต้องเสี่ยงกับภาวะสูญเสีย “ความเป็นไทย” มากเท่าในยุคนี้

เพราะความเจริญในยุคนี้คือการสื่อสาร

มันไม่แปลกอะไรที่เราอยากรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของเราให้คงอยู่นานเท่านาน แต่เมื่อชนรุ่นหลังของเราเติบโตขึ้นมาด้วยวัฒนธรรมที่กำลังได้รับความนิยมในอีกซีกโลก ไม่ว่าจะเป็น Cosplay, iPod, หรือ Netbook เราอาจจะพบว่าวัฒนธรรมดั้งเดิมบางอย่างของเรากำลังอยู่ในภาวะอันตราย

สิ่งที่เราต้องการคือความเจริญโดยไม่ต้องถูกบุกรุกทางวัฒนธรรม (อย่างน้อยๆ ก็ในความรู้สึกของเรา) คำถามใหม่คือ มันเป็นไปได้หรือ มันเป็นไปได้หรือที่เราจะรับเอางานวิจัยใน IEEE Xplore โดยไม่ได้รับวัฒนธรรมแฮมเบอร์เกอร์, หรือเราจะไปเรียนรู้อาซิโมโดยไม่เอาการ์ตูนญี่ปุ่น

ผมมองว่าภูฏานเองกำลังตั้งคำถามเช่นนี้ และพยายามบอกว่ามัน “ทำได้”

ขณะที่เรากำลังมองภูฏานด้วยความทึ่งในความ “บริสุทธิ์” ของวัฒนธรรม ผมกลับมองว่าด้วยช่องทางการเข้าถึงของวัฒนธรรมภายนอกที่ยังไม่มากนัก เช่นการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพียงระดับไม่กี่หมื่นคน ปริมาณการเรียนต่อต่างประเทศที่ไม่สูงมากนัก ความบริสุทธิ์ทางวัฒนธรรมของภูฏานนั่นก็เป็นแค่ภาวะที่วัฒนธรรมภายนอก “ยัง” บุกไปไม่ถึงเท่านั้นเอง

แต่ด้วยภาวะที่ประเทศต้องนำเข้ากระดาษทิชชู่ และส่งนักเรียนทุนมาเรียนเมืองไทย ภูฏานไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเปิดรับเอาความเจริญจากภายนอกเข้าประเทศให้มากที่สุด ด้วยภาวะเช่นนี้สร้างภาพให้เราเห็นว่าความเจริญที่เกิดขึ้นไม่ได้ไปกระทบกับวัฒนธรรมของเขาในระดับเดียวกับบ้านเรา

ผมตั้งคำถามว่าภาวะเช่นนี้ของภูฏานเป็นภาวะที่ยั่งยืนแน่หรือ ภาพคนอยู่ในไร่นาอย่างสงบและเรียบง่าย จะยังคงอยู่โดยที่ตัวเลขความเจริญทางเศรษฐกิจจะเติบโตขึ้นไปดังที่หวัง

ถ้าทำได้คงเป็นปรากฏการณ์ที่น่าทึ่ง และฉีกตำราที่พูดถึง Globalization ไปหลายเล่ม

อีกสัก 25-50 ปีคงรู้กัน

[^1]: [Monoculture][wp] จริงๆ แล้วใช้กันในประเด็นของกสิกรรม เป็นการพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่าระบบนิเวศจะอ่อนแอลงมากเพราะการเกษตรสมัยใหม่ที่ขาดความหลากหลาย ระบบรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ก็ใช้คำเดียวกับบอกถึงความอันตรายเมื่อมีการใช้ระบบที่เหมือนๆ กันจำนวนมากๆ ในบริษัท อย่างม.เกษตรก็เคยโดน Blaster ที่วิ่งไปมาบนเครื่องวินโดวส์ใน ม. แล้วเอาออกให้หมดไปยากมาก

[wp]: http://en.wikipedia.org/wiki/Monoculture
[bn]: http://www.blognone.com/node/8225#comment-57196

 

เกอิชา

หลัง​จาก​อ่าน​หนังสือ​ความ​ยาว 900 หน้า​จบ​ใน​สี่​วัน​แล้ว​พบ​ว่า​คิด​ถูก​ที่​เลือก​ซื้อ​หนังสือ​เล่ม​นี้

บท​สรุป​ง่ายๆ สำหรับ​หนังสือ​เรื่อง Memoir of Geisha ที่​แตก​ต่าง​จาก​หนัง​นั้น อาจ​จะ​บอก​ได้​ว่า ขณะ​ที่​หนังสือ​พยายาม​ธิบายวัฒนธรรมของญี่ปุ่นให้​ชาว​ตะวัน​ตก​เข้า​ใจ ตัว​หนัง​นั้น​พยายาม​ปรับ​วัฒนธรรม​ญี่ปุ่น​ให้​เข้า​กับ​วัฒนธรรม​ตะวัน​ตก

โดย​เฉพาะ​ใน​เรื่อง​เพศ แน่​นอน​หนังสือ​เรื่อง​เกอิชา​จะ​หนี​เรื่อง​เพศ​ไป​ได้​อย่าง​ไร​กัน

[ต่อ​ไป​นี้​สปอยแหลก!!!]

ขณะ​ที่​ตัว​ภาพยนตร์​นั้น​ยอม​รับ​เพียง​พิธี​มิสึอาเงะ (พิธี​เปิด​บริสุทธิ์​สาว​พรหมจรรย์) ตัว​หนังสือ​กลับ​สะท้อน​วัฒธรรมของญี่ปุ่นใน​ตอน​นั้น​ได้​ค่อน​ข้าง​ชัดเจน

ผม​เคย​อ่าน​จาก​ที่​ไหน​สัก​ที่​ระบุ​ว่า เรื่อง​เพศ​นั้น​ไม่​เรื่อง​น่า​รังเกียจ​สำหรับ​วัฒนธรรม​ญี่ปุ่น​มา​แต่​ไหน​แต่​ไร แต่​ผม​เอง​ก็​ไม่​เคย​เข้า​ใจ​มัน​ซัก​ที​จน​ได้​มา​อ่าน​หนังสือ​เล่ม​นี้

ขณะ​ที่​ใน​ตัว​ภาพยนตร์​นั้น​พยายาม​ออก​ตัว​ว่า​พิธี​มิ​สึอาเงะนั้น​เป็น​กรณี​ยกเว้น​เป็น​พิเศษ ที่​ผู้​ชาย​ที่​หลง​รัก​สาว​สัก​คน​จะ​ยัง​คง​ยอม​รับ​เธอ​อยู่​แม้​จะ​ผ่าน​พิธี​นี้​ไป​แล้ว เรื่อง​ราว​ใน​หนังสือ​ลง​ลึก​กว่า​นั้น​ด้วย​การ​บอก​เล่า​ถึง​การ​ยอม​รับ​ได้​ของ​คน​ญี่ปุ่น​ที่​แม้​หญิง​สาว​นั้น​จะ​ผ่าน​กระทั่ง​การ​มี​ดัน​นะ (เสี่ย​เลี้ยง) เป็น​ของ​ตัว​เอง

แม้​ใน​เรื่อง​คุณ​โน​บุ​จะ​แสดง​ท่า​ที​โกรธ​ตลอด​เวลา ความ​โกรธ​ที่​แสดง​ออก​มา​ไม่​ใช่​เพราะ​ซา​ยู​ริ​นั้น​ผ่าน​ชาย​อื่น​มา​หลาย​คน แต่​หาก​เป็น​เพราะ​หนึ่ง​ใน​นั้น​ไม่​มี​คุณ​โน​บุ​อยู่​ด้วย​ต่าง​หาก

ด้าน​ความ​รู้​สึก​ของ​ซา​ยู​ริ​นั้น​เล่า กลับ​ไม่​ได้​แสดง​ความ​รู้​สึก​ผิด​อะไร​ที่​เธอ​ต้อง​ผ่าน​ชาย​หลาย​คน กว่า​จะ​ได้​พบ​ท่าน​ประธาน​ใน​ตอน​ท้าย​ของ​เรื่อง

เรื่อง​พวก​นี้​ใน​ภาพยนตร์​นั้น​โดน​ตัด​ออก​เสีย​หมด ซึ่ง​ก็​ไม่​น่า​แปลก​ใจ​อะไร​เพราะ​มาตรฐาน​ตะวัน​ตก​นั้น​คง​แพร่​กระจาย​ไป​ทั่ว​โลก การ​แสดง​เนื้อ​เรื่อง​ตาม​หนังสือ​แล้ว​หวัง​ให้​คน​เข้า​ใจ​ทั้ง​หมด​ใน​เวลา​ไม่​ถึง​สอง​ชั่วโมง​จึง​เป็น​เรื่อง​ที่​แทบ​เป็น​ไป​ไม่​ได้

แต่​เรื่อง​หนึ่ง​ที่​ได้​จาก​การ​อ่าน​หนังสือ​เล่ม​นี้​คือ​แนว​คิด​ที่​คน​ญี่ปุ่น​ยกย่อง “ศิลปิน” อย่าง​เต็ม​ที่​ใน​ทุกๆ แขนง เรา​ได้​พบ​กับ​ศิลปิน​ใน​แขนง​อื่นๆ นอก​จาก​เกอิชา เช่น​จิตรกร นัก​แสดง ช่าง​ทำ​กิโมโน ฯลฯ อีก​มาก​มาย

ความ​รัก​ใน​วัฒนธรรม​ของ​ตัว​เอง​ที่​เหนียว​แน่น​เช่น​นี้ ผม​ก็​ยัง​คง​ไม่​เข้า​ใจ​ว่า​เป็น​ไป​ได้​อย่าง​ไร ที่​กระทั่ง​ทุก​วัน​นี้​ก็​ยัง​มี​เกอิชา​อยู่​นับ​หมื่น​คน​ใน​ญี่ปุ่น

มัน​คง​จะ​ดี​หาก​เรา​จะ​เรียน​รู้​ที่​จะ​รักษา​ตัว​ตน​ของ​ตัว​เอง​เช่น​นั้น​บ้าง

ปล. หา​พนัง​สือเรื่อง “ฟ้า​จรด​ทราย” มา​อ่าน​ไม่​ได้​เลย​แฮะ

 

รักษา

ตลอด​ชีวิต​คน​เรา ไม่​รู้​กี่​เรื่อง​ที่​เรา​ทำๆ ไป​เพื่อ​การ “รักษา​มารยาท”

มัน​เป็น​เรื่อง​ดี​อยู่ ที่​เรา​จะ​สนใจ​ความ​รู้​สึก​ของ​คน​รอบ​ตัว​เรา แต่​หลายๆ ครั้ง​แล้ว ผม​พบ​ว่า​เรา​ถูก​สอน​ให้​การ​รักษา​มารยาท​นั้น เป็น​การ​รักษา​ความ​รู้​สึก​แบบ​ขอ​ไป​ที

เรา​โกหก​คน​รอบ​ตัว​กัน​ตลอด​เวลา เรา​แสดง​ความ​รู้​สึก​ที่​ดี​กัน​อย่าง​หน้า​ชื่น​ตา​บาน หลายๆ ครั้ง​เรา​อาจ​จะ​ชม​อาหาร​ที่​มี​เพื่อน​บ้าน​ทำ​มา​ให้​แล้ว​ไม่​อร่อย เรา​ขอบคุณ​เพื่อน​เรา​ที่​ให้​ของ​ขวัญ​ทั้ง​ที่​เรา​ไม่​ชอบ

เรา​เลือก​ที่​จะ​มี​ชีวิต​อยู่​กับ​คำ​โกหก เพื่อ​ให้​เรา​รู้​สึก​ดี​ขึ้น​แม้​ใน​ระยะ​สั้นๆ

เรื่อง​น่า​เศร้า​คือ​ตลอด​ชีวิต​ของ​เรา มี​คำ​โกหก​ไม่​น้อย​ที่​ต้อง​ถู​เปิด​เผย​ใน​เวลา​ต่อ​มา ความ​จริง​ที่​แสน​เจ็บ​ปวด​สามารถ​ย้อน​กลับ​มา​แล้ว​แสดง​พิษสง​ของ​มัน​ได้​มากกว่า​ครั้ง​แรก​ที่​เรา​จะ​บอก​ความ​จริง​มาก​นัก

ผม​ไม่​อาจ​บอก​บท​สรุป​ได้​ง่ายๆ ว่า​เรา​ไม่​ควร​โกหก​เพื่อ​รักษา​มารยาท​กัน แต่​เมื่อ​เรา​เลือก​ที่​จะ​ปิด​บังความ​จริง​บาง​อย่าง​แล้ว เรา​ควร​ตระหนัก​อยู่​เสมอ…

ว่า​ความ​จริง​นั้น กำลัง​รอ​วัน​ย้อน​กลับ​เข้า​มา​ใน​ชีวิต​ของ​เรา​อยู่​ตลอด​เวลา…