เกอิชา

หลัง​จาก​อ่าน​หนังสือ​ความ​ยาว 900 หน้า​จบ​ใน​สี่​วัน​แล้ว​พบ​ว่า​คิด​ถูก​ที่​เลือก​ซื้อ​หนังสือ​เล่ม​นี้

บท​สรุป​ง่ายๆ สำหรับ​หนังสือ​เรื่อง Memoir of Geisha ที่​แตก​ต่าง​จาก​หนัง​นั้น อาจ​จะ​บอก​ได้​ว่า ขณะ​ที่​หนังสือ​พยายาม​ธิบายวัฒนธรรมของญี่ปุ่นให้​ชาว​ตะวัน​ตก​เข้า​ใจ ตัว​หนัง​นั้น​พยายาม​ปรับ​วัฒนธรรม​ญี่ปุ่น​ให้​เข้า​กับ​วัฒนธรรม​ตะวัน​ตก

โดย​เฉพาะ​ใน​เรื่อง​เพศ แน่​นอน​หนังสือ​เรื่อง​เกอิชา​จะ​หนี​เรื่อง​เพศ​ไป​ได้​อย่าง​ไร​กัน

[ต่อ​ไป​นี้​สปอยแหลก!!!]

ขณะ​ที่​ตัว​ภาพยนตร์​นั้น​ยอม​รับ​เพียง​พิธี​มิสึอาเงะ (พิธี​เปิด​บริสุทธิ์​สาว​พรหมจรรย์) ตัว​หนังสือ​กลับ​สะท้อน​วัฒธรรมของญี่ปุ่นใน​ตอน​นั้น​ได้​ค่อน​ข้าง​ชัดเจน

ผม​เคย​อ่าน​จาก​ที่​ไหน​สัก​ที่​ระบุ​ว่า เรื่อง​เพศ​นั้น​ไม่​เรื่อง​น่า​รังเกียจ​สำหรับ​วัฒนธรรม​ญี่ปุ่น​มา​แต่​ไหน​แต่​ไร แต่​ผม​เอง​ก็​ไม่​เคย​เข้า​ใจ​มัน​ซัก​ที​จน​ได้​มา​อ่าน​หนังสือ​เล่ม​นี้

ขณะ​ที่​ใน​ตัว​ภาพยนตร์​นั้น​พยายาม​ออก​ตัว​ว่า​พิธี​มิ​สึอาเงะนั้น​เป็น​กรณี​ยกเว้น​เป็น​พิเศษ ที่​ผู้​ชาย​ที่​หลง​รัก​สาว​สัก​คน​จะ​ยัง​คง​ยอม​รับ​เธอ​อยู่​แม้​จะ​ผ่าน​พิธี​นี้​ไป​แล้ว เรื่อง​ราว​ใน​หนังสือ​ลง​ลึก​กว่า​นั้น​ด้วย​การ​บอก​เล่า​ถึง​การ​ยอม​รับ​ได้​ของ​คน​ญี่ปุ่น​ที่​แม้​หญิง​สาว​นั้น​จะ​ผ่าน​กระทั่ง​การ​มี​ดัน​นะ (เสี่ย​เลี้ยง) เป็น​ของ​ตัว​เอง

แม้​ใน​เรื่อง​คุณ​โน​บุ​จะ​แสดง​ท่า​ที​โกรธ​ตลอด​เวลา ความ​โกรธ​ที่​แสดง​ออก​มา​ไม่​ใช่​เพราะ​ซา​ยู​ริ​นั้น​ผ่าน​ชาย​อื่น​มา​หลาย​คน แต่​หาก​เป็น​เพราะ​หนึ่ง​ใน​นั้น​ไม่​มี​คุณ​โน​บุ​อยู่​ด้วย​ต่าง​หาก

ด้าน​ความ​รู้​สึก​ของ​ซา​ยู​ริ​นั้น​เล่า กลับ​ไม่​ได้​แสดง​ความ​รู้​สึก​ผิด​อะไร​ที่​เธอ​ต้อง​ผ่าน​ชาย​หลาย​คน กว่า​จะ​ได้​พบ​ท่าน​ประธาน​ใน​ตอน​ท้าย​ของ​เรื่อง

เรื่อง​พวก​นี้​ใน​ภาพยนตร์​นั้น​โดน​ตัด​ออก​เสีย​หมด ซึ่ง​ก็​ไม่​น่า​แปลก​ใจ​อะไร​เพราะ​มาตรฐาน​ตะวัน​ตก​นั้น​คง​แพร่​กระจาย​ไป​ทั่ว​โลก การ​แสดง​เนื้อ​เรื่อง​ตาม​หนังสือ​แล้ว​หวัง​ให้​คน​เข้า​ใจ​ทั้ง​หมด​ใน​เวลา​ไม่​ถึง​สอง​ชั่วโมง​จึง​เป็น​เรื่อง​ที่​แทบ​เป็น​ไป​ไม่​ได้

แต่​เรื่อง​หนึ่ง​ที่​ได้​จาก​การ​อ่าน​หนังสือ​เล่ม​นี้​คือ​แนว​คิด​ที่​คน​ญี่ปุ่น​ยกย่อง “ศิลปิน” อย่าง​เต็ม​ที่​ใน​ทุกๆ แขนง เรา​ได้​พบ​กับ​ศิลปิน​ใน​แขนง​อื่นๆ นอก​จาก​เกอิชา เช่น​จิตรกร นัก​แสดง ช่าง​ทำ​กิโมโน ฯลฯ อีก​มาก​มาย

ความ​รัก​ใน​วัฒนธรรม​ของ​ตัว​เอง​ที่​เหนียว​แน่น​เช่น​นี้ ผม​ก็​ยัง​คง​ไม่​เข้า​ใจ​ว่า​เป็น​ไป​ได้​อย่าง​ไร ที่​กระทั่ง​ทุก​วัน​นี้​ก็​ยัง​มี​เกอิชา​อยู่​นับ​หมื่น​คน​ใน​ญี่ปุ่น

มัน​คง​จะ​ดี​หาก​เรา​จะ​เรียน​รู้​ที่​จะ​รักษา​ตัว​ตน​ของ​ตัว​เอง​เช่น​นั้น​บ้าง

ปล. หา​พนัง​สือเรื่อง “ฟ้า​จรด​ทราย” มา​อ่าน​ไม่​ได้​เลย​แฮะ

 

lewcpe

CTO at MFEC PLC. Chief Editor at Blognone.com

 

2 thoughts on “เกอิชา

  1. มันก็ไม่เชิง “พยายามอธิบายวัฒนธรรมญี่ปุ่นให้ชาวตะวันตกเข้าใจ” หรอกนะ แต่เราว่ามันเป็น “การมองวัฒนธรรมญี่ปุ่นด้วยสายตาชาวตะวันตก” มากกว่า
    ถ้าไม่นับว่าเค้าพยายามบรรยายวัฒนธรรมญี่ปุ่นออกมาล่ะก็ เราว่าอารมณ์แบบญี่ปุ่นมันหายไปเยอะแล้วก่อนตั้งแต่ในหนังสือนั่นแหละ เพราะเล่มนี้เขียนออกมาแนวอเมริกันมากๆ ถ้าคนญี่ปุ่นในเรื่องเป็นคนเขียนจริงๆเรื่องคงไม่เหมือนกันเลย…

  2. ปล. อ่านเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนยังอยู่อเมริกา เริ่มอ่านตั้ง 3 รอบแน่ะกว่าจะทนจนจบได้ ^^;;

Comments are closed.