PS5 Free Upgrade

New PS5 and PS4 System Software Betas Roll Out Tomorrow – PlayStation.Blog

ซื้อเกม PS4 ที่ได้อัพเกรด PS5 ฟรีมาสองเกม คือ Hades กับ Cyberpunk 2077 ปรากฏว่าเจอปัญหาเหมือนกันคือตัวอัพเกรดไม่ขึ้น ตัว Hades นั้นไม่ค่อยมีใครเจอปัญหาเพราะแผ่นมันล็อกโซน (region) แต่ Cyberpunk 2077 คนเจอปัญหาเหมือนกันเยอะมาก เพราะแผ่น PS4 มัน All Zone แต่ปรากฎว่าคนยุโรปไม่ได้อัพเกรดเพียบ

ปรากฎว่าใน PS5 มันไม่ล็อกโซนแล้ว ดังนั้นเราเลยเอาแผ่นอะไรมาเล่นก็ได้ แต่ตัวอัพเกรดฟรีจะอัพเกรดได้ต่อเมื่อแผ่นกับบัญชีของเราโซนตรงกันเท่านั้น! แต่ PS5 ไม่ได้เลือกโซนเครื่องจากฮาร์ดแวร์เครื่อง แต่ดูเฉพาะโซนบัญชีผู้ใช้เราอย่างเดียว และในแต่ละเครื่องเรามีได้หลายบัญชี

ในกรณีนี้เราสร้างบัญชีโดยเลือกประเทศที่เป็นโซนอื่น เช่น โซน 2 เลือก UK หรือ โซน 1 เลือก US ใส่แผ่น ล็อกอินด้วยบัญชีที่ตรงกับโซนแผ่น (สำหรับ Cyberpunk 2077 ให้เลือกโซน 1) แล้วจะดาวน์โหลดตัวอัพเกรด PS5 จากบัญชีตรงโซนได้

ที่น่าประหลาดใจคือพอดาวน์โหลดมาแล้ว บัญชีหลักของเรา (ที่โซนไม่ตรง) ก็ยังเล่นเวอร์ชั่น PS5 ได้ด้วย ดังนั้นเรายังเก็น Trophy ทั้งหลายไว้ในบัญชีเดียวกันได้ ถ้าในเครื่องเรามี 4 บัญชี ก็จะเล่นได้ทุกแผ่นที่มี free upgrade

 

Identity-Aware Proxy

ความปลอดภัยทางไซเบอร์, โทรศัพท์, การเข้าสู่ระบบ

IAP เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการเข้าใช้คลาวด์เป็นหลัก แต่จริงๆ ก็ใช้กับอย่างอื่นได้มาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแนวทางเลิกใช้ VPN (login ทีเดียวเข้าได้ทุกอย่าง) ไปเป็นการขอใช้งาน resource ทีละอย่าง แล้วยืนยันตัวตนทุก connection แทน

ตัวเลือกในกลุ่มนี้มีเยอะเหมือนกัน เอาเฉพาะที่ฟรี และเป็นโอเพนซอร์ส

  • Oauth2-proxy: (4.7k stars) โครงการเริ่มมาจาก bitly ตั้งแต่ปี 2014 ตอนนี้กลายเป็นโครงการชุมชนล้วนๆ แล้ว ค่อนข้างนิ่งมาก รองรับ OIDC แทบทุกเจ้า ชุมชนค่อนข้าง active ข้อจำกัดสำคัญคือรับ IdP อันเดียวเท่านั้น (มี plan รับหลายอันแต่ไม่คืบหน้า) ใช้ได้เฉพาะ HTTP เท่านั้น
  • Oathkeeper: (2.5k stars) คล้ายๆ กับ oauth2-proxy แต่ออกแบบให้ทำงานกับชุดซอฟต์แวร์ ORY เป็นชุดบริการ Identity ทั้งชุด ถ้าเอา Oauth2-proxy + Keycloak ก็น่าจะพอๆ กัน ความเจ๋งคือ rule engine ที่ซับซ้อนมาก แก้ URL ปรับนั่นเปลี่ยนนี่ได้เยอะ ความเจ๋งมาพร้อมกับความซับซ้อน ไปไม่ถูกเอาเหมือนกันว่าจะใช้ยังไง
  • Pomerium: (2.9k stars): ความเจ๋งที่สุดคือรับ TCP Connection ด้วย มี desktop app ให้ อันนี้เหมือนพวก Cloud IAP อย่าง AWS หรือ GCP เลย (หรือแม้แต่ enterprise on-prem อย่าง Duo)
  • Vouch: (1.7k stars) เป็น nginx module น่าสนใจดี ไม่เคยใช้
  • lua-resty-oidc: (721 stars) อันนี้เป็น pure lua ไปขี่บน nginx lua อีกที โมง่าย ได้พลังของ nginx มาทั้งก้อน
  • caddy-security: เคยใช้อยู่ที เดิมเคยแยกเป็นสองโมดูลคือ caddy-auth-jwt (เช็คว่า authen หรือยัง) กับ caddy-auth-portal สำหรับเป็น RP จาก provider ตัวอื่น จุดแข็งคือมันอยู่กับ Caddy บางฟีเจอร์อยากได้ caddy เช่นเว็บข้างใต้ดัน authen ด้วย NTLM ที่ nginx กลายเป็นโมดูลเก็บเงิน (มันใช้น้อย ใช้กับ enterprise app ส่วนใหญ่)

 

YouTube Premium

หลายคนน่าจะคุยกันบ่อยแล้วว่าในบรรดาบริการสตรีมมิ่งที่สมัครๆ กัน เอาเข้าจริงแล้วอันที่คุ้มที่สุดคงเป็น YouTube Premium อาจจะเพราะความได้เปรียบที่เจ้าของคอนเทนต์เป็นคนเอาคอนเทนต์มาลงเอง แทนที่จะต้องไล่เซ็นสัญญาแบบคนอื่น

ในบรรดาช่องที่ชอบดู ลองรวมๆ เอาไว้ตรงนี้

  • DW Documentary: ช่องทีวีสาธารณะของเยอรมัน เจอช่องนี้เพราะสารคดีเกาหลีเหนือแต่จริงๆ มีรายการดีๆ เยอะมาก (ตอนที่เกี่ยวกับไทย เช่น คนเก็บเบอรี่ในสวีเดน หรือสวนยาง) ช่องที่แนะนำในตระกูล DW นี่ดีๆ หลายช่อง DW News นี่มาตรฐาน DW Planet A เป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว
  • CNBC: วิดีโอสรุปเหตุการณ์ต่างๆ ทำดีมาก รูปแบบ bullet ผสมกับการบรรยาย มีที่มาที่ไป สั้น กระชับ ไว้เจอเรื่องน่าสนใจไปอ่านต่อได้
  • CNA Insider: ทีวีของสิงคโปร์ ไม่เชิงช่องสาธารณะ น่าจะประมาณรัฐวิสาหกิจ โปรดักชั้นไม่ดีเท่าช่องทางตะวันตก แต่ประเด็นทางเอเชียเยอะกว่า เช่น เรื่องสังคมไทย

รายการอื่นๆ เช่น Bloomberg QuickTake, FRONTLINE

 

Vaxxers

หนังสือที่ซื้อมาในกลุ่มวัคซีน คิดว่าปีหน้าน่าจะมีอีกหลายเล่มตามมา เล่มนี้นับเป็นเล่มแรกๆ ของกลุ่มวัคซีนหลักที่ใช้ในโลก เล่าถึงวัคซีน AstraZeneca แต่คนเล่าเป็นทีมออกซ์ฟอร์ด

หนังสือแสดงมุมมองปัญหาและพัฒนาการของการพัฒนาวัคซีน และปัญหาใหญ่ที่สุดคือเงิน โดยพาเราเข้าไปอยู่ในมุมมองนักวิจัยที่ไม่ได้เป็นแค่นักวิจัยทดลองอยู่กับหลอดทดลอง แต่ในความเป็นจริงคือวัคซีนมันเร็วได้เพราะมีเงินทุน และมีคนยอมเสี่ยง

หนังสือเล่าให้เราเห็นว่ากระบวนการออกแบบวัคซีนนั้นทำได้เร็วมาก แต่ความยากจริงๆ คือการพิสูจน์ว่าวัคซีนใช้งานได้จริงโดยไม่มีผลข้างเคียงที่ยอมรับไม่ได้ เช่น วัคซีนตัวหนึ่งฉีดแล้วทดสอบ HIV เป็นบวกก็ต้องยกเลิกไป

แต่กระบวนการทดสอบนั้นไม่ใช่ว่ามีออกแบบวัคซีนเสร็จแล้วอยากทดลองก็ทดลองได้เลย ปัญหาใหญ่ที่สุดคือโรงงานผลิตวัคซีนต้นแบบที่ต้องเป็นโรงงานระดับ GMP ซึ่งค่าบำรุงรักษาแพงมาก และการใช้งานมักจองล่วงหน้าด้วยโครงการวิจัยต่างๆ ที่ไปชิงทุนกันมาก่อนหน้า ตัววัคซีน AZ เองก็เกือบต้องล่าช้าออกไปแม้ออกซ์ฟอร์ดจะมีโรงงาน GMP ของตัวเองแต่ก็มีคิวผลิตให้วัคซีนตัวอื่นๆ อยู่

กระบวนการให้เงินทุนในรอบ COVID นั้นเร็วขึ้นมากแล้ว แต่ในความเป็นจริงคือมันยังช้าอยู่ กรณีนี้ Dr. Catherine ยอมเสี่ยงเอาโรงงานมาผลิตวัคซีน COVID ก่อนทั้งที่ทุนวิจัยยังไม่มา หรือมหาวิทยาลัยยอมเซ็นจองคิวโรงงานในอิตาลีทั้งที่ทุนยังไม่ได้

ปัญหาแบบนี้น่าจะสะท้อนต่อกระบวนการจัดสรรงบประมาณการวิจัยในอนาคต เราควรจะวางเงินทุนอย่างไรให้ตอบสนองต่อเหตุการณ์แบบนี้ได้ดีกว่านี้ในอนาคต หรือแม้แต่ตั้งคำถามว่าการปล่อยให้นักวิจัยไร้ความมั่นคง วิ่งตามเงินโครงการไปเรื่อยๆ แบบนี้เป็นเรื่องที่ดีหรือไม่

ทั้งสองคนบ่นสื่ออย่างหนัก บ่นตั้งแต่หน้าแรกจนแทบหน้าสุดท้าย ปีที่ผ่านมาน่าจะโดนหนักทั้งสองคนจริงๆ (บางข่าวบอกว่าเขียนครบถ้วนดีแต่พาดหัวทีเดียวฉิบหายเลย)

หนังสือแบ่งเป็นบทสลับไปมาระหว่าง Prof. Sarah Gilbert และ Dr. Catherine Green การสลับแบบนี้ทำให้อ่านยากเรื่องวนไปมาหลายรอบ โดยรวมๆ ทำให้ลดความน่าสนใจลง แต่กับเนื้อหาที่อินไซต์จริง และน่าจะรีบออกพอสมควรก็เข้าใจได้ โดยทั่วไปยังแนะนำให้คนสนใจเหตุการณ์ COVID ได้อ่านกัน