หลังการเลือกตั้งพลิกโผ สิ่งที่ตามมาคือการนำผล “โพล” มาวิเคราะห์ในหลายแง่หาสาเหตุที่ผลการเลือกตั้งไม่เป็นไปตามคาด
โพลที่่เพิ่งคาดผลการเลือกตั้งผิดนั่นล่ะ ชุดเดียวกัน เวลาไม่กี่ชั่วโมงไม่มีใครมีเวลาทำโพลใหม่หรอก
โพลเป็นเครื่องมีที่คุณค่า แต่สื่อนำมาใช้อย่างเกินจริง เครื่องมือวิจัยที่ควรอ่านและแปลผลอย่างถ้วนถี่ วิจารณ์ถึงความแม่นยำอย่างสุขุม กลับถูกนำมากล่าวซ้ำไปมาจนกลายเป็นความจริงอันเป็นนิรันดร์ โพลที่สำรวจอย่างจำกัดยิ่งกว่างานวิจัยแคบๆ ที่ให้เฉพาะด้านของระดับปริญญาตรี กลับถูกขยายความไปมา
ไม่มีการแจ้งข้อจำกัด ไม่มีการตั้งคำถาม มันกลายเป็นความจริงที่เราเอามาคุยกัน เป็นคัมภีร์ของเรื่องราวประจำวัน
เธอรู้ไหม ว่าคนหนุ่มสาวเลือก X ไม่ได้เลือก Y ถ้านี่ให้แค่คนมีความรู้เรื่อง Z จะชนะตั้งเท่านั้นเท่านี้
เช่นเดียวกับการนำเสนองานวิจัยอื่นๆ ที่สื่อที่นำเสนอควรเป็นคนเสียเวลาไล่หาว่างานวิจัยที่ผู้วิจัยโม้ว่าดีงั้นงี้ มีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง ซึ่งหากนักวิจัยมีจรรยาบรรณก็ควรใส่ไว้ในรายงานวิจัย แต่หากงานถูกนำมา PR องค์กรก็มักจะไม่ได้ระบุไว้ การแถลงผลโพลต่างๆ ก็ควรจะมีการกำกับที่ดีพอว่างานมีความครอบคลุมแค่ไหน (สำรวจแค่ออนไลน์ สำรวจอย่างไร สุ่มมาแค่ไหน) ไปจนถึงถ้ากระบวนการมันดูดีแล้วแต่มันเพิ่งผิดเพิ่งพังมา ก็ควรเตือนคนอ่านไว้ ว่ากรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นเป็นกรณีพิเศษ อาจจะไม่ตรงกับผลแบบนี้
garbage in, garbage out โพลที่ทำโดยกระบวนการมีปัญหา แถมพิสูจน์แล้วว่ามีปัญหา (เพิ่งทำนายผลผิด) ไม่มีทางสร้างบทวิเคราะห์ที่ดีได้