คำโกหก

แต่ก่อนนานมาแล้ว ผมเคยได้เชื่อว่าที่จริงแล้ว การศึกษาไทยก็ไม่ได้แย่ไปนัก เมื่อเทียบกับอันดับต้นๆ ของโลก โดยเฉพาะการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เราอาจจะมีโอกาสเลือกเด็กเข้าเรียนในมหาวิทยลัยระดับสุดยอดกันน้อยกว่า ทุนวิจัยน้อยกว่า หรืออุปกรณ์น้อยกว่า แต่โดยภาพรวมแล้ว เราก็ไม่น่าด้อยกว่าเขาเท่าใหร่

โครงการ OpenCourseWare ของ MIT เปิดหูเปิดตาผมให้กว้างขึ้น

หลังจากนั่งเรียนวิชา Introduction to Algorithms มาสามสี่คาบ พบว่าแค่วิชาเดียว เราก็ห่างจากเขาไปสามขุม

ที่น่าสนใจคือ เขามีอะไรต่างจากเรา หนังสือที่เขาใช้เรียนเป็นเล่มเดียวกับเรา หลักสูตรกเป็นหลักสูตรที่อาจารย์บ้านเราเคยเรียนที่ัันั่นกันมา อุปกรณ์หรือ เขาก็ใช้กระดานดำกับชอล์กปรกติ นักเรียนของเขาก็มีหลับเหมือนของเรา ถามก็ไม่ค่อยตอบกันเท่าใหร่ (แต่ยังพอมี บ้าง….)

แต่คุณภาพการเตรียมการสอน ความตรงต่อเวลา และการวางแผนกลับทำให้วิชาที่ยาก ดูน่าเรียนขึ้นเป็นกอง

น่าสนใจว่าอะไรเป็นปัจจัยให้เราไม่สามารถตามในสิ่งที่เขาก็เปิดให้เราเห็นว่าเขาทำกันยังไงได้

แต่ที่แน่ๆ ในตอนนี้ ความเชื่อที่ผมเคยเชื่อว่าเราไม่ด้อยกว่าเขาเท่าใหร่

กลับกลายเป็นคำโกหกสำหรับตัวผมเองไปอีกนาน

 

lewcpe

CTO at MFEC PLC. Chief Editor at Blognone.com

 

5 thoughts on “คำโกหก

  1. ไทยเทศต่างกันแค่ที่การบ้านและวิธีให้คะแนน ประเทศไทยมีการบ้านไม่มาก เพราะอ.ไม่มีเวลาตรวจ โปรแกรมก็ไม่ค่อยได้เขียน เพราะไม่มีเวลาตรวจ ที่ MIT เน้นการบ้านทั้งปริมาณและความยาก เรื่องตรวจอ.ไม่สน TA จัดการหมด อีกข้อก็คือวิธีให้คะแนน พูดให้ตรงกว่านี้ก็คือ ลอก ถ้าจับได้ว่าลอกก็ไล่ออก ไม่มีข้อแม้ ตรงไปตรงมา

    เมื่อการบ้านเยอะ ยาก และลอกไม่ได้ ผลก็คือนักเรียนจะถูกบังคับให้ศึกษาด้วยตัวเอง ทำด้วยตัวเอง ถ้าจะเก่งกว่านักเรียนไทยก็ไม่แปลก ต้องบอกว่าเก่งกว่าเป็นบางคน นักเรียนไทยหลายคนก็เรียนด้วยวิธีนี้ งานทุกอย่างทำด้วยตัวเอง อย่างน้อยก็เข้าใจมากกว่าคนที่ลอก

  2. sugree – ผมยังไม่มองถึงตรงนั้นเลยครับ

    แค่คุณภาพการสอนอย่างเดียว ที่ดูในวีดีโอ ผมก็ว่าของเขา “น่าตื่น” และ “น่าเข้า” กว่าของเรา เยอะแล้ว

    บางวิชาที่ให้การบ้านมาก แต่มี TA คุณภาพแย่ ไม่ใส่ใจเพียงพอ หลายครั้งมันแย่กว่าวิชาที่ไม่ให้การบ้านซะอีก

  3. น่าจะลดวิชาให้น้อยลง

    ให้เวลาในการ “เรียนรู้” อย่างจริงจัง น่าจะช่วยแก้ปัญหาได้

    ที่ผ่านมาการเรียนตั้งแต่มัธยมที่หันมาใช้ระบบ child center ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่าล้มเหลว

    การเรียนรู้แบบ “ใส่ใจ ตั้งใจ” ดีกว่าการ อ่านเพื่อสอบ น่าจะแก้ได้ตรงจุดมากกว่า

  4. จริงๆแล้วเราคิดว่าเราใช้ระบบ child center กันผิดมากกว่า มันไม่ได้ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรอะไรเลยเพราะครูก็ยังคิดแบบเก่า อะไรที่แหวกแนวออกมาก็ผิดหมด กว่าจะเปลี่ยนกว่าจะปรับปรุงหลักสูตรกันที… ไม่มีอะไรได้พัฒนา

Comments are closed.