ฉลาดเกมโกง (spoiled)

เพิ่งได้ดูฉลาดเกมโกงกับเขา

  • ไม่อิน ท่าโกงแบบ braindump นี่พวกสอบ cert สาย IT ทั้งหลายทำกันมานานแล้ว เลยรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่เกิดเป็นปกติ พอไม่แปลกแล้วหาย
  • ฉาก present แบบ Steve Jobs นี่มันการ์ตูนมาก ไม่ชอบ
  • encode แบบดนตรีนี่ไม่มีประสิทธิภาพ ฝนไม่ทันหลุด sync ข้ามข้อไปนี่ฉิบหายเลย ทำได้ขนาดนี้จดใส่โน้ตโยนให้กันง่ายกว่าเยอะ
  • โดยรวมๆ จังหวะหนังก็ดูสนุกดี ไม่เสียดายเวลาที่ดูใน Netflix แต่ไม่เสียดายที่ไม่ไปดูในโรง

แต่หนังเรื่องนี้ทำให้คิดถึงสมัยผมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ว่าข้อสอบของไทยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ในสมัยนั้นจะมีคุณสมบัติพิเศษกว่าวิชาอื่น คือมันเฉลี่ยคำตอบข้อ 1-4 เท่ากันหมดเสมอต่อเนื่องหลายปี เข้าใจว่ากรรมการออกข้อสอบพยายามทำลายแนวคิดที่ว่า “ถ้าไม่แน่ใจให้ตอบ ง.งู” เพราะกรรมการมีแนวโน้มเฉลยข้อสุดท้ายเป็นพิเศษ

แม้จะตั้งใจดี แต่กรรมการสอบกลับทำพลาดหากนักเรียนเข้าใจสถิติดีพอสมควร (ซึ่งระดับกรรมการออกข้อสอบคณิตศาสตร์ไม่ควรพลาด) คือมันเป็นการส่ง สัญญาณให้กับนักเรียนที่ทำข้อสอบอยู่อย่างชัดเจน

ข้อสอบหลายสิบข้อนั้น ความน่าจะเป็นที่ “ข้อที่ทำได้” จะเฉลยสี่ตัวเลือกเท่ากันพอดีนั้นต่ำมาก คนสอบสามารถคิดหลังง่ายๆ ว่า “ดูข้อที่ทำได้ว่าตอบข้อไหนน้อยที่สุด” แล้วสามารถเลือกข้อนั้นๆ จนได้คะแนนกลับมาเกิน 25% กรณีที่สุดขอบมากเช่นเด็กทำไม่ได้ข้อเดียวก็จะได้เต็มทันที ใช้นับข้อที่ตอบไปแล้วเอาเลย

สมัยผมสอบเองครั้งหนึ่งก็เจอว่า “ข้อที่ทำได้” ตอบตัวเลือกหนึ่งเกิน 25% ทำให้กลับไปตรวจได้ว่ามีบางข้อทำผิดแน่ๆ

ถามว่าทำยังไงให้เฉลยไม่ไปกอง ง.งู อีก ก็คือการสุ่มเลือกข้อเฉลยทีละข้อแบบ IID (independent and identically distributed) ก็จะคาดเดาไม่ได้ว่าจริงๆ จะมีเฉลยตัวเลือกไหนกี่ข้อ และในระยะยาว (หลายปี) เฉลยก็จะไม่กองข้อใดข้อหนึ่ง

 

lewcpe

CTO at MFEC PLC. Chief Editor at Blognone.com