- มึงจะเกาหลีไปไหนครับ นึกว่าดู My Sassy Girl ภาคสาม
- ผลคือนางเอกแสดงขัดๆ ตลอดเวลา มันรู้สึกแปลกๆ ทั้งเรื่อง ดึงอารมณ์ออกจากเรื่อง
- พระเอกเล่นดี ขำไม่หลอก
- สปอนเซอร์มีชั้นเชิงกว่ากวน มึน โฮ เยอะ หวังว่าจะดีขึ้นกว่านี้ไปเรื่อยๆ เลิกๆ เสียทีไอ้ที่อยู่ดีๆ ยัดๆ โลโก้เข้ามาในเรือง (ส่วนนึงคงเป็นเพราะยอมเอาสปอนเซอร์ขึ้นต้นหนังไปแล้ว ก็ยังดีกว่าแทรกมาแบบไร้รสนิยมนะ)
- เข้าใจว่าตั้งใจทำขายต่างประเทศมาก มุขเป็นภาษากายเยอะ ต้องรอดูว่าจะทำสำเร็จไหม
Single Task Nation
ช่วงนี้พยายามทำความเข้าใจกับแนวคิดที่ผมจัดอยู่ในระดับ “แปลกประหลาด” (บางครั้งก็เรียกว่า “ส้นตีน” ได้เต็มปากเต็มคำ) ความคิดแบบหนึ่งที่เจอบ่อยๆ คือ เราต้องทำเรื่อง XXX ก่อนเรื่องอื่นๆ
ความคิดแบบนี้หาได้ไม่ยากตามทีวีต่างๆ เรามักจะเจอผู้รู้มาเสนอ “รากเหง้า” แห่งปัญหาทั้งปวงของประเทศไทย ประชาชนผู้รับชมจะรู้สึกมีความหวังกับประเทศชาติภายใน 30 นาทีของรายการนั้นๆ รู้สึกว่าถ้าเราแก้ปัญหานี้ปัญหาเดียวได้ ทุกอย่างก็จะพลันสวยงาม
ปัญหาในแบบละครหลังข่าว ทั้งหมดเกิดจากปมเล็กๆ ผูกกันโยงใยเรื่อยมา และมันแก้ได้ เพียงแค่แม่พระเอกรู้ความจริงของลูกสะใภ้แสนดีในช่วงเวลา 30 นาทีก่อนละครอวสานเท่านั้น เรื่องราวที่ฉายมาสามเดือนก็พลันสดใส
ความฝันของคนกลุ่มนี้จึงผูกกับความหวังแบบนี้ไปเรื่อยๆ เพียงแค่เราหยุดทุกเรื่องไว้ ช่างหัวแม่งมันไป แล้วไปแก้ไขปมรากเหง้านั้นได้ ประเทศไทยจึงเจริญวัฒนาถาวรสืบสวัสดีเป็นนิรันดร์กาล
เรื่องจริงคือมันไม่มีตอน “จบบริบูรณ์” แบบในละครหลังข่าว แม่สามีหูเบายังคงทำเรื่องเลวร้ายหลังพระเอกนางเอกครองรักกันสืบไป ดีไม่ดีแม่พระเอกเลิกยุ่งแล้ว ก็มีเหตุผลล้านแปดที่ทั้งสองจะเลิกกันไปเอง และในชีวิตจริงมันไม่มีปมที่ตรงไปตรงมา ความฝันล้านแปดที่บอกว่าเจอปมสำคัญ หลายครั้งเมื่อแก้มันได้จริงก็เหมือนกับวิ่งตามฝันที่ไม่มีวันเป็นจริง
คนมีความคิดตื้นๆ แบบนี้ไม่สามารถมองภาพรวมการแก้ปัญหาใดๆ ได้ พวกเขารอตอนจบไปเรื่อยๆ ที่ว่าวันหนึ่งจะมีตัวอักษรสีชมพูมาบอกพวกเขาว่าพวกเขาได้เจอตอน “จบบริบูรณ์” พวกเขาต้องการ “ชัยชนะ” ตลอดเวลา เพราะสิ่งนั้นมันหล่อเลี้ยงชีวิตของพวกเขา
เขาสู้มาตลอดเพื่อสิ่งนี้ (แม้พวกเขาจะทำความฉิบหายให้กับสิ่งอื่นไปบ้าง) แต่หากพวกเขาชนะ มันจึงเป็นความบริบูรณ์ในชีวิต
ก็ขอให้โชคดี….
ครั้งที่ n
ช่วงนี้พอดีงานส่วนหนึ่งเป็นการโค้ชรุ่นน้องให้โค้ดงานแทน พอช่วยๆ แล้วเริ่มจำตัวเองสมัยยังเด็กๆ ได้
ในครั้งหนึ่ง เวลาที่ผมเจอรายงานความผิดพลาดจาก gcc โลกแทบจะสลาย มือไม้สั่น รายงานความผิดพลาดยาวเหยียดที่พ่นออกมาสร้างเขาวงกตว่าเราควรแก้ตรงไหน ความกลัวทำให้เราเลือกที่จะไม่อ่าน เลือกที่จะไม่เรียนรู้ แล้วกลับไปนั่งจ้องโค้ดแย่ๆ ของเราต่อไป
ไม่รู้ว่าเพราะบางครั้งปัญหามันแก้ไม่ได้ด้วยการจ้องโค้ดหรือกูเกิลมันเข้ามาในชีวิตมากขึ้น เราเริ่มเอารายงานความผิดพลาดทั้งดุ้น ยัดใส่กูเกิล แล้วภาวนาว่าจะมีใครสักคนในโลกใบนี้ บอกเราว่าเราจะแก้ปัญหาอย่างไร
บางครั้งไม่มีก็กลับไปนั่งทางในกับโค้ดเดิมๆ ต่อไป
มองกลับมาวันนี้ เมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้นับครั้งไม่ถ้วน ผมกล้าที่จะค่อยๆ อ่านว่าปัญหาเหล่านั้นมันเกิดจากอะไร และน่าจะแก้ได้จากอะไรกัน
ในกระบวนการเรียนรู้ ไม่มีครั้งไหนที่ไม่ผ่านความเจ็บปวด การเรียนรู้ที่จะอ่านรายงานความผิดพลาดหลายต่อหลายครั้งเกิดหลังการเสียเวลาทำงานไปแล้วหลายต่อหลายวัน กับงานที่ไม่ได้เดินหน้าไปไหน
เมื่อเรามายืนอยู่ที่ความผิดพลาดครั้งที่ n มันง่ายที่จะบอกว่าเราทำได้ดีกว่าครั้งที่ n – 1
แต่น่าสงสัยว่าแล้วครั้งต่อไปล่ะ เราจะเป็นอย่างไรกัน
แนวคิดส้นตีน
มันมีแนวคิดอย่างหนึ่งฝังรากมานานในประเทศไทย เป็นแนวคิดปลูกฝังกันมา จนเป็น “แนวคิดส้นตีน” อยู่ในประเทศนี้ เอามันไม่ออก
“เรื่องแค่นี้ทำไม่ได้ แล้วเรื่องอื่นจะไปทำอะไรได้”
นี่คือความส้นตีนสุดยอดในตรรกะของสยามประเทศ เป็นแนวคิดที่ห้ามพิสูจน์ เป็นแนวคิดที่พูดไปถูกมั๊ยไม่รู้ แต่คนพูดดูยิ่งใหญ่ (อาจจะเพราะใช้ส้นตีนคิดมา)
คัดลายมือให้ดียังทำไมได้ แล้วจะไปทำอะไรได้
ตัดผมให้เรียบร้อยยังทำไม่ได้ แล้วจะไปทำอะไรได้
ใส่เครื่องแบบให้ถูกต้องยังทำไม่ได้แล้วจะไปทำอะไรได้
แนวคิดส้นตีนนี้ถูกใช้อธิบายความเลวร้ายของสังคมได้อย่างอัศจรรย์ คุณอาจจะเห็นคำอธิบายว่าทำไมเด็กไทย ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เพราะเด็กรุ่นใหม่มันไม่ได้เรื่อง มันไม่อยู่ “ในร่องในรอย” เหมือนคนสมัยก่อน (ที่ก็ไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์อะไรมากมาย)
คนที่อุปโลกตัวเองว่าผ่านน้ำร้อนมาก่อน จะพร่ำพรรณนาว่าในสมัยตัวเองนั้น ทุกคนล้วนอยู่ในวินัย
ไม่มีใครถามว่าไอ้ที่บอกว่า “เรื่องแค่นี้” มันส่งเสริมให้สังคมไปถึงจุดหมายได้อย่างไร
ทุกคนอธิบายเพียงว่ามันเป็นเรื่องเล็กๆ ผ่านไปไม่ยากหรอก อย่าไปตั้งคำถามกับมันสิ แล้วจะผ่านมันไปเอง
ส้นตีนเถอะครับ