- Dell, Tissot, และ BMW
- Dell แย่สุด จงใจค้างมุมกล้องอย่างน่าเกลียด Tissot รองลงมา BMW ได้เปรียบเพราะมันเป็นฉากไล่ล่า
- ไฟล์เข้ารหัส แต่ถอดรหัสด้วย voice recognition? แสดงว่า key มันก็อยู่ในไฟล์นั่นล่ะ
- recognize ด้วยท่าเดิน? เทคโนโลยีทุกวันนี้ถ้าเอาไปใช้จริงแบบนั้น agent เมิงน่วมหมดทุกคนอ่ะ
- จะเอาดิสก์ไปแช่น้ำทำแมวอะไร
- ซับแปลประหลาดหลายจุด ดีใจที่ฟัง audiobook จะไม่ต้องอ่านซับ อ่านทีไรแล้วหงุดหงิด
- มึงขัดคำสั่งนายกโดยตรง ตั้งหน่วยงานทั้งที่ถูกสั่งห้ามตั้งแต่ตอนวางแผน ทำกระบวนการทั้งหมดอย่างเงียบเชียบ เพื่อที่สุดท้ายจะเอาเงินทั้งหมดไปบอกให้นายกปลด มึงเมายารึเปล่า
Wearable Computing
ได้ลองใช้ Pebble Time มาพักใหญ่ๆ จดโน้ตความคิดเกี่ยวกับมันสักหน่อย
- ปัญหาของ Wearables โดยรวมคือไม่มี killer app ใหม่ๆ ผ่านมาสามปี การใช้งานที่คิดออกตอนนั้น ตอนนี้ก็เท่าเดิม
- การใช้งานที่ใช้ได้จริงของ Wearable ถูกจำกัดอยู่ที่ นับก้าว, ดู notification, และตอบข้อความแบบง่ายๆ
- ผ่านไปหลายปี สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือความเนียนในการใช้งาน ไม่มีการใช้งานใหม่ๆ เพิ่มเติม อาจจะขยายไปบ้าง นับก้าวอาจจะจับการเต้นหัวใจได้ด้วย, การดู noti อาจจะทำได้หลากหลายแอพขึ้น, การตอบข้อความอาจจะดีขึ้นหน่อย แอปเปิลใช้มือวาด Pebble ตอบด้วยเสียง
- ต่างจากในสมัยของโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต เราเห็นแนวทางการใช้งานใหม่ๆ ที่ฉีกออกไปเกิดขึ้นเรื่อยๆ โทรศัพท์เอามา เล่น social, chat, video call, เกมรูปแบบใหม่ๆ ฯลฯ แนวทางการใช้งานที่แปลกออกไปเกิดขึ้นแทบทุกปีอย่างต่อเนื่อง อย่างหลังๆ ก็นับก้าวได้แล้วด้วย
- Wearable เลยเกิดได้ในวงจำกัดในฐานะ Wearable (ไม่ใช่ในฐานะเครื่องประดับ) น่าสนใจว่าถ้ามีสถิติการใช้งาน ปริมาณการใช้งานจริงก็น่าจะยิ่งต่ำลงไปอีกเพราะคนซื้อไปเป็นเครื่องประดับกันส่วนหนึ่ง ใส่แล้วได้ watch face แปลกๆ ทุกวันก็เป็นเรื่องน่าสนุกดีสำหรับหลายๆ คน
- ลองใช้งานดูพบว่าโทรศัพท์เป็นคู่แข่งสำคัญ ระยะเวลาหยิบโทรศัพท์มาทำ operation ที่ซับซ้อน เช่น ตอบอีเมล ไม่ได้นานขนาดนั้น อาจจะปลดล็อก 5-10 วินาที wearable ต้องแข่งกับระยะเวลานี้ ต่างจากโทรศัพท์และแท็บเล็ตที่แข่งกับเวลาเปิดคอมที่อาจจะหลายนาที
- การดู noti แบบชายตามองว่าใครส่งข้อความมาเป็นการใช้งานที่มีประโยชน์จริง แต่พอจะเริ่ม reply ก็เริ่มตั้งคำถามทันทีว่าคุ้มไหม Pebble Time กว่าจะส่งหน้ายิ้มไปได้ใช้การกด 3-5 ครั้ง
- แอพที่จะเกิดได้จริง คือแอพที่ไม่คุ้มที่จะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมา การ interact ต้องใช้เวลาสั้นมากๆ สั้นกว่าการปลดล็อกโทรศัพท์
- UI อาจจะต้องเปลี่ยนไปอีกจากนี้ เราอาจจะต้องทำ operation ที่ซับซ้อนขึ้นแต่ใช้เวลา interact สั้นลง เช่นเราอาจจะส่งข้อความไปหาเพื่อโดยรู้ว่าเพื่อนใช้ wearable แล้วสามารถสร้างตัวเลือกที่ตอบได้ในคลิกเดียวได้เลย (ไปไหม Y/N อะไรแบบน้น)
- แอพพลิเคชั่นใหมๆ จะอยู่บนแนวทาง แปลกใหม่แต่ใช้เวลานิดเดียว มันมีอะไรที่ทุกคนน่าจะต้องใช้และทำได้ภายใต้เงื่อนไขนั้นไหม?
- การจะทำได้ บริการจะต้องเดาใจผู้ใช้ให้แม่นกว่าทุกวันนี้อย่างมากๆ 4sq เดินเข้าร้านต้องแสดงร้านได้อย่างแม่นยำ กดหน้าจอแล้ว checkin ได้เลย เพราะผู้ใช้ไม่ต้องการมากดเลือกๆ อีก (ไม่คุ้ม เปิดมือถือเอาง่ายกว่า)
หน้าที่แห่งรัฐ
เคยคิดเรื่องนี้ไว้นาน ช่วงนี้มีประเด็นสังคมก็ได้เวลาเอามาเขียนสักที
ผมโตมากับความคิดด้านเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมค่อนข้างมาก (ที่บ้านมีธุรกิจ, เล่นหุ้น ฯลฯ) โดยทั่วไปแล้วจึงไม่ค่อยเชื่อการแทรงแซงของรัฐนัก ทั้งค่าแรงขั้นต่ำ การแทรกแซงราคาสินค้า ฯลฯ
ผมเติบโตมาในโลกอินเทอร์เน็ต โลกที่การแข่งขันเสรีแบบสุดขั้วแทบจะเป็นอนาธิปไตย และเห็นการแข่งขันอย่างรุนแรงช่วยให้โลกโดยรวมเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยรวมแล้วคนมีอาชีพ, มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
แต่ในโลกความเป็นจริงมีคนไม่สามารถปรับตัวได้เสมอ มีคนที่เราอาจจะมองว่าเขาไร้ความสามารถหรืออะไรก็ได้ เขาอาจจะไม่ต่างจากเราแต่พลาดพลั้งไปบางครั้งและไม่สามารถกลับมาแข่งขันในโลกธุรกิจหรือการทำอาชีพได้อีก
สังคมที่ดีในความคิดของผม รัฐจึงมีหน้าที่แค่สองอย่าง สนับสนุนการแข่งขัน และดูแลความเป็นอยู่ขั้นต่ำ
เราแต่ละคนอาจจะพ่ายแพ้ได้ในบางระดับ แม้แต่คนชั้นกลางเองทุกวันนี้อยู่ดีๆ มีปัญหาสุขภาพไม่หนักหนามากก็อาจจะกลายเป็นผู้พ่ายแพ้ไปได้ง่ายๆ คนจบใหม่ๆ เกิดมีเหตุต้องผ่าตัดสักครั้งก็ไม่สามารถดูแลตัวเองในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเต็มรูปแบบได้แล้ว พวกเขาอาจจะกลายเป็นคนล้มละลายได้ง่ายๆ หากไม่มีครอบครัวหนุนหลัง หรือสวัสดิการสังคม
รัฐจึงควรมอบความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้พวกเขาลุกขึ้นสู้กับระบบเศรษฐกิจทุนนิยมต่อไปได้
ระบบประกันขั้นต่ำที่สุดที่เราเห็นในไทยคือระบบประกันสุขภาพ ที่ทุกคนเข้าถึงได้ แม้จะมีเสียงบ่นว่าบริการต้องรอนาน แพทย์มีเวลาให้กับคนไข้แต่ละคนจำกัด ฯลฯ แต่บริการขั้นพื้นฐานก็ทำหน้าที่ได้ดี
ความเป็นอยู่ขั้นต่ำไม่ควรจำกัดอยู่เฉพาะเวลาป่วย ในความเชื่อของผมปัจจัยสี่ทั้งหมดต้องมีบริการขั้นต่ำไว้ทั้งหมด คนเราที่ผิดพลาดอะไรไป สังคมควรอุ้มชูให้เขาได้เริ่มต้นจากจุดที่ไม่ต่ำเกินไป ความเป็นอยู่พื้นฐานอย่างเครื่องนุ่งห่ม, อาหาร/น้ำดื่ม, ที่อยู่อาศัย เราควรบอกได้ว่าสังคมเรามาไกลในระดับที่ดูแลเรื่องเหล่านี้ให้กับทุกคนในสังคมได้
วันหนึ่งถ้าคุณล้มละลาย บ้านถูกยึด ทรัพย์สินหมดตัว รัฐควรมีที่ทางกับคุณที่จะพอมีอาหาร, น้ำดื่ม, และที่อยู่อาศัย ที่อยู่อาศัยเหล่านี้อาจจะไม่สะดวกสบาย หอนอนสำหรับคนไร้บ้านอาจจะไม่มีความเป็นส่วนตัวนักหรือไม่มีความสะดวกสบาย แต่ก็มอบความปลอดภัยในชีวิต มีสุขอนามัยที่ดี อาหารที่รัฐมอบให้อาจจะไม่ได้อร่อยอะไรแต่ก็สะอาดและปลอดภัย
ทุกคนควรมีจุดเริ่มต้นที่ไม่แย่เกินไป คนที่มาจากครอบครัวที่จนที่สุดจะสามารถเก็บหอมรอมริบจากการอาศัยในที่อยู่อาศัยที่รัฐจัดให้ได้ วันหนึ่งเมื่อฐานะของเขาดีขึ้นพวกเขาก็คงจะแสวงหาความสะดวกสบายที่ดีกว่าเดิม พวกเขากลับออกไปจ่ายภาษี ไม่ได้ใช้ที่อยู่หรืออาหารที่รัฐมอบให้อีกต่อไป เช่นเดียวกับทุกวันนี้คนคนชั้นกลางขึ้นมาสักหน่อยก็อาจจะไม่ได้เข้าโรงพยาบาลรัฐ ขณะเดียวกันเมื่อวันหนึ่งที่พวกเขาพลาดพลั้ง ก็ไม่มีใครต้องคุ้นขยะกิน หรืออาบน้ำในคลอง ทุกวันนี้คนชั้นกลางเองที่ป่วยหนักขึ้นมาจนฐานะไม่สามารถรองรับไหวก็ยังสามารถเข้ารักษาในสถานพยาบาลของรัฐ ได้โดยไม่ต้องล้มละลายกันไป
เมื่อพร้อมอีกครั้งก็เข้าไปแข่งขันกันใหม่
Maker Movement
เหตุจากเมื่อคืนนอนไม่หลับ ตื่นมานั่งทำงานแต่เช้าตรู่แล้วเห็นทวีตเนยสด เลยกดไปต่อแล้วฟังไปถึงเพลงข้างบน
พบว่า IU เป็นนักร้องที่เสียงมีเอกลักษณ์ดี สามารถนั่งฟังเป็นเพลงได้แบบไม่ต้องดู MV หรือการแสดงอะไรฟังได้เรื่อยๆ คงเป็นอีกคนที่อยู่ในลิสต์
หัวข้อบล็อคน่าจะไปมั่วซั่วไปได้