1984

เมื่อกระบวนการพัฒนาถึงขีดสุด การควบคุมจะสมบูรณ์แบบ ไม่มีรายการอิสระที่ขวางหูหวางตาอีกต่อไป มีเพียงรายการที่ “เป็นจริง” เท่านั้นที่จะได้ออกอากาศ

เมื่อถึงจุดนั้น เราจะ “ดูแล” กันและกันเป็นอย่างดี ไม่มีใครที่ถูกปล่อยประละเลยไป

เราทุกคนจะร่วมกัน “รายงาน” เมื่อมีผู้หลงผิด พวกเขาจะได้รับการ “อบรม” เพื่อให้กลับมายังหนทางที่ถูกต้อง การออกนอกลู่นอกทางนั้นมีเพียงเล็กน้อยเพราะ “ทุกคน” ช่วยกัน ความเป็นพ่อแม่ลูก ความเป็นคู่ชีวิต ล้วนไม่เป็นอุปสรรคต่อการ “ดูแล” กันและกันนี้

ไม่มีคำถาม มีเพียงความเชื่อใจใน “ความดี”

 

MUJI Fountain Pen

DESIGNER CELEBRITY EVENING DRESSES

ไปทริปไต้หวันคราวนี้ได้ปากกาหมึกซึมมูจิกลับมา (แปลกมากที่มูจิมักมีของไม่ครบเป็นเรื่องปกติ แม้แต่สาขาในญี่ปุ่นเองก็ไม่มีบางอย่างขายเรื่อยๆ) ราคาพอไหวเทียบกับปากกาหมึกซึมมีแบรนด์อื่นๆ อยู่ที่ 440 บาทได้ ที่แย่หน่อยคือไม่มีปั๊มมาให้ แถมหมึกให้หลอดเดียว

แต่ก็รับหมึกแบบ International Standard ถ้าคิดว่าใช้ไม่เยอะมากก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร

ลายมือกากมากเป็นเรื่องปกติ

 

Safety

CFDA AWARDS DRESSES CELEBRITY OCCASION DRESSES

ไปเกาหลีมาแล้วประทับใจไอ้นี่สุด มันคือปลั๊กสำหรับพื้นที่ภายนอก (ในห้องน้ำก็ใช้แบบนี้) มีฝาปิดเรียบร้อย ทางออกสายไฟอยู่ด้านล่าง ถ้าโดนน้ำสาดปกติไม่น่าจะเข้าได้

บ้านเราส่วนมากสายไฟจะชี้ออกตรงๆ กัน กล่องปลั๊กแบบภายนอกก็ป้องกันน้ำได้เฉพาะเวลาไม่ได้ใช้งาน ถ้ามีแบบนี้น่าจะปลอดภัยขึ้นเยอะ

 

ความเป็นส่วนตัวกับการตลาด

แชร์ใน FB เรื่อยๆ (ไม่เปิด public) มาร์คมาบอกว่าควรเขียนบทความ ไว้เตรียมพร้อมอีกหน่อยแล้วคิดอีกที หลักๆ คือแต่ละคนมีความคาดหวังไม่เหมือนกันว่าอะไรเป็นเรื่องส่วนตัวบ้าง บางคนก็ไม่มีความคาดหวังความเป็นส่วนตัวใดๆ จนถึงกับแชร์หมายเลขบัตรเครดิตกันได้

  • เราควรตระหนักว่า “กรณีที่แย่ที่สุด” ของข้อมูลส่วนตัวแต่ละอย่างหากหลุดไปคืออะไร เช่น หน้าบัตรเครดิต (ยังมีเว็บที่ไม่ต้องการ CCV อยู่ไหม ความเสี่ยงเพิ่มไหม), บัตรประชาชน (โดนเอาไปเปิดเบอร์โทรศัพท์), ที่อยู่ (จะมี stalker มาส่องหน้าบ้านไหม)
  • เมื่อตระหนักแล้ว คงต้องมีการวาง “มารยาทพื้นฐาน” ประมาณหนึ่งว่ามารยาทของการเคารพความเป็นส่วนตัวต่อคนรอบข้างเราควรเป็นอย่างไร เจอเพื่อนตามสถานที่ต่างๆ จะ tag ลง Facebook แล้วโพส public นี่ควรไหม, ทวีตบอกว่าเจอเพื่อนไปกินข้าวกับสาว ฯลฯ
  • มารยาทพื้นฐานระหว่างบุคคลในเรื่องความเป็นส่วนตัวเป็นเรื่องหนึ่ง มารยาทขององค์กรต่อบุคคล (ลูกค้า, แฟนคลับ ฯลฯ) เป็นอีกเรื่องหนึ่ง มารยาทต่อองค์กรควรสูงกว่า
  • มารยาทพวกนี้ยิ่งต้อง “สูงสุด” จนไม่ใช่แค่มารยาทแต่เป็นข้อบังคับถ้าเป็นหน่วยงานที่เก็บข้อมูลสำคัญมากๆ เช่น องค์กรรัฐ (ที่บังคับเอาข้อมูลไปจากเราโดยไม่มีทางเลือก) หรือบริการส่วนตัวเช่นการเงิน ข้อมูลสุขภาพ ฯลฯ มารยาทของหน่วยงานพวกนี้ควรสูงกว่าข้อบังคับไปอีกระดับ
  • ในแง่ข้อมูลเพื่อการตลาด ผมมองว่าถ้าไม่ “ใกล้ชิด” เกินไปบ้าง ก็คงพอให้กันได้ ผมเองชอบที่ Amazon แนะนำหนังสือตามประวัติการซื้อของผม (ซึ่งทำให้ผมเจอหนังสือดีๆ อีกหลายเล่ม)
  • ปัญหาสำคัญคือข้อมูลพวกนี้ ควรโปร่งใสในกระบวนการเก็บ เช่นว่าจะเก็บอะไร เก็บไปเพื่ออะไร และนโยบายในการเก็บเป็นอย่างไร (แนวคิดนี้แกะมาจากหนังสือ Data and Goliath)
    • เก็บอะไรคือบอกชัดเจน เช่น ประวัติการซื้อของคุณ (สมาชิกร้านค้า), ข้อมูลติดต่อ, พฤติกรรมการอ่าน
    • เก็บไปทำไม วิเคราะห์พฤติกรรม (แบบรายคนเพื่อแนะนำสินค้า, แบบกลุ่มเพื่อปรับปรุงบริการ), เพื่อติดต่อกลับ
    • นโยบายการเก็บเป็นอย่างไร (มีระยะเวลาไหม, แจ้งลบได้หรือไม่, หรือเมื่อเราเลิกใช้งานจะลบอัตโนมัติ) มีการส่งต่อหรือไม่ (ไม่ส่งต่อ, ส่งต่อจำกัด, ส่งต่อไม่จำกัด, ส่งต่อแบบลบข้อมูลระบุตัวตน, ผู้รับต่อมีนโยบายการเก็บเท่าเทียมกันไหม)
  • ขำๆ เช่นว่าจัดรางวัลชิงโชค มีแบบฟอร์มก็บอกกันตรงๆ ว่าขอข้อมูลติดต่อด้วย ใช้เพื่อติดต่อกลับ หลังจากจบงานแล้วจะเก็บไว้แจ้งงานหน้า ยกเว้นจะติ๊กไม่ร่วมงานหน้า แบบนี้ก็ถือว่าครบทุกข้อในตัว (ไม่ขอส่งต่อต้องถือว่าส่งต่อไม่ได้, เก็บไว้งานหน้าคือถ้าเลิกจัดก็ลบทิ้ง, ไม่ร่วมงานหน้าคือจบงานนี้ก็ลบเลย)
  • ไว้ต้องหาแนวทางประเทศต่างๆ เพิ่มเติมอีกที Data and Goliath บอกว่าตอนนี้ EU Directive น่าจะดีสุดก็ยังไม่ได้อ่าน