Jean-François Lyotard

jean-francois_lyotard_cropped

Knowledge is and will be produced in order to be sold, it is and will be consumed in order to be valorised in a new production: in both cases, the goal is exchange.
Jean-François Lyotard

Just for remarking the new thing in my collection.

 

Cloud Atlas

cloud

เมื่อสามเดือนที่แล้วมีวันหนึ่งที่ต้องทดสอบโปรแกรม ตามรอบการทดสอบ แล้วพลาด ระบบไม่ผ่านการทดสอบชุดนึงจนต้องทดสอบใหม่ตามตารางอีก “สัปดาห์” เซ็งจัดๆ เลยไปเดิมสยาม ในหัวคิดว่าจะซื้อหนังสือสักเล่มแก้เซ็ง

ได้ Cloud Atlas มาเพราะจำได้ว่าหนังดูแล้วน่าสนใจมาก เปิดผ่านๆ เจอบท Sonmi แล้วก็ยังน่าสนใจเพราะบรรยายฉากโลกอนาคตแบบ dystopia ไว้อีกแบบ

แต่พออ่านจริงจังนับแต่บทแรกก็พบความฉิบหายในทันที หนังสือแบ่งออกเป็น 6 ยุคเช่นเดียวกับในหนัง และทั้ง 6 ยุคคนเขียนเลือกใช้ภาษาที่ต่างกันออกไปจนอ่านยาก จากบทแรกที่ใช้ศัพท์เก่าจนไม่เคยเจอ ไปจนถึง บทที่ 6 นี่อยู่ในระดับอ่านแทบไม่ออกเพราะไม่เป็นภาษาคน บทที่เหลือก็มีความประหลาดของตัวเองต่างๆ กันไป

การสลับเรื่องไปมาทำให้ช่วงท้ายจำได้ยากด้วยว่าเรื่องราวต่อกันยังไง ความยากของหนังสือทำให้ค่อยๆ อ่านมาเรื่อยๆ จนกว่าจะจบก็ซัดไปสามเดือน

พออ่านจบแล้วก็ถือว่าเป็นบทลงโทษของความผิดพลาดเมื่อสามเดือนที่แล้ว

 

โลกที่ไม่ลืม

เรามีหนังและมีนิยายมากมากเกี่ยวกับ “ความสามารถพิเศษ” ที่พูดถึงคนที่ความจำดีอย่างเกินธรรมชาติ เราพูดถึงความเจ๋งไปพร้อมๆ กับความทรมานกับการสูญเสียความสามารถในการลืมไป

แต่จะเป็นอย่างไรถ้าเรา “ทุกคน” กลับมีความสามารถแบบเดียวกันนี้

โลกที่ไม่ลืมเป็นความฝันของนักวิจัยที่อย่าง Mark Weiser ที่ทำนายไว้ว่าจะมีวันหนึ่งที่พื้นที่เก็บข้อมูลของเรามากพอ จนกระทั่งเราไม่ลบอะไรอีกเลย โดยเขาทำนายไว้ที่ความจุ 1TB ที่ทุกคนจะไม่สนใจลบไฟล์อีก

ซึ่งไม่จริง ทุกวันนี้ภาพความละเอียดสูง วิดีโอ 4K, วิดีโดสโลวโมชั่น ทำให้เราผลิตข้อมูล 1TB ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงได้อย่างง่ายดาย เราสามารถผลิตข้อมูลมหาศาลจนเราเองไม่สามารถหาที่เก็บมันได้อย่างเพียงพอ เมื่อเราเลือกเก็บ ข้อมูลบางส่วนหายไประหว่างทาง ภาพความละเอียดสูงหายไปกับฮาร์ดดิสก์ลูกเก่า เหลือเพียงภาพความละเอียดต่ำที่อัพโหลดไว้บางภาพ

ขณะเดียวกัน ภาพใหม่ๆ จำนวนมหาศาลก็ทำให้เรา “ลืม” ภาพเก่าๆ ไปจำนวนมาก แม้มันจะกองอยู่ในฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊ก ห่างจากมือของเราไปไม่กี่มิลลิเมตรอยู่ทุกวันก็ตามที

แต่ปัญญาประดิษฐ์ กำลังทำให้เราทุกคนเสียความสามารถในการลืมไปอย่างถาวร….

 

หลายก่อนที่เป็นช่วงก้าวกระโดดของวงการสตอเรจในคอมพิวเตอร์ โลกเพิ่งเห็นแผ่นซีดี, ฮาร์ดดิสก์ขนาดเกิน 1GB, เทปขนาดหลายร้อยเมกกะไบต์ สิ่งหนึ่งเราเรามักจะเอามาเทียบกับความจุเหล่านี้คือจำนวนหน้าหนังสือ หรือบางทีก็เอามาเทียบว่าเป็นไบเบิลกี่เล่ม

ประวัติศาสตร์และคำสอนของศาสนาคริสต์ทั้งหมด รวมอยู่ในข้อความแบบยังไม่บีบอัดเพียง 4.3MB เท่านั้น คำสอนนี้นิยามตัวตนของผู้ที่เรียกตัวเองว่าเป็นคริสเตียนจำนวนมหาศาล ขณะที่ข้อมูลระดับเทราไบต์ที่เราถ่ายวิดีโอช่วงเวลาสั้นๆ ของเรากลับไม่ได้บอกตัวตนอะไรเรามากมายนัก

ไม่ว่าจะบอกว่าเป็นประสงค์ของพระเจ้า หรือคนศาสนาอื่นอาจจะบอกว่าเป็นความสามารถของเหล่า Apostle ในศาสนา แต่ไบเบิลก็ถูกบีบอัดข้อมูลประวัติศาสตร์นับพันปีมาอย่างปราณีต ข้อมูลช่วงสำคัญถูกเลือก ถูกเล่าในรูปแบบที่เน้นถึงจุดสำคัญ จนกระทั่งออกมาเป็นหนังสือที่มีจำนวนอักขระไม่ได้มากมายกว่าหนังสือหนาๆ เล่มอื่นๆ ในโลก

เราเห็นพลังของการบีบอัดเอาช่วงสำคัญเช่นนี้ เช่น จดหมายเหตุของชาติต่างๆ, บันทีกที่เหล่าขัณฑีบันทึกการกระทำของฮ่องเต้ในจีน, ปูมเรือที่จดโดยเหล่าลูกเรือ

ปัญญาประดิษฐ์กำลังเข้ามาทำหน้าที่นี้ให้กับ… ทุกคน

 

ปัญญาประดิษฐ์แสดงความสามารถสำคัญหลายอย่างที่จะบีบอัดเรื่องราวของเราไว้ให้มีขนาดเล็กแบบเดียวกับไบเบิลที่เลือกสรรค์ประวัติศาสตร์มาเป็นอย่างดี เมื่อเราถ่ายรูป ปัญญาประดิษฐ์เริ่มมีความสามารถในการบรรยายรูปภาพเหล่านั้นดีขึ้นเรื่อยๆ

คงไม่ใช่เรื่องยากที่วันหนึ่งเราถ่ายภาพทิ้งขว้าง ปัญญาประดิษฐ์จะสามารถแนะนำให้เราลบภาพที่ไม่มีค่า (เช่นเบลอหรือถ่ายพลาด) ออกได้ทันที ภาพทุกภาพจะถูกบรรยายอย่างละเอียด ใครอยู่ในภาพบ้าง เป็นงานอะไร กำลังทำอะไร หากเราพบใครสักคนเป็นครั้งแรก ปัญญาประดิษฐ์จะบันทึกวันที่เราพบกันไว้อย่างแม่นยำ

เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อพื้นที่ดิสก์เริ่มเต็ม ปัญญาประดิษฐ์จะเลือกลบ หรือย่อรูปที่ไม่มีคุณค่าออกจากระบบ ภาพบางภาพจะถูกครอปเฉพาะจุดสำคัญ วิดีโอความละเอียดสูงถูกตัดเลือกช่วงเวลาสำคัญที่สุด เวลาอื่นๆ ถูกย่อลงเหลือความละเอียดต่ำหรือเลือกภาพแค่บางเฟรมออกมา

 

ข้อมูลดิบหายไป แต่ความทรงจำของเราถูกบรรยายไว้อย่างปราณีต เรื่องราวที่เราพบเจอถูกบันทึกเป็นข้อความอย่างละเอียด ข้อความทั้งหมดที่บรรยายชีวิตของเราแต่ละวันอาจจะไม่กี่ร้อยกิโลไบต์ แต่มันกลับเป็นบันทึกที่ละเอียดจนไม่มีใครทำได้ แต่ละปีข้อมูลที่ถูกจดบันทึกนี้มีเพียงไม่กี่สิบเมกกะไบต์ มูลทั้งชีวิตของเราที่ไร้ภาพ กลับถูกบรรยายไว้ทุกแง่มุมในขนาดรวมไม่กี่กิกะไบต์ ภาพสำคัญ วิดีโอ เสียง ฯลฯ ถูกลิงก์เข้ากับข้อความแต่ละส่วน

เมื่อเราพบกับใครสักคนและได้ร่วมงานหรือพบเจอกัน เราจะสามารถดึงความสัมพันธ์ของเรากลับมานั่งทบทวนได้ทั้งหมด

เราจะไม่ลืมอีกต่อไป

 

ผมไม่รู้ว่าเราจะความสุขกับโลกแบบนี้ไหม ไม่ใช่ทุกคนที่มีความสุขกับการที่เฟซบุ๊กเตือนให้เพื่อนๆ มาอวยพรวันเกิด การที่เราจำเรื่องราวของกันและกันได้อย่างละเอียด แต่เราก็รู้ว่าต่างฝ่ายต่างไม่ได้จำจริงๆ แต่เป็นความทรงจำที่คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการให้เช่นนี้เป็นสิ่งที่เราจะอยู่ร่วมกับมันอย่างไร

คงเป็นคำถามที่เราจะได้คำตอบกันในช่วงชีวิตของเราเอง

 

iPhone 7

screenshot_2016-09-08_01-25-39

เรื่องที่เสียใจที่สุดไม่ใช่การที่แอปเปิลตัดรูหูฟังออก (อีกไม่กี่ปี มือถือจำนวนมากก็น่าจะตัดออกเหมือนกัน) แต่เป็นการที่แอปเปิลเลือกจะตัดรูหูฟังโดยใช้พอร์ต Lightning

มันแปลว่าแอปเปิลจะต้องซัพพอร์ต Lightning ไปอีกนานเพราะชวนลูกค้าซื้ออุปกรณ์เสริมเพิ่มอีกอย่างไปแล้ว

มันแปลว่าความฝันที่ว่ามือถือ (และแลปทอป) ทั้งหมดจะหันมาใช้พอร์ตร่วมกันทั้งโลก จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในอีกสองสามปีข้างหน้า

แอปเปิลมีโอกาสที่ดีที่สุดที่จะรวบทุกพอร์ตให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ถ้า iPhone 7 ใช้ USB-C (เหมือน MacBook) มันจะเป็นสัญญาณของการรวบพอร์ตให้เป็นหนึ่งเดียวครั้งใหญ่ที่สุด

แม้แอปเปิลตัดพอร์ตหูฟังไป แต่อุปกรณ์เสริมก็จะไมใช่ของแปลกประหลาด การลงทุนกับอุปกรณ์เสริมจะเป็นเรื่องเล็กหากมันสามารถใช้งานได้ทุกที่

โลกได้พลาดโอกาสนั้นไปแล้ว