ความเห็นต่อการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในไทย

ช่วยมาร์คทำการบ้าน เอามาลงบล็อคแล้วกันเผื่อจะกลายเป็น Blog-Tag

– ช่วยแนะนำตัวเองคร่าวๆ เช่น ตำแหน่งหน้าที่การงาน ลักษณะการทำงาน
> วิศวกรคอมพิวเตอร์, ผู้ดูแลระบบ, ผู้ดูแลเครือข่าย, เว็บมาสเตอร์, โปรแกรมเมอร์, นักวิจัย, นักศึกษา (มั่วจริงตู)

– ใช้อินเทอร์เน็ตมานานแค่ไหน? ใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงานเยอะน้อยอย่างไร (เช่น ใช้บ้าง หรือ ขาดไม่ได้) ช่วยอธิบายลักษณะการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบคร่าวๆ (เช่น หาข้อมูลบนเว็บ ทำรายการทีวีออนไลน์)
> ตั้งแต่ ป. 5 นับรวมแล้วประมาณ 15 ปี เมื่อขาดอินเทอร์เน็ตแล้วประสิทธิภาพการทำงานลดลงเหลือเพียง 1 ใน 10

– ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดนผลกระทบจากการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยบ้างหรือไม่? (โดน/ไม่โดน ถ้าโดน เป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน หรือเป็นเจ้าของ/ผู้ดูแลเว็บไซต์ที่โดนเซ็นเซอร์)

> โดนบ้างไม่มากนัก ทั้งที่ทำงานและที่บ้าน เนื่องจากมักเป็นการบล็อคแบบทั่วประเทศ

– ถ้าได้รับผลกระทบจากการเซ็นเซอร์ ได้กระทำการหลบเลี่ยงหรือแก้ไขอย่างไรบ้าง (เช่น ใช้ proxy หรือ Tor,
ย้าย ISP, ย้ายเซิร์ฟเวอร์, โพสต์แสดงความไม่เห็นด้วยตามเว็บบอร์ด/บล็อก) ถ้าไม่ได้ทำอะไรเป็นพิเศษช่วยระบุ

> ยังไม่เคยเจอกรณีที่ทำอะไรไม่ได้ แต่โดยมากแล้วเมื่อมีการบล็อคจะทำให้พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนไป โดยมากแล้วแล้วจะเข้าเว็บที่ถูกบล็อคบ่อยกว่าเดิม เนื่องจากสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นจึงถูกบล็อค

– มีความเห็นอย่างไรต่อการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต (เช่น เห็นด้วยทั้งหมด เห็นด้วยบางประเด็น ไม่เห็นด้วย) พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ

> __ไม่เห็นด้วยในบางประเด็น__ หลักๆ คือการบล็อคโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมที่อธิบายได้ เพราะโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเซ็นเซอร์ในบางประเด็นที่ชัดเจนได้ เช่นภาพอนาจารเด็ก

– ในกรณีที่เห็นด้วยเป็นบางประเด็น คิดว่าควรเซ็นเซอร์เรื่องอะไรบ้าง (ตัวอย่าง: การเมือง ศาสนา วัฒนธรรม สถาบันพระมหากษัตริย์ การก่อการร้าย แบ่งแยกดินแดน ภาพอนาจาร ภาพอนาจารเด็ก การพนัน ฯลฯ)

> ประเด็นที่มีความผิดทางกฏหมาย__อย่างชัดเจน__ เช่น ภาพอนาจาร (ผิดกฏหมายไทยอยู่แล้ว) สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ผิดกฏหมายเช่นกัน แต่ทั้งหมดทั้งมวลคือต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม

– ถ้าเห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ (ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน) คิดว่าการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตควรทำที่ระดับชั้นไหน (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ หรือจะตอบอย่างอื่นก็ได้)
– นโยบายระดับรัฐบาล-กระทรวง
– กฎหมาย
– เกตเวย์ออกกต่างประเทศ (ปัจจุบันมี 3 แห่งคือ CAT, TOT และ True)
– ISP
– องค์กรที่สังกัด (เช่น มหาวิทยาลัย บริษัท)
– พีซี/โน้ตบุ๊ก (เช่น ลงซอฟต์แวร์เซ็นเซอร์)

> กฏหมายบังคับไปที่เกตเวย์น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีในเชิงเทคนิค อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เช่นรัฐสั่งบล็อคจำนวนมากและซับซ้อนส่งผลให้เอกชนรับภาระค่าใช้จ่าย แล้วผลักภาระไปให้ผู้บริโภค กรณีอย่างนี้จะจัดการอย่างไร?

– คิดว่าการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต ต่างจากสื่อชนิดอื่นๆ เช่น หนังสือ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หรือไม่

> ต่างกันที่คนมีความเข้าใจมีเพียงจำนวนน้อย ทำให้การจัดการทำได้ไม่ดีนัก หลายครั้งมั่ว และหลายครั้งมีการทำเกินอำนาจที่กฏหมายระบุ

– คุณมีความเห็นต่อการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต หลังรัฐประหาร 19 กันยา 2549 อย่างไร

> มั่วซั่ว ตีคลุมอย่างไร้ทิศทาง และขาดความเข้าใจ โดยทั่วไปแล้วสร้างภาพลบให้กับคณะรัฐประหารอย่างทรงประสิทธิภาพ

– คิดว่าระดับการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ถือว่ามากหรือน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ (เท่าที่ทราบมา)

> ไม่มากนักเมื่อเทียบกับจีน และประเทศแถบตะวันออกกลาง

– มีความคิดเห็นต่อประเด็นด้านการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต ใน พรบ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 อย่างไร

> ขาดบทลงโทษการใช้อำนาจนอกเหนือกฏหมาย เช่นข่มขู่ผู้ให้บริการต่างๆ ในรูปแบบของการขอความร่วมมือ เรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นอาชญากรรมในเชิงข้อมูลข่าวสาร และทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการได้ไม่ต่างจากการแฮกคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด

– รู้จักกลุ่มต่อต้านการเซ็นเซอร์ในประเทศไทยหรือไม่ คิดว่ามีผลกระทบต่อระดับการเซ็นเซอร์มากน้อยแค่ไหน

> รู้จัก และติดตาม Blog ตลอดเวลา แต่คิดว่ายังมีผลในวงจำกัด

– คิดว่าในอนาคต สถานการณ์การเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจะมากขึ้นหรือน้อยลง

> มากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง อาจจะ 5-10 ปี หลังจากนั้นแล้วเมื่อคนไทยตระหนักในสิทธิของการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น ภาครัฐน่าจะระมัดระวังในการกระทำการใดๆ มากกว่านี้

– ความเห็นอื่นๆ ต่อการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต

> การเรียกร้องในวันนี้ยังไม่มีผลเท่าใดนักเพราะผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังอยู่ในวงจำกัด และกลุ่มผู้ใช้ยังเป็นเด็กอยู่เป็นจำนวนมาก แต่อนาคตเมื่อการกระจายตัวในการเข้าถึงได้กว้างขึ้น และกลุ่มผู้ใช้เป็นผู้ใหญ่กว่านี้ การกระทำเช่นในอดีตจะถูกต่อต้านมากกว่านี้ตามระยะเวลา

ไม่รู้มาร์คส่งให้ใครทำบ้าง แต่อยากเห็นความเห็นของ[พี่เฮ้าส์](http://house.exteen.com/), [คุณเทพพิทักษ์](http://thep.blogspot.com/), และ[ต่าย](http://ipats.exteen.com/) ดูมั่ง ถ้าว่างๆ ลองทำดู

 

JS or not JS

ช่วงนี้มีโอกาสได้ทำเว็บที่มีความต้องการแปลกไปจาก Blognone บ้างเลยพบว่ามีความต้องการใช้ลูกเล่นที่มากกว่าปรกติ เลยมีประเด็นที่น่าคิดขึ้นมา

เรื่องของเรื่องคือโมดูล Nice Menus  ของ Drupal ที่เวอร์ชั่นหลังๆ มีความพยายามในการขจัดการใช้งาน JavaScript ออกไปให้มากที่สุดโดยล่าสุดสามารถขจัดออกไปจากการใช้งานเว็บใน Firefox ได้แล้ว ส่วน IE ยังต้องพึ่ง JQuery กันต่อไป

ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อผมต้องการ Customize บางอย่างที่เหนือความสามารถของ CSS แล้วทำให้ต้องไปดึง JQuery กลับมาใช้งานอยู่ดี

เรื่องนี้ทำให้น่าคิดว่าบางทีแล้ว การใช้งาน JS ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องเสียหายจนเกินไป โดยเฉพาะหากเว็บไม่ได้ช้าอะไรมากมาย และการใช้งานนั้นลดระยะเวลาการพัฒนาเว็บลงได้อย่างมีนัยยะ

หลายคนอาจจะเถียงว่า CSS นั้นควรทำหลายๆ อย่างได้โดยไม่ต้องพึ่ง JS ที่ทำให้เครื่องผู้เข้าชมเว็บช้าโดยไม่จำเป็น

แต่หลังจากพยายามปล้ำกับมันมานาน ตอนนี้ผมยอมแพ้แล้วขอใช้ JQuery ให้สบายใจดีกว่า

 

สาธารณะ

พอดีไปอ่านเจอเอากรณีการลบกระทู้ในประชาไท เรื่องเนื้อหาว่าลบไม่ลบหรือเหมาะไม่เหมาะคงไม่พูดถึง แต่เรื่องที่น่าสนใจคือการมองเป็นประชาไทเป็นพื้นที่สาธารณะ

ที่น่าสนใจเพราะกรณีใน Blognone นั้นเป็นรูปแบบเดียวกันคือถึงจุดหนึ่งแล้ว คนจำนวนมากเริ่มมองว่าพวกเขาเป็นเจ้าของพื้นที่นั้น ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมมองว่าถ้าเป็นในระดับที่รับรู้ว่ามีคนต้องรับผิดชอบเว็บอยู่จริงก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไร

ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อคนจำนวนที่ว่าเริ่มเข้าใจว่าตัวเองมีสิทธิขาดในเว็บ ที่จะประกาศอิสระในหลายๆ รูปแบบได้

ผมอาจจะคิดผิด แต่ในความคิดของผมตอนนี้แล้ว สิ่งที่ควรจะเรียกร้องร่วมกันคือกติกาที่ยอมรับได้ในอินเทอร์เน็ตมากกว่าที่จะเป็นเว็บใดเว็บหนึ่ง ภาพในความคิดของผมนั้นมองเหมือนกับถนนสาธารณะกับถนนในห้างหรือในบ้าน  ขณะที่ถนนสาธารณะนั้นมีกติกาการใช้งานที่ชัดเจนและเป็นกลาง ถนนส่วนบุคคลอื่นๆ อาจะสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ และไม่ได้สร้างความเท่าเทียมในการใช้งานแต่อย่างใด

ประเด็นการต่อต้านการบล็อคเว็บอย่างไร้กระบวนการเป็นการเรียกร้องให้กติการในการใช้รถใช้ถนนบนพื้นที่สาธารณะมีความชัดเจน มากกว่าที่จะเรียกร้องว่าทุกบ้านและทุกหน่วยงานต้องมีกติกาที่ชัดเจนเหมือนๆ กัน  จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาใน Blognone เห็นได้ชัดว่าคนจำนวนมาก ยังมองภาพว่าการเรียกร้องกติการวมนั้นหมายถึงพื้นที่ทั้งหมดต้องมีกติกาแบบเดียวกัน

ข่าวร้ายคือเมืองไทยนั้นแม้แต่หากมีคนอยากทำเว็บที่มีกติกาที่ชัดเจน ก็น่าจะทำได้ยาก เพราะด้วยระบบการขอร้อง ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มันทำลายกติกา และระบบลงไปอย่างยากจะแก้ไข

 

Azureus gone at last

After used as Windows/Linux bridge, today I decided to remove Azureus out of my computer for it has major memory leak problem. Memory leak problem occurred in many recent version of Azureus. Bad news is its’ seem to be getting worse on Azureus3. Anyone who faced with this problem will found himself unable to resume partially downloaded file.

I am tried about half dozen of Azureus replacement. It’s much harder than I think for Azureus has many advanced and very flexible feature. The first replacement I found on Ubuntu Forum is Deluge which renamed from gTorrent, it’s quite workable but it miss a major feature: listen port configuration. I also try Bittornado which turn out to be buggy with some filename.

I found Rufus at last, while it may not powerful as Azureus, I found that it serve all my need very well. Some configuration needed to restart program cost me annoy but it seems to be okay for I need to configure it just once.

Rufus work very well on Linux. I had a minor problem in installation script but all others work very well. The only cons I’m serious about it is events notification. Rufus has none of pop-up or any kind of system tray notification so you has to look at it’s windows yourself. I hope this will be improved in version 1.0.