Open Deeds

ความหลากหลายของอินเทอร์เน็ตทำให้คนจำนวนมากมาเจอกันทั้งที่เขาเหล่านั้นอาจจะไม่มีวันได้เจอกันเลยในโลกความเป็นจริง พวกเขาถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันในมิติที่ต่างออกไปจากคนยุคก่อนหน้า แทนที่จะเจอกันจริงๆ เพื่อทำความรู้จัก แต่คนในยุคนี้และยุคต่อๆ ไปจะเจอคนตามเรื่องราวความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ

ปัญหาอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นคือความแตกต่างระหว่างกลุ่มคนที่มาเจอกันนั้นจะมากขึ้นเรื่อยๆ การรู้จักกันตัวจริงๆ เรามีข้อมูลมากมายที่จะคาดเดาฝ่ายตรงข้ามได้ เราประเมินอายุ เพศ ศาสนา รสนิยม ฯลฯ ได้ทันทีที่พบกัน  แต่ในอินเทอร์เน็ต ทั้งหมดกลายเป็นเพ่ียงตัวอักษร

เมื่อทำความรู้จักกันบนโลกความเป็นจริง เรามีโอกาสที่จะปรับตัวล่วงหน้า ระมัดระวังในบางเรื่อง

ช่วงนีคิดถึงเรื่องของการ “ประกาศตัว” เพื่อให้คนที่เข้ามาพูดคุยด้วยได้รู้ว่าตัวตนเบื้องต้นของเราเป็นอย่างไร เพื่อให้คนอื่นๆ สามารถทำความเข้าใจได้ดีขึ้น เช่น

  • ผมมองว่าการ unfollow/unfriend ไม่ได้แปลว่าไม่พอใจกัน
  • ผมรับไม่ได้ต่อการพูดคำหยาบ
  • ผมรับได้ต่อการพูดเรื่องเพศ
  • ฯลฯ

เราอาจจะสร้างหน้าเว็บสำหรับแนวทางแคบๆ เหล่านี้ขึ้นมา แต่ละแนวทางแคบๆ เช่นนี้มีโลโก้ของมันเองอย่างชัดเจน มีคำอธิบายที่เข้าใจได้ภายในไม่กี่ประโยค

รูปแบบนี้เป็นรูปแบบเดียวกับ Creative Commons ที่มี deed ให้อ่านเข้าใจได้ง่ายๆ และมีโลโก้ให้แต่ละคนแสดงตัวได้อย่างชัดเจน

การขยายแนวทางนี้ออกไปให้ไม่จำกัดอยู่แค่ลิขสิทธิ์ แต่เป็นแนวทางในสังคมร่วมกัน ในเว็บหนึ่งๆ เองก็อาจจะประกาศแนวทางของตัวเองด้วย deed ชุดหนึ่ง ระบบทั้งหมดอาจจะทำให้คอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจได้ (เป็น semantics) เราอาจจะมีเบราเซอร์ตรวจสอบแนวทางของเว็บ และตรวจสอบว่าเข้ากับแนวทางส่วนตัวของเราหรือไม่ เมื่อเราเข้าเว็บใดๆ เราอาจจะได้รับคำเตือนเช่น “เว็บนี้ยอมรับได้กับการเซ็นเซอร์เนื้อหาแม้ไม่ขัดแต่กฏหมาย แต่ …….. แนวทางทางนี้จะขัดต่อแนวทางของคุณว่าการเซ็นเซอร์ต้องเป็นไปตามกฏหมายเท่านั้น” เป็นต้น

 

เหยีบตีน

หัวข้อกวนๆ แต่บล็อคนี้เทคนิคมาก ถ้าใครหวังอ่านบล็อคความรักโปรดข้ามไปก่อน…

ยังไม่ข้าม? งั้นลุยเลย

ลองคิดดูเล่นๆ ถ้าวันนี้เราไปจีบสาวสักคน กำลังเดินควงๆ อยู่แล้วไปรู้เอาทีหลังว่าเธอเป็นกิ๊กกับผู้บริหารกู… สักคน (เอาว่าชื่อนาย ซ. แล้วกัน) ในตอนนี้

งานเข้าทันทีครับพี่น้อง…

มีใครสักคนถ่ายรูปเราตอนกำลังควงสาวคนนั้นอยู่ เว็บแอพลิเคชั่นจะจับใบหน้าของเราละสาวคนนั้นไว้ พร้อมแยกแยะหน้าของเราและเธอคนนั้นออกมาในทันที

เราไม่มีวันรู้ว่าใครสักคนจะเขียนโปรแกรมดักไว้รึเปล่า อาจจะมีใครสักคนเขียนโปรแกรมแบบเดียวกับ Google Alert เอาไว้ให้เตือนทุกครั้งที่มีภาพของใครสักคนที่เราต้องการเข้ามาในระบบ

ภาพนั้นถูกอัพโหลดขึ้นระบบเบื้องหลังถูกเตือนขึ้นมาเพราะภาพสาวไปโผล่ในระบบ นายซ. สั่งค้นหาภาพทั้งหมดของเราทันที

แน่นอนว่าภาพของเราจะถูกดึงขึ้นมา ส่วนมากแล้วอยู่ในบัญชีเพื่อนๆ เราจำนวนมาก ทันทีที่การค้นหาภาพของเราเริ่มต้นขึ้น ความสัมพันธ์ของเรากับคนจำนวนมากถูกฟอร์มออกมาเป็นข้อมูลสรุปในทันที

เพื่อนคนหนึ่งในนั้น ใส่ข้อมูลอีเมลของเราประกอบภาพเอาไว้เพื่อความง่าย ข้อมูลที่หลุดเป็นอย่างที่สองคืออีเมลของเรา

ข่าวร้ายคือ อีเมลของเราก็ใช้ของบริษัทที่นาย ซ. ทำงานอยู่นี่ล่ะ!!!

อีเมลหลุดไป ข้อมูลจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นสถานะทางการเงินที่ K-Bank เพิ่งอัพเดตให้เมื่อวันเสาร์ หรือจะเป็นนัดไปเที่ยวอาทิตย์หน้า ตลอดจนตารางเวลาชีวิตของเราก็หลุดไป

ยังมีอีกหน่อย Chat Log ที่เราไปคุยกับกิ๊กของนายซ. ไว้ เพียงการค้นหาชั่วเสี้ยววินาที นาย ซ. รู้ได้ทันทีว่าเราเริ่มคุยกับกิ๊กของเขาอย่างไรกัน

เมื่อตรวจ log ที่เข้าใช้เว็บเมลแล้ว นาย ซ. จะสามารถบอกได้ว่าเราเข้าใช้อินเทอร์เน็ตจากไอพีหมายเลขใดเวลาใดบ้าง

ข่าวดีคือ เว็บจำนวนมากในโลก มีโค้ดของบริษัท กู… นี่ฝังอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของโฆษณาหรือระบบวิเคราะห์ข้อมูลผู้เข้าชมเว็บต่างๆ ทั่วโลก

พฤติกรรมเราจะถูกวิเคราะห์จากเว็บที่เราเข้าชม เวลาที่ใช้ในแต่ละเว็บ ความสนใจอของเราจะถูกวิเคราะห์จากคำค้นหาทุกคำเท่าที่เราเคยค้น เรื่องทุกเรื่องที่เราสนใจไม่ว่าจะ share หรือ star ไว้จะบอกได้ว่าเราสนใจอะไรบ้าง

โอ้ว ไม่…

พอดีกว่า

 

Analytics#2

ไม่มีอะไรมาก จะบอกว่าประเทศไทยก็ใช้ได้เหมือนกันครับ

ส่วนในสหรัฐฯ นั้นดูกันเป็นรัฐได้เลย

 

Computing is changing #2

ต่อจากเมื่อวานนี้

Clouds Along the Road

ผมเคยเขียนเมื่อตอนต้นปีที่ Blognone ว่าเทคโนโลยีอะไรที่น่าจับตามองที่สุดในรอบปีนี้ สิ่งที่ผมเขียนไปนอกจากจะเป็นเรื่องของ Multi-Core (ที่กำลังจะตกยุค และเข้าสู่ยุคของ Many-Core) แล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่ผมมองว่าสำคัญกว่าเสียอีก คือเรื่องของ Cloud Computing

แนะนำกันก่อนว่า [Cloud Computing](http://en.wikipedia.org/wiki/Cloud_computing) คือบริการรูปแบบใหม่ที่ต่างจากการเช่าคอมพิวเตอร์ในแบบเดิมๆ ก่อนอื่นลองนึกภาพว่าวันนี้ถ้าคุณต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์มาทำเว็บเซิร์ฟเวอร์ซักเครื่อง สิ่งที่คุณทำได้คือเช่าคอมพิวเตอร์ “หนึ่ง” เครื่องมาใช้งานสำหรับเว็บของคุณ

คำถามคือ แล้วถ้าโหลดมันเกินเครื่องที่เช่ามาล่ะ?

สิ่งที่เราทำในสมัยก่อนคือการเช่าเครื่องใหม่ที่เร็วกว่าเดิม หรือไม่ก็เช่าเครื่องเพิ่มเพื่อแยกงานบางอย่างออกไป แล้วหวังว่าเครื่องจะไม่โหลดเต็มอีกในวันพรุ่งนี้

ข่าวร้ายบางอย่างเกิดขึ้น เมื่ออีกสองวันหนังสือพิมพ์เอาข่าวเว็บสุดเจ๋งของคุณลงไปข่าว แล้วคนพากันเฮโลเข้ามานับล้าน ผลสุดท้ายแล้วเว็บของคุณก็ยังดาวน์ไปในที่สุด

คุณเช่าเครื่องเพิ่มอีกหลายเครื่อง คุณคาดหวังกับการลงทุนครั้งนี้ แต่ผลที่ได้คือคนที่เข้ามาตามข่าวไม่ได้ติดอยู่กับเว็บของคุณไปนานนัก คนเข้าเว็บของคุณเหลือเพียงหนึ่งในสามในเวลาต่อมา คุณมีเครื่องว่างๆ ที่ไม่ได้ทำงานแต่ต้องเสียเงินลงทุนพร้อมกับค่าเช่า Data Center ไปอยู่ทุกเดือน

Cloud Computing แทรกตัวเข้ามา เสนอบริการใหม่จากผู้ให้บริการที่เช่าเครื่องนับพันเครื่องไว้แทนคุณ แล้วบอกคุณว่าจะคิดตามโหลดเครื่องที่ใช้งานจริง นั่นคือถ้าเว็บของคุณไม่มีใครเข้าเลย ก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร แต่ถ้ามีคนเข้าเว็บของคุณจำนวนมหาศาลล่ะ ทางผู้ให้บริการก็จะกระจายซอฟต์แวร์สำหรับเว็บของคุณไปหลายสิบ หรือหลายร้อยเครื่องเพื่อให้รองรับผู้ใช้ได้ทุกคน และถ้าผู้ใช้ของคุณลดลงเท่าใหร่ก็ตาม ค่าใช้จ่ายของคุณก็จะลดลงไปอยู่ที่เดิมในทันที

แน่นอนว่าทุกอย่างไม่ได้ง่ายอย่างนั้น ซอฟต์แวร์จำนวนมากออกแบบมาเฉพาะสำหรับการทำงานบนคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ความสามารถหลายๆ อย่างจะทำได้ลำบากขึ้นเมื่อเราต้องคำนึงว่าถึงว่าซอฟต์แวร์นั้นอาจจะกระจายตัวอยู่บนเครื่องกี่เครื่องก็ได้ เราจึงได้เห็นระบบฐานข้อมูลแบบใหม่ๆ ที่ความสามารถต่ำลงกว่าเดิม แต่ทำงานเร็วขึ้น และรองรับ Cloud Computing นี้มาตั้งแต่ต้น

มีคนเคยถามผมว่า Web 2.0 ทั้งหลายจะอยู่รอดได้อย่างไรในการแข่งขันที่สูงจนไม่น่ามีใครรอดอย่างทุกวันนี้

คำตอบผมคงง่ายๆ ทำกำไรให้ได้ในภาวะที่คนยังน้อย และทำกำไรให้มากขึ้นในภาวะที่คนเยอะ ขยายตัวให้ได้แม้จะมีคนโดดเข้ามารุม

Cloud Computing น่าจะเป็นทางออกที่ดี