VPS over Physical Disk?

ช่วงนี้กำลังคิดมากเรื่อง manageability ของเซิร์ฟเวอร์

ประเด็นหนึ่งที่น่าจะทำให้คือการอาศัย Virtual Machine เข้ามาแทนที่ IP KVM ด้วยการใช้ลินุกซ์ตัวเล็กๆ เข้าไปในเครื่องก่อน แล้วให้ตัว Virtual Machine ครอบครองทุกอย่าง นับแต่ HDD, GPU, CPU, LAN ฯลฯ โดยตัว Host ซึ่งเป็นเพียง OS เล็กๆ อาจจะเป็นลินุกซ์แบบย่อส่วนนั้น ฝังตัวอยู่ภายใน ทำหน้าที่คอยดูแลระบบว่าอยู่ดีหรือไม่

ข้อดีของเรื่องนี้ประการหลักเลยคือ IP KVM นั้นราคาแพงมาก การใช้ระบบอย่างนี้จะช่วยให้เราสามารถดึงหน้าจอ, mouse และ keyboard กลับมาได้ในเวลาที่เราต้องการ แถมสั่ง reboot เครื่องได้อีก

ข้อเสียหลักๆ คือเรื่องของ Performance ที่แรมจะถูกกันไปส่วนหนึ่งเพื่อจ่ายให้กับ host (คล้ายการ์ดจอแบบแชร์แรม) รวมซีพียู

คำถามหลักเลยคือการทำเช่นนี้เรากำลังจ่ายประสิทธิภาพออกไปแค่ไหนกัน ส่วนตัวซีพียูนั้นไม่ค่อยมีปัญหาเท่าใหร่ แต่จะมีประเด็นเรื่องของดิสก์ที่มีปัญหากันมานานแล้วว่า ดิสก์ใน VM นั้นทำงานช้ากว่าอย่างมีนัยสำคัญ

ถ้าใช้ Physical Disk แล้วมันเนียน นี่อาจจะเป็นคำตอบของหลายๆ คำถาม

 

มีล้อ

เคยฝันไว้ว่าถ้าวันนึงมีบ้านแล้ว เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นในบ้านที่ใหญ่ๆ ควรมีล้อ จะได้แก้ไขแปลนบ้านได้ตามใจชอบภายในสิบนาที

อันนี้เก็บไว้เป็นชิ้นแรก…

จริงๆ แล้วตรงที่หมุนนี่ยังไม่ถูกใจเท่าใหร่ มันเปลืองที่เวลาจะตั้งหลายๆ ตู้ข้างๆ กัน ไว้ว่างๆ ลองออกแบบดู

 

TwitTOR

เพิ่งเริ่มเล่น Twitter เมื่อวานหลังจากได้ยินอาจารย์มะนาวบอกว่ามีคนถามหาอยู่ใน Twitter

พอเล่นๆ มาแล้วคิดเรื่องน่าสนใจมาได้คือระบบการสื่อสารแบบไร้ศูนย์กลางและติดตามผู้ส่งสารไม่ได้ โดยประเด็นนี้เองมีคนทำไว้แล้วนั่นคือ TorChat ที่เป็นเหมือน MSN แต่คำถามที่ตามมาคือในโลกที่ทุกคนต้องการปิดบังตัวเองเช่น Tor เราควรจะคุยกับใคร?

TwitTOR เป็นแนวคิดของการรวมกันระหว่าง microblogging กับเครือข่ายที่ป้องกันความเป็นส่วนตัวอย่างเต็มที่ คนๆ หนึ่งอาจจะเริ่มต้นการแสดงความเห็นที่สาธารณะด้วยการนำ unique key ของ tor ไปวางไว้ในบอร์ดสาธารณะสักที่ และรอให้มีคน Add เข้ามา

ความน่าสนใจคือ ทุกคนใน TwitTOR ไม่ได้กำลังพูดคุยกันเป็นการส่วนตัว แต่กำลังพูดในที่สาธารณะ เรื่องที่ต้องระวังในระบบเช่นนี้คือเรื่องของ load ที่เมื่อมีคน follow คนใดคนหนึ่งมากๆ แล้วอาจจะทำให้โหลดสูงเกินไปได้ ในกรณีเช่นนี้อาจจะต้องสร้าง proxy ตรงกลางที่มีระบบ digital-signature เพื่อยืนยันว่า micro-blog นั้นมาจากคนที่เราต้องการจะ follow จริงๆ พร้อมกับระบบ forward ที่บอกได้ว่าหากต้องการ follow แล้วให้ไป follow จาก proxy ใด

 

Industrial Research Conference

ช่วงนี้กำลังคุยกับอาจารย์หลายๆ ท่านถึงความเป็นไปได้ในการจัดงาน การประชุมวิชาการงานวิจัยในระดับอุตสาหกรรมในบ้านเรา แนวคิดง่ายๆ คืองานนิทรรศการตอนทำโปรเจคจบ เอาจริงๆ แล้วก็ไม่ค่อยมีใครเข้าไปดู แม้แต่คนทำงานในสายงานเดียวกันเอง เพราะไม่มีงานไหนน่าสนใจพอ  ที่จะมีบ้างในบ้านเราคือการแข่งขันรายการต่างๆ ของทาง NECTEC ที่เน้นการแข่งมากกว่าการแชร์ประสบการณ์กัน

แนวคิดนี้ได้มาจากตอนที่มีคนมาติดต่อผมให้เช้าไปช่วยงานในบริษัทหนึ่ง ด้วยเหตุว่าเขาหาคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานเฉพาะทางบางอย่างไม่ได้ ทำให้นึกได้ว่าจริงๆ แล้วสมัยผมทำโปรเจคก็ออกแบบ IC กันสนุกสนาน แต่ก็ไม่ได้ใช้ความรู้ตรงนั้นเท่าใหร่นัก จะดีกว่าไหมถ้าเรามีงานที่ไว้แลกเปลี่ยนว่าเราทำโครงงานอะไรกัน

งานแบบนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของการทำโปรเจคจบเสมอไป งานหลายๆ อย่างเป็นงานจาก Startup ในบ้านเราที่พัฒนาอะไรเล็กๆ น้อยๆ (แต่ใช้งานได้จริง) แล้วไม่มีโอกาสเปิดให้ภายนอกรู้ว่าใครมีดีอะไรกันบ้าง ถ้าเรามีอะไรแลกเปลี่ยนกันตรงกลางเราน่าจะ….

  • เปิดโอกาสให้นายจ้างหาคนที่มีประสบการณ์เฉพาะทางเข้าไปทำงานกับตัวเองได้ อย่างน้อยๆ ก็ติดต่อกันเอาไว้เตรียมส่งงานแบบ freelance ก็ยังดี
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ประกอบการกันเองว่าใครทำอะไรตรงไหน เผื่อจูงมือกันไปรับงานได้
  • ให้เด็กปริญญาตรีออกมาดูโลกภายนอก สร้างการแข่งขันในเชิงวิชาการระหว่างสถาบัน
  • เด็กรุ่นต่อๆ ไปมาดูได้ว่าโลกเค้าต้องการอะไรกัน ทำอะไรแล้วมันจะไม่ขึ้นหิ้ง

อาจารย์มะนาวเสนอว่าเกษตรน่าจะมีศักยภาพในการเป็นเจ้าภาพครั้งแรกๆ (ถ้ามันเกิดแล้วจะเวียนก็ว่ากันไป) ตอนนี้คงถามคนแถวๆ นี้กันก่อนว่ามีใครสนใจอะไรแนวๆ นี้กันบ้างรึเปล่าครับ