wireless wireless wireless

สงครามโทรศัพท์มือถือจะสนุกกว่านี้ ค่าโทรจะถูกกว่า และสหภาพแรงงาน CAT/TOT จะหายไปจากสารระบบของไทยด้วยเงื่อนไขเดียว คือคลื่นความถี่มีไม่จำกัด

สงครามทั้งหมดทั้งมวลมันเริ่มจากเงื่อนไขง่ายๆ และเป็นความจริงของโลกคือ “คลื่นความถี่มีจำกัด” เช่นเดียวกับน้ำมัน ป่าไม้  ที่ดิน และทรัพยากรอื่นๆ

และปริมาณข้อมูลที่ส่งไปในอากาศ (ที่จริงไม่ต้องมี “อากาศ” ก็ได้..) มีจำกัด ขึ้นกับปริมาณ “คลื่นความถี่” คำถามสำคัญเลยตกอยู่ที่ว่า ใครจะได้ความถี่ไป

Wi-Fi เป็นตัวอย่างของคลื่นความถี่แคบๆ ที่เปิดขึ้นมาให้ใครก็ได้เข้าใช้อย่างเสรีภายใต้เงื่อนไขเดียวกันคือความแรงที่จำกัด ทำให้รัศมีทำการของ Wi-Fi นั้นอยู่ที่ประมาณ 40 เมตรเท่านั้น โดยผู้ออกแบบเชื่อกันว่าภายในรัศมีเช่นนี้น่าจะมีผู้ใช้ไม่มากไม่มายนัก เพราะเมื่อก่อนการ์ดใบละสามหมื่น และคงไม่มีการติดตั้ง Wi-Fi อย่างหนาแน่นอีกเช่นกัน เพราะ Access Point ตัวละแสน

ผ่านไปสิบปีไม่มีอะไรจริง…

ภายในรัศมีแคบๆ เรามี Access Point หลายโหลทำงานพร้อมๆ กัน และมีคนใช้เยอะกว่าจำนวน access point อีกหลายเท่าทำงานพร้อมๆ กันเช่นกัน

ความเร็วของ 801.11g นั้นอยู่ที่ 54mbps ถ้าคิดง่ายๆ สิบคนก็จะใช้ได้คนละ 5mbps (ซึ่งของจริงจะอยู่ที่ประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้น) ก็น่าจะใช้งานได้ดี แถม Wi-Fi มีตั้ง 11 ช่อง…

เดี๋ยว 11 ช่อง…?

11 ช่องของ Wi-Fi เป็นเรื่องแปลกประหลาดทางวิศวกรรมที่ผมเองก็ไม่เคยเข้าใจว่ามันคิดขึ้นมาทำไมกัน เพราะในโลกความเป็นจริง ช่วงความถี่ที่ Wi-Fi รองรับได้พร้อมๆ กันจริงๆ จะมีเพียง 3 ช่องเท่านั้น คือ 1/6/11 ช่วงช่องอื่นๆ ใช้ไปมันก็จะกวนกันเอง….

ปัญหาใหม่บังเกิด เมื่อรศมี 40 เมตรที่เคยว่ากันว่าแคบๆ กลายเป็นตรงกลางห้างกลางกรุงสักห้าง ในรัศมี 40 เมตรอาจจะร้านกาแฟไปสามร้าน คนนั่งอยู่ รวมๆ เกือบสองร้อย ไม่ต้องพูดถึงห้องเรียน ที่ผมเคยเจอปัญหารัศมี 40 เมตรนั้นมีคนนั่งอยู่ 400 คน (เพราะเป็นห้องเรียนทั้งหมด) ผลคือไม่มีใครได้ใช้อะไร เพราะคลื่นชนกันไปมาเต็มไปหมเ

ทางออกมีสองทาง

  1. ทำสงครามโลกครั้งที่สาม ยึดโลกได้ให้ แล้วประกาศคลื่นความถี่เสรี 2.4GHz เพิ่มขึ้น
  2. หนีไปใช้ 802.11a ที่คลื่น 5GHz

เนื่องจากทางออกที่สองราคาถูกกว่ามากที่งาน PyCon2010 จึงเลือกทางนี้

ว่าแต่มันมี router ขายที่ไหนบ้าง?

 

lewcpe

CTO at MFEC PLC. Chief Editor at Blognone.com

 

5 thoughts on “wireless wireless wireless

  1. นั่นคือเหตุผลที่ Airport ของเครื่อง Mac ถึงพยายามผลักดัน 802.11n ที่ 5GHz ครับ -*-

  2. @bow_der_kleine

    MIMO นี่ผมยังพอทำความเข้าใจหลักการได้นะ ใช้ diff สัญญาณเพื่อให้ทนต่อ noise
    ได้ดี เข้าใกล้ขีดจำกัด Shannon ได้มากขึ้น

    แต่ CDMA นี่ต้องยอมรับว่าผมยังไม่เคย “เก็ต” กับมันเลย

  3. CDMA : แทนที่จะแยกสัญญาณเป็นช่องความถี่ ก็แยกช่องสัญญาณเป็น Code แทนครับ แต่ Code แต่ละช่องสัญญาณต้อง Orthogonal กัน ซึ่งจะทำให้เราเข้าใกล้ 1 Symbol/Hz มากขึ้น ส่วน 1 Symbol จะมีกี่ Bit ก็ขึ้นอยู่กับ Modulation Format

    ส่วน MIMO เป็นการเพิ่ม Capacity ครับ โดยคร่าว ๆ คือ เสารับส่งหนึ่งคู่ส่งข้อมูลได้มากสุด 1 Symbol/Hz

  4. อ้ออีกตัวที่น่าสนใจคือ OFDM ครับ อันนี้ช่องสัญญาณความถี่แต่ละช่องจะ Orthogonal กัน

Comments are closed.