่OLPC ตอนที่ 2: ความเปลี่ยนแปลง

ถ้าใครเป็นนักฟังเพลงมาเป็นเวลานานๆ หน่อยคงจะรู้ได้ว่าช่วงเวลาไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา โลกแห่งเสียงเพลงก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ นับแต่เอดิสันได้ประดิษฐ์แผ่นเสียงขึ้นมา ปฏิวัติขีดจำกัดที่ว่าการฟังเพลงคือการแสดงสดให้กลายเป็นความบันเทิงในบ้าน โลกก้าวหน้าไปอีกขึ้นด้วยเทปคาสเซ็ทที่สร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับโลกในชื่อว่า Walkman แต่ทุกอย่างก็ถูกพลักผันไปอีกครั้ง ด้วยการเข้ามาของโลกดิจิตอล สื่อดิจิตอลคุณภาพสูงที่แทบจะไม่มีความแจกต่างจากต้นฉบับสามารถถูกทำซ้ำได้ในปริมาณเท่าที่ต้องการ โดยต้นทุนเฉลี่ยต่อชิ้นที่ต่ำสนิท เทคโนโลยี MP3 ถูกสร้างขึ้นมาตอกย้ำเส้นทางความเปลี่ยนแปลงนี้อีกครั้ง ด้วยเทคโนโลยีที่แต่เดิมถูกสร้างขึ้นมาเพื่องานภาพยนตร์ แต่ด้วยคุณภาพที่ยอมรับได้และขนาดไฟล์ที่เล็กอย่างไม่น่าเชื่อ ทำให้เทคโนโลยีเอ็มพีสามเร่งความเร็วโลกดนตรีดิจิตอลไปด้วยความเร็วเกินกว่าคนเมื่อสิบห้าปีก่อนจะฝันถึง

โลกการศึกษานั้นก็ไม่ต่างกัน เมื่อในสมัยหนึ่งเราเคยให้นักเรียนถือกระดานชนวนคนละแผ่นไปเรียนหนังสือกัน แม้กระดานชนวนนั้นจะมีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างดี ราคาถูก และทนทาน แต่เมื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นสมุดเรียนถูกพัฒนาขึ้นให้ถูกพอที่จะนำมาใช้งาน ในวันนี้คงไม่มีใครถือกระดานชนวนไปเรียนหนังสือกันอีกต่อไป น่าแปลกที่กระดานชนวนในยุคนี้นั้นกลายเป็นของสะสมและของที่ระลึกที่ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประโยชน์ใช้สอย ไม่ต่างจากราคาแผ่นเสียงในสมัยนี้

คอมพิวเตอร์ถูกนำเข้ามาใช้ในการศึกษาอย่างรวดเร็วในช่วงห้าปีที่ผ่านมา นับแต่ผมเรียนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มา ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดให้มีงานใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่ววิทยาเขตบางเขนฟรี และผมก็เป็นคนแรกๆ ที่วิ่งไปซื้อการ์ด WiFi มาใช้งานกับมัน ในช่วงเวลาสามปีต่อมา จำนวนคอมพิวเตอร์ที่ถูกใช้งานในพื้นที่มหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด พร้อมๆ กับสัดส่วนงานที่ต้องส่งเป็นกระดาษที่น้อยลงอย่างรวดเร็ว

โลโก้โครงการ One Laptop Per Child

โครงการ OLPC จึงเป็นหนึ่งในความพยายามที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง ด้วยการให้เด็กทุกคนเข้าถึงโน้ตบุ๊กเป็นส่วนตัวแบบหนึ่งคนต่อหนึ่งเครื่อง โครงการที่มีการทำทดลองก่อนหน้านี้เช่นโครงการ CREATE ในประเทศคอสตาริกา ที่ทาง Media Lab ก็เป็นผู้เข้าไปบุกเบิกโครงการนี้เช่นกัน ผลที่ได้จากโครงการนี้นอกจากเด็กในโครงการจะสามารถเรียนรู้จากเนื้อหาที่เกินกว่าหลักสูตรกำหนดไว้ได้แล้ว ยังมีผลให้เด็กสามารถเรียนรู้ที่จะดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของเขาเอง


โครงการ CREATE

โครงการ CREATE เป็นแสดงถึงศักยภาพในการพัฒนาการเรียนรู้ที่เด็กรุ่นต่อไปจะได้รับผ่านทางเทคโนโลยีไอซีที และด้วยราคาที่ลดลงอย่างรวดเร็ว การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้อย่างทั่วถึงในระดับชาติไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป แต่การนำคอมพิวเตอร์ในท้องตลาดไปใช้งานเพื่อการศึกษาอย่างกว้างขวางนั้นยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อจำกัดในหลายๆ ประเด็นเช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนหมายถึงการเดินสายไฟที่มีค่าใช้จ่ายสูง แม้จะมีแบตเตอรี่ในตัวโน้ตบุ๊กเองก็มักจะไม่สามารถทำได้ได้นานเกิน 4 ชั่วโมงซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งานในการเรียนตลอดวัน


Mary Lou Japsen หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี โครงการ OLPC

เครื่อง CM ที่ทางโครงการ OLPC จึงมุ่งออกแบบเพื่อสร้างเครื่องโน้ตบุ๊กที่ตรงกับความต้องการกับการใช้งานเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ ความต้องการนี้ถูกตีกรอบอย่างกว้างๆ โดย Mary Lou Japsen หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีของโครงการ OLPC ถึงคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อการศึกษาไว้ 5 ข้อดังนี้

  1. คอมพิวเตอร์นั้นต้องใช้พลังงานให้น้อยที่สุด โดยมีเป้าหมายที่ระดับ 2 – 3 วัตต์ (เทียบกับโน้ตบุ๊กทั่วไปที่ต้องการพลังงาน มากกว่า 60 วัตต์)
  2. ค่าใช้จ่ายในการผลิตถูกที่สุด เป้าหมายอยู่ 100 ดอลลาร์ต่อเครื่อง เมื่อสั่งครั้งละหนึ่งล้านเครื่อง (
  3. สวยงาม ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้
  4. อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้โดยกินพลังงานต่ำมาก
  5. ติดตั้งซอฟต์แวร์พื้นฐานเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส และซอฟต์แวร์เสรี

ผลจากการออกแบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้นทำให้โครงการ OLPC ได้เครื่อง CM1 ออกมา ซึ่งแม้ในหลายส่วนจะยังไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ แต่ก็นับว่าใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองแนวทางการพัฒนาเครื่องโน้ตบุ๊กเพื่องานธุรกิจโดยทั่วไป ที่มีแนวทางการพัฒนาที่ต่างออกไปเช่น จอกระจกที่ไม่เหมาะกับการอ่านหนังสือ หรือการ์ดจอความแรงสูงที่ไม่จำเป็นต่อการเรียน ตลอดจนระบบไร้สายความเร็วสูงที่กินพลังงงานเป็นอย่างมาก คอมพิวเตอร์ที่โครงการ OLPC พยายามนำเสนอจึงไม่ใช่คอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่เป็นคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการใช้เพื่อการศึกษา

The Children’s Machine
Manufacturer Quanta Computers
Type Laptop
Connectivity 802.11b wireless LAN
Operating System Fedora Core-based
Camera built-in video camera (640×480; 30 FPS)
Media 512 MiB – 1 GiB flash memory
Input Keyboard

Touchpad

microphone

Power NiMH battery pack
CPU AMD Geode [email protected] + 5536
Memory 128 MiB DRAM
Display dual-mode 19.3 cm diagonal TFT LCD 1200×900

เสปคเครื่อง CM1

นอกจากจะเป็นการรวมตัวของการออกแบบที่เหมาะกับการศึกษาเป็นพิเศษแล้ว โครงการ OLPC ยังตัดสินใจว่าซอฟต์แวร์เกือบทั้งหมดในเครื่อง CM1 จะเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เพื่อให้ค่าใช้จ่ายลดลงในระยะยาว เช่นตัวระบบปฎิบัติการเองนั้นเป็นลินุกซ์จากทางค่าย Redhat หนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของโครงการ  ภาษาหลักที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คือภาษา Python ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูงจากโลกโอเพนซอร์ส และความที่โครงการนี้ใช้ซอฟต์แวร์ ทำให้ระหว่างการพัฒนา เราสามารถนำระบบปฎิบัติการ และซอฟต์แวร์ใน OLPC นี้มาลองเล่น และพัฒนาเพิ่มเติมได้เอง

ผมยังจำได้ถึงยุคเริ่มต้นของฟอร์แมต mp3 ว่ามันช่างลำบาก ด้วยเครื่อง 486SX ในบ่้านในตอนนั้น แค่จะลุ้นว่าให้ตลอดเพลงสามารถฟังได้โดยไม่มีกระตุก ก็ต้องพยายามปิดโปรแกรมที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปให้หมด พร้อมคอนฟิกโน่นนี่อีกสารพัด อีกทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์สเปคนั้นก็มีราคาสูงจนไม่ใช่ทางเลือกสำหรับความบันเทิงในบ้าน แต่ในวันนี้เอง พี่น้องผมทุกคนล้วนมีเครื่องเล่น mp3 ประจำตัว ทุกคนใช้งานเป็นของพื้นฐานที่เข้าถึงได้โดยง่าย ราคาเครื่องไม่แพงเกินไป มีความตรงไปตรงมาในการใช้งานเพียงพอที่จะไม่ต้องการการเรียนรู้เพิ่มเติมแต่อย่างใด
ผมมองว่าเครื่อง CM1 กับโน๊ตบุ๊กทั่วไป ก้เหมือนกับสมัยที่ผมใช้คอมพิวเตอร์เพื่อฟังเพลง แม้คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะตอบสนองความต้องการด้านการศึกษาได้ แต่โดยความเป็นจริงแล้วการบำรุงรักษาที่ลำบาก การใช้งานที่ซับซ้อน ตลอดจนการใช้งานในบางส่วนเช่นอายุแบตเตอรี่ที่ต่ำ ทำให้มีความไม่เหมาะสมหลายประการ ขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปนั้นถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ทุกอย่าง แต่เคร่ื่องเล่น mp3 นั้นถูกออกแบบมาเพื่อความบันเทิงโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับเครื่อง CM1 ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ

powered by performancing firefox

 

lewcpe

CTO at MFEC PLC. Chief Editor at Blognone.com

 

4 thoughts on “่OLPC ตอนที่ 2: ความเปลี่ยนแปลง

  1. ถ้าเค้าพัฒนาให้ได้ขนาดที่ว่า labtop นั้นใช้พลังงานน้อยลง
    พกพาง่าย ดูแลรักษาง่าย
    และจุดมุ่งหมายในการใช้ชัดเจนเหมือนเครื่องเ่ล่น mp3 ล่ะก็
    ยิ่งสมัยนี้ mp3 ยิ่งราคาถูกลงทุกทีๆ

    นัทเชื่อว่า อีกไม่นาน มนุษย์โลกจะใช้กระดาษน้อยลง
    (แต่จะหยุดถางป่ารึป่าว ?)
    และเด็กๆ ก็จะมีหนังสือเรียนอิเล็คทรอนิคส์

    อยากอยู่ให้ถึงยุคนั้นจังเลย

  2. nath – ถึงยุคนั้นเมื่อใหร่ จะเจอสั่งการบ้าน ส่งภายใน 8.30 ห้ามช้าไปแม้แต่วินาทีเดียวอะไรอย่างนั้นแล้วจะหนาว……

  3. ผมว่ามันก็ดี แล้วทำไมรัฐไม่ชอบล่ะเนี่ย
    หรือรัฐต้องการคอมพิวเตอร์ ที่ให้เด็กไว้ทำรายงานอย่างเดียว?

    ที่ญี่ปุ่นใช้เครื่องอ่านหนังสือเอิเล็กทรอนิกซ์กันแล้ว
    ถึงจะไม่เกลื่อนกลาดมากนัก แต่ก็มี ต่อไปจะได้มีต้นไม้เยอะขึ้น หรือเปล่า?
    ป.ล.ผมลงคอมเมนท์เว็บพี่หลายครั้งแล้ว แต่เพิ่งมาตามดูแล้วเห็นว่า มันไม่ขึ้นเลยครับ?

  4. อ๊ะ! ผมรู้แล้วทำไม มันต้องกดสองครั้งหรือครับเนี่ย…T_T
    พี่ลิ่วลบความเห็นนี้ไป ก็ได้นะครับ…เศร้า โง่มาตั้งนาน

Comments are closed.