ถ้าใครเป็นนักฟังเพลงมาเป็นเวลานานๆ หน่อยคงจะรู้ได้ว่าช่วงเวลาไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา โลกแห่งเสียงเพลงก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ นับแต่เอดิสันได้ประดิษฐ์แผ่นเสียงขึ้นมา ปฏิวัติขีดจำกัดที่ว่าการฟังเพลงคือการแสดงสดให้กลายเป็นความบันเทิงในบ้าน โลกก้าวหน้าไปอีกขึ้นด้วยเทปคาสเซ็ทที่สร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับโลกในชื่อว่า Walkman แต่ทุกอย่างก็ถูกพลักผันไปอีกครั้ง ด้วยการเข้ามาของโลกดิจิตอล สื่อดิจิตอลคุณภาพสูงที่แทบจะไม่มีความแจกต่างจากต้นฉบับสามารถถูกทำซ้ำได้ในปริมาณเท่าที่ต้องการ โดยต้นทุนเฉลี่ยต่อชิ้นที่ต่ำสนิท เทคโนโลยี MP3 ถูกสร้างขึ้นมาตอกย้ำเส้นทางความเปลี่ยนแปลงนี้อีกครั้ง ด้วยเทคโนโลยีที่แต่เดิมถูกสร้างขึ้นมาเพื่องานภาพยนตร์ แต่ด้วยคุณภาพที่ยอมรับได้และขนาดไฟล์ที่เล็กอย่างไม่น่าเชื่อ ทำให้เทคโนโลยีเอ็มพีสามเร่งความเร็วโลกดนตรีดิจิตอลไปด้วยความเร็วเกินกว่าคนเมื่อสิบห้าปีก่อนจะฝันถึง
โลกการศึกษานั้นก็ไม่ต่างกัน เมื่อในสมัยหนึ่งเราเคยให้นักเรียนถือกระดานชนวนคนละแผ่นไปเรียนหนังสือกัน แม้กระดานชนวนนั้นจะมีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างดี ราคาถูก และทนทาน แต่เมื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นสมุดเรียนถูกพัฒนาขึ้นให้ถูกพอที่จะนำมาใช้งาน ในวันนี้คงไม่มีใครถือกระดานชนวนไปเรียนหนังสือกันอีกต่อไป น่าแปลกที่กระดานชนวนในยุคนี้นั้นกลายเป็นของสะสมและของที่ระลึกที่ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประโยชน์ใช้สอย ไม่ต่างจากราคาแผ่นเสียงในสมัยนี้
คอมพิวเตอร์ถูกนำเข้ามาใช้ในการศึกษาอย่างรวดเร็วในช่วงห้าปีที่ผ่านมา นับแต่ผมเรียนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มา ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดให้มีงานใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่ววิทยาเขตบางเขนฟรี และผมก็เป็นคนแรกๆ ที่วิ่งไปซื้อการ์ด WiFi มาใช้งานกับมัน ในช่วงเวลาสามปีต่อมา จำนวนคอมพิวเตอร์ที่ถูกใช้งานในพื้นที่มหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด พร้อมๆ กับสัดส่วนงานที่ต้องส่งเป็นกระดาษที่น้อยลงอย่างรวดเร็ว
โลโก้โครงการ One Laptop Per Child
โครงการ OLPC จึงเป็นหนึ่งในความพยายามที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง ด้วยการให้เด็กทุกคนเข้าถึงโน้ตบุ๊กเป็นส่วนตัวแบบหนึ่งคนต่อหนึ่งเครื่อง โครงการที่มีการทำทดลองก่อนหน้านี้เช่นโครงการ CREATE ในประเทศคอสตาริกา ที่ทาง Media Lab ก็เป็นผู้เข้าไปบุกเบิกโครงการนี้เช่นกัน ผลที่ได้จากโครงการนี้นอกจากเด็กในโครงการจะสามารถเรียนรู้จากเนื้อหาที่เกินกว่าหลักสูตรกำหนดไว้ได้แล้ว ยังมีผลให้เด็กสามารถเรียนรู้ที่จะดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของเขาเอง
โครงการ CREATE
โครงการ CREATE เป็นแสดงถึงศักยภาพในการพัฒนาการเรียนรู้ที่เด็กรุ่นต่อไปจะได้รับผ่านทางเทคโนโลยีไอซีที และด้วยราคาที่ลดลงอย่างรวดเร็ว การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้อย่างทั่วถึงในระดับชาติไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป แต่การนำคอมพิวเตอร์ในท้องตลาดไปใช้งานเพื่อการศึกษาอย่างกว้างขวางนั้นยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อจำกัดในหลายๆ ประเด็นเช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนหมายถึงการเดินสายไฟที่มีค่าใช้จ่ายสูง แม้จะมีแบตเตอรี่ในตัวโน้ตบุ๊กเองก็มักจะไม่สามารถทำได้ได้นานเกิน 4 ชั่วโมงซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งานในการเรียนตลอดวัน
Mary Lou Japsen หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี โครงการ OLPC
เครื่อง CM ที่ทางโครงการ OLPC จึงมุ่งออกแบบเพื่อสร้างเครื่องโน้ตบุ๊กที่ตรงกับความต้องการกับการใช้งานเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ ความต้องการนี้ถูกตีกรอบอย่างกว้างๆ โดย Mary Lou Japsen หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีของโครงการ OLPC ถึงคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อการศึกษาไว้ 5 ข้อดังนี้
- คอมพิวเตอร์นั้นต้องใช้พลังงานให้น้อยที่สุด โดยมีเป้าหมายที่ระดับ 2 – 3 วัตต์ (เทียบกับโน้ตบุ๊กทั่วไปที่ต้องการพลังงาน มากกว่า 60 วัตต์)
- ค่าใช้จ่ายในการผลิตถูกที่สุด เป้าหมายอยู่ 100 ดอลลาร์ต่อเครื่อง เมื่อสั่งครั้งละหนึ่งล้านเครื่อง (
- สวยงาม ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้
- อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้โดยกินพลังงานต่ำมาก
- ติดตั้งซอฟต์แวร์พื้นฐานเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส และซอฟต์แวร์เสรี
ผลจากการออกแบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้นทำให้โครงการ OLPC ได้เครื่อง CM1 ออกมา ซึ่งแม้ในหลายส่วนจะยังไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ แต่ก็นับว่าใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองแนวทางการพัฒนาเครื่องโน้ตบุ๊กเพื่องานธุรกิจโดยทั่วไป ที่มีแนวทางการพัฒนาที่ต่างออกไปเช่น จอกระจกที่ไม่เหมาะกับการอ่านหนังสือ หรือการ์ดจอความแรงสูงที่ไม่จำเป็นต่อการเรียน ตลอดจนระบบไร้สายความเร็วสูงที่กินพลังงงานเป็นอย่างมาก คอมพิวเตอร์ที่โครงการ OLPC พยายามนำเสนอจึงไม่ใช่คอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่เป็นคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการใช้เพื่อการศึกษา
The Children’s Machine | |
Manufacturer | Quanta Computers |
---|---|
Type | Laptop |
Connectivity | 802.11b wireless LAN |
Operating System | Fedora Core-based |
Camera | built-in video camera (640×480; 30 FPS) |
Media | 512 MiB – 1 GiB flash memory |
Input | Keyboard
microphone |
Power | NiMH battery pack |
CPU | AMD Geode [email protected] + 5536 |
Memory | 128 MiB DRAM |
Display | dual-mode 19.3 cm diagonal TFT LCD 1200×900 |
เสปคเครื่อง CM1
นอกจากจะเป็นการรวมตัวของการออกแบบที่เหมาะกับการศึกษาเป็นพิเศษแล้ว โครงการ OLPC ยังตัดสินใจว่าซอฟต์แวร์เกือบทั้งหมดในเครื่อง CM1 จะเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เพื่อให้ค่าใช้จ่ายลดลงในระยะยาว เช่นตัวระบบปฎิบัติการเองนั้นเป็นลินุกซ์จากทางค่าย Redhat หนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของโครงการ ภาษาหลักที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คือภาษา Python ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูงจากโลกโอเพนซอร์ส และความที่โครงการนี้ใช้ซอฟต์แวร์ ทำให้ระหว่างการพัฒนา เราสามารถนำระบบปฎิบัติการ และซอฟต์แวร์ใน OLPC นี้มาลองเล่น และพัฒนาเพิ่มเติมได้เอง
ผมยังจำได้ถึงยุคเริ่มต้นของฟอร์แมต mp3 ว่ามันช่างลำบาก ด้วยเครื่อง 486SX ในบ่้านในตอนนั้น แค่จะลุ้นว่าให้ตลอดเพลงสามารถฟังได้โดยไม่มีกระตุก ก็ต้องพยายามปิดโปรแกรมที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปให้หมด พร้อมคอนฟิกโน่นนี่อีกสารพัด อีกทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์สเปคนั้นก็มีราคาสูงจนไม่ใช่ทางเลือกสำหรับความบันเทิงในบ้าน แต่ในวันนี้เอง พี่น้องผมทุกคนล้วนมีเครื่องเล่น mp3 ประจำตัว ทุกคนใช้งานเป็นของพื้นฐานที่เข้าถึงได้โดยง่าย ราคาเครื่องไม่แพงเกินไป มีความตรงไปตรงมาในการใช้งานเพียงพอที่จะไม่ต้องการการเรียนรู้เพิ่มเติมแต่อย่างใด
ผมมองว่าเครื่อง CM1 กับโน๊ตบุ๊กทั่วไป ก้เหมือนกับสมัยที่ผมใช้คอมพิวเตอร์เพื่อฟังเพลง แม้คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะตอบสนองความต้องการด้านการศึกษาได้ แต่โดยความเป็นจริงแล้วการบำรุงรักษาที่ลำบาก การใช้งานที่ซับซ้อน ตลอดจนการใช้งานในบางส่วนเช่นอายุแบตเตอรี่ที่ต่ำ ทำให้มีความไม่เหมาะสมหลายประการ ขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปนั้นถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ทุกอย่าง แต่เคร่ื่องเล่น mp3 นั้นถูกออกแบบมาเพื่อความบันเทิงโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับเครื่อง CM1 ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ
powered by performancing firefox
ถ้าเค้าพัฒนาให้ได้ขนาดที่ว่า labtop นั้นใช้พลังงานน้อยลง
พกพาง่าย ดูแลรักษาง่าย
และจุดมุ่งหมายในการใช้ชัดเจนเหมือนเครื่องเ่ล่น mp3 ล่ะก็
ยิ่งสมัยนี้ mp3 ยิ่งราคาถูกลงทุกทีๆ
นัทเชื่อว่า อีกไม่นาน มนุษย์โลกจะใช้กระดาษน้อยลง
(แต่จะหยุดถางป่ารึป่าว ?)
และเด็กๆ ก็จะมีหนังสือเรียนอิเล็คทรอนิคส์
อยากอยู่ให้ถึงยุคนั้นจังเลย
nath – ถึงยุคนั้นเมื่อใหร่ จะเจอสั่งการบ้าน ส่งภายใน 8.30 ห้ามช้าไปแม้แต่วินาทีเดียวอะไรอย่างนั้นแล้วจะหนาว……
ผมว่ามันก็ดี แล้วทำไมรัฐไม่ชอบล่ะเนี่ย
หรือรัฐต้องการคอมพิวเตอร์ ที่ให้เด็กไว้ทำรายงานอย่างเดียว?
ที่ญี่ปุ่นใช้เครื่องอ่านหนังสือเอิเล็กทรอนิกซ์กันแล้ว
ถึงจะไม่เกลื่อนกลาดมากนัก แต่ก็มี ต่อไปจะได้มีต้นไม้เยอะขึ้น หรือเปล่า?
ป.ล.ผมลงคอมเมนท์เว็บพี่หลายครั้งแล้ว แต่เพิ่งมาตามดูแล้วเห็นว่า มันไม่ขึ้นเลยครับ?
อ๊ะ! ผมรู้แล้วทำไม มันต้องกดสองครั้งหรือครับเนี่ย…T_T
พี่ลิ่วลบความเห็นนี้ไป ก็ได้นะครับ…เศร้า โง่มาตั้งนาน