หลังจากอ่านหนังสือความยาว 900 หน้าจบในสี่วันแล้วพบว่าคิดถูกที่เลือกซื้อหนังสือเล่มนี้
บทสรุปง่ายๆ สำหรับหนังสือเรื่อง Memoir of Geisha ที่แตกต่างจากหนังนั้น อาจจะบอกได้ว่า ขณะที่หนังสือพยายามธิบายวัฒนธรรมของญี่ปุ่นให้ชาวตะวันตกเข้าใจ ตัวหนังนั้นพยายามปรับวัฒนธรรมญี่ปุ่นให้เข้ากับวัฒนธรรมตะวันตก
โดยเฉพาะในเรื่องเพศ แน่นอนหนังสือเรื่องเกอิชาจะหนีเรื่องเพศไปได้อย่างไรกัน
[ต่อไปนี้สปอยแหลก!!!]
ขณะที่ตัวภาพยนตร์นั้นยอมรับเพียงพิธีมิสึอาเงะ (พิธีเปิดบริสุทธิ์สาวพรหมจรรย์) ตัวหนังสือกลับสะท้อนวัฒธรรมของญี่ปุ่นในตอนนั้นได้ค่อนข้างชัดเจน
ผมเคยอ่านจากที่ไหนสักที่ระบุว่า เรื่องเพศนั้นไม่เรื่องน่ารังเกียจสำหรับวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาแต่ไหนแต่ไร แต่ผมเองก็ไม่เคยเข้าใจมันซักทีจนได้มาอ่านหนังสือเล่มนี้
ขณะที่ในตัวภาพยนตร์นั้นพยายามออกตัวว่าพิธีมิสึอาเงะนั้นเป็นกรณียกเว้นเป็นพิเศษ ที่ผู้ชายที่หลงรักสาวสักคนจะยังคงยอมรับเธออยู่แม้จะผ่านพิธีนี้ไปแล้ว เรื่องราวในหนังสือลงลึกกว่านั้นด้วยการบอกเล่าถึงการยอมรับได้ของคนญี่ปุ่นที่แม้หญิงสาวนั้นจะผ่านกระทั่งการมีดันนะ (เสี่ยเลี้ยง) เป็นของตัวเอง
แม้ในเรื่องคุณโนบุจะแสดงท่าทีโกรธตลอดเวลา ความโกรธที่แสดงออกมาไม่ใช่เพราะซายูรินั้นผ่านชายอื่นมาหลายคน แต่หากเป็นเพราะหนึ่งในนั้นไม่มีคุณโนบุอยู่ด้วยต่างหาก
ด้านความรู้สึกของซายูรินั้นเล่า กลับไม่ได้แสดงความรู้สึกผิดอะไรที่เธอต้องผ่านชายหลายคน กว่าจะได้พบท่านประธานในตอนท้ายของเรื่อง
เรื่องพวกนี้ในภาพยนตร์นั้นโดนตัดออกเสียหมด ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอะไรเพราะมาตรฐานตะวันตกนั้นคงแพร่กระจายไปทั่วโลก การแสดงเนื้อเรื่องตามหนังสือแล้วหวังให้คนเข้าใจทั้งหมดในเวลาไม่ถึงสองชั่วโมงจึงเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้
แต่เรื่องหนึ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้คือแนวคิดที่คนญี่ปุ่นยกย่อง “ศิลปิน” อย่างเต็มที่ในทุกๆ แขนง เราได้พบกับศิลปินในแขนงอื่นๆ นอกจากเกอิชา เช่นจิตรกร นักแสดง ช่างทำกิโมโน ฯลฯ อีกมากมาย
ความรักในวัฒนธรรมของตัวเองที่เหนียวแน่นเช่นนี้ ผมก็ยังคงไม่เข้าใจว่าเป็นไปได้อย่างไร ที่กระทั่งทุกวันนี้ก็ยังมีเกอิชาอยู่นับหมื่นคนในญี่ปุ่น
มันคงจะดีหากเราจะเรียนรู้ที่จะรักษาตัวตนของตัวเองเช่นนั้นบ้าง
ปล. หาพนังสือเรื่อง “ฟ้าจรดทราย” มาอ่านไม่ได้เลยแฮะ
มันก็ไม่เชิง “พยายามอธิบายวัฒนธรรมญี่ปุ่นให้ชาวตะวันตกเข้าใจ” หรอกนะ แต่เราว่ามันเป็น “การมองวัฒนธรรมญี่ปุ่นด้วยสายตาชาวตะวันตก” มากกว่า
ถ้าไม่นับว่าเค้าพยายามบรรยายวัฒนธรรมญี่ปุ่นออกมาล่ะก็ เราว่าอารมณ์แบบญี่ปุ่นมันหายไปเยอะแล้วก่อนตั้งแต่ในหนังสือนั่นแหละ เพราะเล่มนี้เขียนออกมาแนวอเมริกันมากๆ ถ้าคนญี่ปุ่นในเรื่องเป็นคนเขียนจริงๆเรื่องคงไม่เหมือนกันเลย…
ปล. อ่านเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนยังอยู่อเมริกา เริ่มอ่านตั้ง 3 รอบแน่ะกว่าจะทนจนจบได้ ^^;;