สืบเนื่องจากน้องนัทมารายงานข่าวมารายงานข่าวว่า ที่มหาวิทยาลัยของน้องเค้าโดนสั่งห้ามว๊ากเป็นการถาวรไปแล้ว เลยมาให้ช่วยคิดกิจกรรมใหม่ๆ ไปเสนอกัน อันนี้เป็นกึ่งๆ ความรับผิดชอบเพราะไปปะทะคารมกับน้องเค้าไว้ตั้งแต่ปีก่อน
แนวคิดหลักๆ ของผมที่มีต่อการรับน้องก่อนแล้วกัน แนวคิดพวกนี้ตกตะกอนมาจากแนวคิดก่อนๆ หน้า
- มันไม่จำเป็นต้องเหมือนเดิม ไม่มีอะไรคงอยู่ในรูปแบบเดิมได้ตลอดไป แนวคิดและจุดมุ่งหมายอาจจะคงเดิม แต่การทำอย่างเดิมๆ คือหนทางแห่งหายนะ (ที่มา)
- มันเป็นงาน ถ้าจะทำ มันคืองานที่ต้องรับผิดชอบ งานที่อาจจะล้มเหลวได้ งานที่มีโอกาสไม่ดีได้ และมีโอกาสประสบความสำเร็จอย่างเกินคาดได้ ไม่ควรมีใครต้องแบกรับผลทั้งหมดของมันไว้ตามลำพัง ไม่ว่าจะเป็นรุ่นพี่ รุ่้นน้อง หรือใครก็ตามที (ที่มา)
- มันต้องแสดงความรับผิดชอบของผู้ทำเป็นอย่างดี หมดยุคของการโอดโอย โทษฟ้าโทษฝนถึงผลที่ตามมา แม้จะเป็นผลที่คาดเดาได้เสมอๆ
- ยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล รถฮอนด้าพันคันออกมาจากโรงงานเดียวกัน บ้านผมมีสองสามคันดีหมด ยังมีคันนึงออกมาให้คุณเดือนเพ็ญไปทุบจนเป็นข่าวไปทั่วโลก ดังนั้นอย่าคาดหวังว่าทุกๆ คนจะเหมือนกัน และโดยเฉพาะอย่าไปตัดสินว่าความแตกต่างนั้นเป็นความผิดเสมอ (3 กับ 4 นี่อันเดียวกัน)
แนวคิดอะไรประมาณนี้จะทำให้เกิดกิจกรรมเดียว ที่ทุกคนในมหาวิทยาลัยทำร่วมกันได้นี่เป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้ดี “ในภาพรวม” ได้ ยิ่งเราต้องคิดถึงแนวคิดข้อ 4 ในเรื่องความแตกต่างเข้าไปด้วยแล้ว แต่เท่าที่ลองนึกๆ ดูก็มี
- งานแฟร์ แทบทุกมหาวิทยาลัยมีงานแฟร์กันอยู่แล้ว ดีกรีความน่าสนใจต่างกันไป อย่างที่ผมชื่นชมมากๆ ก็เช่น ม.บางมด ถ้าทำให้งานแฟร์ในมหาวิทยาลัยเป็นงานที่คน “ส่วนใหญ่” มีส่วนร่วมได้ จะเป็นเรื่องดีมากๆ เพราะแบ่งส่วนได้ตั้งแต่วิชาการเต็มเหนี่ยวไปจนถึงบันเทิง (ต้องคุมสัดส่วนดีๆ ไม่งั้นเละ)
- ผมเคยพูดถึงวิชาสมมติ ที่ให้รุ่นพี่มีส่วนร่วมสูงๆ (อยู่ในบล็อกนี่ล่ะ แต่หาไม่เจอ) อย่างวิศวะก็เป็น Introduction to Engineering ให้ทำงานกลุ่ม รุ่นพี่มีส่วนร่วมมากๆ TA อาจจะอยู่ในระดับ 1 ต่อ 5 ทำงานกลุ่ม โปรเจคไม่ยากเกินไป แต่อาศัยความร่วมมือสูงๆ อย่างลองสร้างบ้านจำลอง, สร้าง GRID Computing จากซากคอม (ยากไปป่าวว่ะ?), เครื่องบินบังคับวิทยุ จากไม่บัลซาร์กับรถกระป๋อง ฯลฯ
- จัดติว อันนี้คงมีกันทุกมหาวิทยาลัย แต่คนมีส่วนร่วมอย่างมากๆ คงไม่เกิน 50 คน มากกว่านี้คงจัดการกันลำบาก
- เข้าค่าย เป็นกิจกรรมที่น่าจะดูเข้าท่าที่สุด แนวคิดคือจุดมุ่งหมายง่ายๆ ประสบความสำเร็จโดยเร็ว จะได้กลับบ้านไปอ่านหนังสือ อย่างเช่นไปปลูกป่าปีละิสิบไร่ ปักป้ายไว้ว่ารุ่นไหนก็คงเข้าท่า หรือไปดำนากันรุ่นละยี่สิบแปลง (ดำอย่างเดียว ให้ชาวนาดูแลต่อ) ถึงเวลากลับไปเกี่ยวมาหุงกิน จะได้รู้รสชาติ อันนี้อยากทำเองมานานแล้ว
แนวคิดพวกนี้ เอาเข้าจริงแล้ว มันก็แค่การสมมติในหัว และเขียนอธิบายอยู่ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ สุดท้ายแล้วการเปลี่ยนแปลงคงต้องเจอความเจ็บปวดกันไม่น้อยจากการล้มลุกคลุกคลานของการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การเจ็บปวดในวันนี้ ก็เป็นการลดความปวด หากต้องเจอความเปลีั่ยนแปลงในวันพรุ่งนี้เสมอๆ
Now is better than never.
Although never is often better than *right* now.
The Zen of Python
ขอบคุณมากเลยค่ะพี่ลิ่ว
ที่ตรงใจนัท นัทอยากได้ข้อ 2 กับ ข้อ 4 นะ
น่าสนุกดี
ส่วนเรื่องติว มหาลัยนัทมีอยู่แล้ว
แล้วก็ข้อ 1 นัทคิดว่ามันธรรมดาไปหน่อย
ขอบคุณมากอีกทีนะคะ
ไม่ได้เข้ามาอ่านนาน บล็อกเปลี่ยนไป
แต่ปกตินัทอ่านก็ไม่ค่อยคอมเมนท์เท่าไหร่แหะๆ
:)
ไว้จบงานเฟสที่ทำอยู่ คงมีเวลามาอ่านมากขึ้นค่ะ
ปีที่แล้ว ผมก็ไปแจม ต้องมาช่วยคิดด้วยมั๊ยเนี่ย