อย่างมงายในวิทยาศาสตร์

เพิ่งอ่านเล่มนี้จบแล้วเจอเคส “แชร์วิทยาศาสตร์เทียม” พอดี ว่าจะดองรีวิวเลยไม่ดองดีกว่า

Pandora’s Lab เป็นหนังสือประวัติศาสตร์แห่งวิทยาศาตร์อีกเล่ม แต่มันพูดถึงกรณี “Science gone wrong” วิทยาศาสตร์ถูกนำไปใช้อย่างผิดๆ สร้างความเสียหาย ทำลายชีวิต เริ่มตั้งแต่เคสคลาสสิคอย่าง ยาเสพติดเช่นเฮโรอีนที่เคยถูกใช้เป็นยาแบบไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์, การผ่ากลีบสมอง (lobotomy), ไปจนถึงการคัดเลือกสายพันธุ์ของมนุษยชาติที่นำไปสู่กระบวนการ Eugenics และการฆ่าล้างเผ่าพันธ์

มีกรณีอื่นๆ ในหนังสืออีก แต่ประเด็นในหนังสือคือ “อย่างมงายในวิทยาศาตร์” หนังสือบอกเล่าถึงความผิดพลาดในการเชื่อถือข้อมูลที่ “ดูเป็นวิทยาศาสตร์” และถูกนำมาประยุกต์ใช้งานจริงเพื่อที่จะพบว่ามันเป็นวิทยาศาสตร์เทียมหรือเป็นข้อมูลเท็จ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เรื่องราวมักซ้ำไปมา เช่น ความเชื่อเริ่มต้นไร้ข้อมูลสนับสนุน, คนเผยแพร่เป็นนักวิทยาศาตร์ดังแต่ไม่ได้ทำงานวิจัยพิสูจน์ความเชื่อที่ตัวเองเผยแพร่จริง, หรือกระทั่งงานวิจัยที่แสดงผลได้เพียงครั้งเดียวและได้ตีพิมพ์ในวารสารดัง แต่คนอื่นทำซ้ำอีกไม่ได้

ช่วงท้ายของหนังสือวิเคราะห์ถึงอาการเป๋ ของนักวิทยาศาสตร์ดัง ที่หลายต่อหลายคนเข้าป่า เผยแพร่ความเชื่อผิดๆ จนเป็นบาดแผลต่อชื่อเสียงที่สร้างมา ว่าคนเหล่านี้บางทีก็ถูกมาตลอดจนยอมรับว่าตัวเองเชื่อผิดไม่ได้, หรือบางคนก็อยากค้นพบสิ่งยิ่งใหญ่เพื่อกลับมาดังอีกครั้ง

ความดังไม่มีผล ความเทพของงานวิจัยไม่มีผล วิทยาศาตร์ต้องพิสูจน์ได้ มีข้อมูล-กระบวนการ คนภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเดิมทำซ้ำได้

ไม่ว่าคน/รายงานวิจัย/วารสาร จะเทพแค่ไหน ก็อย่าบูชา และอย่างมงาย

 

lewcpe

CTO at MFEC PLC. Chief Editor at Blognone.com