Anyone who slaps a ‘this page is best viewed with Browser X’ label on a Web page appears to be yearning for the bad old days, before the Web, when you had very little chance of reading a document written on another computer, another word processor, or another network.
Sir Timothy “Tim” John Berners-Lee
ทำไมเราต้องสนใจว่าเว็บของเราจะดูได้ในบราวเซอร์อื่นๆ นอกจาก IE หรือไม่ มันอาจจะเป็นคำถามที่ที่เรามองไม่เห็นคำตอบในวันนี้ เพราะเรายังไม่ไ้ด้รับบทเรียนอันน่าเจ็บปวดจากความสูญเสียข้อมูลมหาศาล
ลองนึกสภาพว่าหากวันพรุ่งนี้ไฟล์ .doc ทั้งหมดในเครื่องของคุณจะไม่สามารถเปิดได้ เพราะไมโครซอฟท์เจ๊งไป หรือตัดสินใจหยุดการพัฒนาเวอร์ชั่นภาษาไทย
ตลอดกว่า 20 ปี โลกคอมพิวเตอร์ต้องเรียนรู้ว่าการเป็นหมายเลขหนึ่งไม่ได้หมายถึงการอยู่ค้ำฟ้า ประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์แสดงให้เราเห็นว่าหมายเลขหนึ่งที่ตายไปตลอดการเดินทาง ที่ไม่ได้ยาวนานเท่าใหร่นี้ เป็นเหตุผลที่ดีที่เราจะระวังว่าข้อมูลของเราจะยังคงอยู่ และใช้งานได้ แม้ผู้ผลิตรายใดอาจจะถอนตัวออกไปจากตลาด
เว็บเองก็เช่นเดียวกัน กับข้อมูลอื่นๆ ของคุณ
แล้วท่านลิ่วมีวิธีเก็บข้มูลที่สำคัญๆ สุดๆ ยังไงบ้างหรอ ที่เรารู้ก็แค่ไรท์ลงแผ่นซีดี ..
แนวคิดของลิ่ว ไม่จำกัดแค่การเก็บข้อมูลครับ แต่รวมถึงวิธีการอ่านข้อมูลด้วย จะมีประโยชน์อะไรที่เก็บเอกสารที่เป็น .doc ไว้ได้อย่างปลอดภัยแต่ไม่มี MS WORD ไว้อ่านมัน
หลักการคือ ไม่ผูกมัดตัวเองกับเทคโนโลยีของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่เลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐาน เพื่อเป็นการรับประกันว่า อย่างไรก็ตาม แม้ MSจะเจ๊ง กูเกิ้ลจะวินาศ แอ๊ปเปิ้ล จะล้มละลาย ก็ยังมีผู้ผลิตรายอื่นผลิตซอฟแวร์ที่อ่านไฟล์ของคุณได้
ว่าแล้ว ลิ่ว มาอธิบายเรื่อง open document standard กับ w3c ต่อเร็วๆ ขี้เกียจพิมพ์แล้ว(แต่ดันตอบตั้งยาว)