เขื่อนแม่วงก์

ช่วงนี้มีประเด็นเยอะ อ่านๆ ดูแล้วมันกระจายมาก ลองรวบๆ มาอีกที ตัวเลขผมปัดๆ ไปอย่างจงใจให้กลมๆ

ข้อมูลพื้นฐาน

  • อุทยานแห่งชาติแม่วงก์มีพื้นที่ 550,000 ไร่
  • มีหลายอุทยานติดกัน พื้นที่รวมๆ 11 ล้านไร่
  • ตัวเขื่อนที่เสนอ กินพื้นที่ 13,000 ไร่
  • ถ้าเป็นไปตามที่ออกแบบ จะจุน้ำได้ 250 ล้านลบ.ม.
  • เวนคืนที่ดินคลองอีก 11,000 ไร่

เทียบขนาดเขื่อนกับเขื่อนอื่น

ที่มา 1, 2, 3,4

  • เขื่อนศรีนครินทร์ 18,000 ล้านลบ.ม.
  • เขื่อนภูมิพล 13,500 ล้านลบ.ม.
  • เขื่อนสิริกิติ์ 9,500 ล้านลบ.ม.
  • เขื่อนวชิราลงกรณ์ 8,900 ล้านลบ.ม.
  • เขื่อนรัชชประภา 5,600 ล้านลบ.ม.
  • เชื่อนอุบลรัตน์ 2,400 ล้านลบ.ม.
  • เขื่อนสิรินธร 2,000 ล้านลบ.ม.
  • เขื่อนบางลาง 1,400 ล้านลบ.ม.
  • เขื่อนลำปาว 1,400 ล้านลบ.ม.
  • เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 770 ล้านลบ.ม.
  • เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 750 ล้านลบ.ม.
  • เขื่อนแก่งกระจาน 710 ล้านลบ.ม.
  • เขื่อนลำพระเพลิง 320 ล้านลบ.ม.
  • เขื่อนแม่งัด 264 ล้านลบ.ม.
  • เขื่อนขุนด่านประการชล 224 ล้านลบ.ม.
  • เขื่อนน้ำพุง 165 ล้านลบ.ม.
  • เขื่อนห้วยกุ่ม 163 ล้านลบ.ม.

ประเด็นต่อต้าน

ที่มา – 1, 2, 3 (ebook)

  • ป่าน่าจะเสียเกินกว่า 13,000 ไร่ที่ระบุจากการตัดไม้เกินพื้นที่
  • EHIA ทำไม่ผ่านมาแล้วหลายรอบ
  • ป่าที่เสียเป็นพื้นที่ต่ำแหล่งอาหารสัตว์ป่า
  • น้ำใช้จริงไม่ได้เต็ม 250 ล้านลบ.ม. ยกตัวอย่าง เขื่อนทับเสลา 160 ล้านลบ.ม. เก็บอยู่ 42 ล้าน ใช้น้ำได้ 25 ล้าน (อันนี้งงๆ เพราะปกติก็ไม่มีใครเก็บน้ำเต็มปริ่มๆ เขื่อนอยู่แล้ว ยกเว้นตอนน้ำท่วม)
  • แก้ปัญหาน้ำท่วมของลาดยาว (พื้นที่ใกล้เขื่อน) ได้จำกัดเพราะมีทางน้ำอีก 12 ทาง แม่น้ำแม่วงก์เป็นปริมาณน้ำ 10-20%

ข้อเสนอ

  • สร้างฝายขนาดเล็กให้พื้นที่เกษตร 1,000 ไร่
  • จัดการทางน้ำออก ถนนที่กั้นน้ำอยู่
  • ยกตัวอย่าง ตำบลหนองหลวง อุทัยธานี ที่ใช้อ่างเก็บน้ำและฝาย

คำถามต่อข้อเสนอ

อันนี้ผมนึกเอาเอง

  • อุทัยปีนี้ก็น้ำท่วม ต.หนองหลวง วันนี้ก็ท่วมอยู่
  • พื้นที่ป่าที่ราบต่ำมีมากน้อยแค่ไหน จึงเรียกตรงแม่วงก์ว่าเป็นหัวใจ (นับเฉพาะผืนป่าเดียวกันก็เข้าใจได้) ยังไม่มีตัวเลขส่วนนี้
  • รายงานทั้งสองฝั่งเน้น best case/worst case คำถามคือโดยทั่วไปถ้ามองระยะสัก 10-20 ปีแล้ว benefit มีแค่ไหน
 

lewcpe

CTO at MFEC PLC. Chief Editor at Blognone.com