จริยธรรมจอมปลอม

ช่วงสิบปีให้หลัง ผมเห็น “จริยธรรม” ในกระบวนการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เราเห็นคำขวัญต่างๆ ของกระบวนการศึกษาต้องมีคำว่าจริยธรรมห้อยท้ายเอาไว้เหมือนโรงเรียนต้องมีห้องเรียน

บางทีผมก็ไม่เข้าใจว่าคำว่าจริยธรรมในความหมายที่ห้อยท้ายทุกคำขวัญเหล่านี้มีความหมายอย่างไรกัน

จริยธรรมที่พร้อมจะ “ให้อภัย” กับความผิด จริยธรรมที่ปกป้องเด็กที่ผิดอย่างชัดเจนโดยฝันลมๆ แล้งๆ ว่าเขาจะกลับตัวได้สักวันนั้นเป็นจริยธรรมไหม

จริยธรรมที่ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงกฎที่รู้ทั้งรู้ว่าโทษหลายกรณีมันเกินกว่าเหตุ แต่ก็ใช้อำนาจส่วนตัวยกเว้นโทษเหล่านั้นไปเฉยๆ แล้วเราก็กลับมาพร่ำสอนให้เด็กเกรงกลัวในกฎเหล่านั้น พร้อมๆ กับการอภัยที่ยืนยันกับเด็กคนอืนๆ ว่าทำไปเถอะ แล้วจะไม่ต้องรับผลที่ตามมาแต่อย่างใด

บางทีก็นึกถึงเรื่อง “พ่อแม่รังแกฉัน” ว่าใครกันที่เลว ระหว่างคนที่โตมาเลวกับคนที่ไม่เปิดโอกาสให้เด็กรับผลของการกระทำเลว (แม้จะเล็กน้อย) ของตัวเอง

 

lewcpe

CTO at MFEC PLC. Chief Editor at Blognone.com