Security Usability

สมัยผมเรียน มีวิชาหนึ่งต้องล็อกอินเข้าเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำงาน แต่เซิร์ฟเวอร์สามารถส่งข้อความถึงกันเองได้ ทำให้รบกวนเพื่อนตอนทำงานเพราะหน้าจอเต็มไปด้วยข้อความของเพื่อนคนอื่นๆ

อาจารย์สั่งให้ปิดฟีเจอร์รับข้อความนี้เสีย หลายคนเล่นง่ายด้วยการส่งข้อความหาเพื่อนทุกคนแล้วบอกว่า “อย่าส่งข้อความมา”

ความปลอดภัยในโลกความเป็นจริงคงไม่ต่างจากนี้ ผู้ใช้ต้องการใช้งานในรูปแบบที่ตัวเองใช้งานอยู่ โดยไม่ได้สนใจว่ามีวิธีใช้งาน “ที่ควรเป็น” หรือไม่ ถ้ามันทำงานได้ เขาจะทำแบบนั้น

การโทษผู้ใช้ว่าทำแบบนี้แล้วไม่ปลอดภัยก็คงโทษได้ แต่สุดท้ายมันก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา เราอาจจะต้องอาศัยแนวคิด บังคับให้ปลอดภัย

  • เว็บเมลบังคับเข้ารหัสเป็นจุดเริ่มที่ดี แอพแชตทั้งหลายก็เริ่มเข้ารหัสเป็นธรรมดาแล้ว
  • เบราว์เซอร์ในอนาคตอาจจะต้องมี SSL Enforcer เปิดมาในตัวเสมอ และหากใช้งานไม่ได้จะกลายเป็นความผิดของเว็บ
  • HTTP2.0 เข้ารหัสโดยไม่ต้องถามล่วงหน้า เข้ารหัสให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
  • เว็บในอนาคตอาจจะต้องมี password generator ให้บริการ password 6 ตัวแรกสุ่มให้จากเว็บ เพื่อรับประกันว่าจะได้รหัสผ่านที่ปลอดภัยเสมอ
  • แอพแชตอาจจะต้องบังคับแชตได้ไม่เกิน 3 วันก่อนจะต้องแลก public key เพื่อยืนยันตัวตน

เราทำกระบวนการเหล่านี้ให้กลายเป็นเรื่องธรรมดา เป็นสิ่งที่ต้องทำ วันหนึ่งโลกอาจจะปลอดภัยเป็นค่ามาตรฐาน

 

The Wind Rises

ทั้งเรื่องมีแบรนด์เดียวคือมิตซูบิชิที่เป็นไปตามเนื้อเรื่อง

ไม่มีโฆษณาแฝงบ้าบอครบ 90 นาทีเหมือนหนัง GTH

10/10

 

ว่าด้วยงานวิจัย

บ้านเราช่วงสิบปีที่ผ่านมา เริ่มอ้างอิงงานวิจัยกันมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงกับมีการวิจัยออกทีวีมาแล้วตอน GT200

แต่การอ้างหลายครั้งก็น่ารำคาญ เวอร์ และมั่วกันบ่อย เลยขอเขียนถึงสักที

  • งานวิจัยไม่ได้แปลว่าเป็นจริง เป็นข้อแรกที่ต้องคิดไว้ตลอด การวิจัยเป็นการเสนอข้อเท็จจริงที่ศึกษามาได้
  • การตีพิมพ์งานวิจัย แปลว่าไปศึกษามา ได้ผลอย่างไร ศึกษาอย่างไร ก็บอกให้โลกรู้ ไม่ได้รับประกันว่ามันเป็นจริง
  • การวิจัยแล้วไม่เป็นจริงเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะหลายครั้ง
    • ทำวิจัยน้อยเกินไป อ้างคนทั้งประเทศแต่สุ่มมาแค่สิบคนอะไรแบบนั้น
    • ทำวิจัยมั่ว ส่งคนออกไปเก็บตัวอย่างแล้วไม่เก็บจริง เมกข้อมูล
    • ทำวิจัยไม่รัดกุม เช่น อ้างคนทั้งประเทศแต่เก็บข้่อมูลจริงตรงอนุสาวรีย์ที่เดียว (ได้คนทำงานออฟฟิศแทบหมด)
    • ซวย ฟ้าส่งมาให้ซวย ทำดีทุกอย่างแต่ข้อมูลที่ได้มามันไม่ตรงกับส่วนใหญ่จริงๆ
  • งานวิจัยที่เราเรียนกันในตำราโดยมองว่าเป็นเรื่องจริง ส่วนมากเป็นงานวิจัยที่ถูกยืนยันซ้ำไปมา มีการวิจัยซ้ำเพื่อยืนยันผล มีการนำข้อสรุปไปใช้งาน ฯลฯ อย่างต่อเนื่องแล้วยังไม่เจออะไรขัดแย้ง ก็เลยเชื่อว่าเป็นจริง
  • งานวิจัย้เกือบทั้งโลก มีหัวข้อแคบมาก เพราะการทำวิจัยจริงๆ ใช้เวลาระดับเดือนเท่านั้น หัวข้อใหญ่ๆ ระดับพลิกโลก นานๆ จะเกิดทีเท่านั้น แต่งานวิจัยเล็กๆ เกิดขึ้นทุกวัน
  • งานวิจัยเล็กๆ คือหัวข้อจำกัด สำรวจคนเฉพาะบางกลุ่ม สำรวจพื้นที่เฉพาะ กรณีเฉพาะ เวลาเฉพาะ มันอาจจะเป็นเงื่อนงำให้ไปวิจัยใหญ่กว่านั้นได้ แต่นำข้อสรุปของงานวิจัยเล็กๆ ไปสรุปกลุ่มใหญ่ไม่ได้
  • งานวิจัยที่ดีต้องเปิดเผยกระบวนการชัดเจนให้คนอื่นเอาไปทำซ้ำได้ ตัวอย่าง Gallup World Poll
 

IKEA

คนเห่อจนเลิกเห่อกันทั่วบ้านทั่วเมืองเพิ่งได้ไปกับเค้าครับ

  • ผมว่าจุดเด่นของ IKEA คือของชิ้นถูกๆ ครับ ชิ้นแพงๆ ไม่น่าซื้อเท่าไหร่ ดูจากในแคตตาล็อกคิดแบบนี้ ไปแล้วก็เป็นจริง
  • มีระบบลงทะเบียนสมาชิกด้วยตัวเองให้ทั่วไป กรอกๆ ได้เลย ระบบส่ง SMS ยืนยันหมายเลขให้ สะดวกมาก พร้อมพิมพ์บัตรสมาชิกชั่วคราวให้ทันที
  • ระบบแจกดินสอกับกระดาษจดนี่เป็น gimmick ที่ดี แต่ใช้จริงโคตรไม่เวิร์ค ผมลืมกระดาษจดไว้สักที่ เดินไปสองชั่วโมงหายหมด
  • แอพค่อนข้างดีมาก ตัวเดียวใช้ได้ทั่วโลก แต่ในร้านไม่โปรโมทให้ใช้แทนกระดาษเลย ไหนว่ารักโลก
  • ในไทยใช้การสแกน “รหัสสินค้า” ที่เป็นตัวเลขโดยตรง แทน QR หรือ Barcode สแกนได้เหมือนกันเพราะพิมพ์มาให้แสกน แต่ปรากฎว่าแสกนช้ามาก ติดยาก ยอมแพ้ซะแล้วพิมพ์ QR พร้อมกับโปรโมทแอพเถอะ
  • แอพบอกจำนวนสต็อกสินค้าด้วย เยี่ยมมาก แต่อัพเดตคืนละครั้ง ผมไปเดินเจอสินค้าลดราคา สุดท้ายก็หมด เซ็ง
  • พนักงานคิดเงินไม่ทวงบัตรสมาชิก อันนี้แย่ ทั้งๆ ที่โปรโมทให้สมัครบัตรทั่วร้าน (ผมเองก็บสมัครในร้านนั่นล่ะ) พอจ่ายเงินเดินออกมาอ่าว เพิ่งรู้ตัว ค่าใช้จ่ายต่อบิลพี่แพงกว่าพวกซุปเปอร์เยอะ น่าจะเสียเวลาเพิ่มกับลูกค้าทวงหน่อยนะ
  • แกะใช้งานมาสองชิ้นก็ยังประทับใจดี การออกแบบ make sense สำหรับผม ดูดีใช้งานได้ทั้งที่วัสดุราคาไม่แพงนัก
  • หลอดไฟแพงมาก แพงฉิบหาย ควรหลีกเลี่ยง ผมซื้อถ่านอัลคาไลน์มาลอง
  • โคมไฟใช้เกลียวเล็กจำนวนมากเข้าใจว่าทางยุโรปนิยม แต่เมืองไทยก็น่าจะปรับหน่อยนะ
  • แนวคิดสินค้า “ปรับราคาลงจากปีที่แล้ว” น่าสนใจมาก ร้านในไทยควรเอาเยี่ยงอย่างทั้งหมด ไม่ได้โปร แต่มันถูกลง รู้สึกน่าซื้ออย่างบอกไม่ถูก ผมเกือบเสร็จป้ายนี้ไปชิ้นนึง (เปลี่ยนใจจะไปเอาอีกชิ้น ที่พอหาจริงๆ แม่มหมดสต็อก ไม่เอาแม่มทั้งสองชิ้น)
  • แนวคิด “เส้นทางเดินดูของแนะนำ” ก็น่าสนใจ แต่ผมว่าป้ายยังน้อยไป คนเราจริงๆ ไม่ได้เดินบนทางเดินขนาดนั้น เดินไป ดูของดูห้อง อ่าวอยู่ตรงไหน เผลอไปมาเดินทะลุอีกห้อง อ่าวข้ามไปแล้ว