My love from the star

เดือนที่แล้วกด iflix สองปีไปแล้ว มองๆ ว่าจะดูเรื่องอะไร ในรายการเรื่อง trending มีเรื่องนี้โผล่มา ได้ยินว่าเดือนเป็นติ่ง จัดไป

  • จวน จีฮุน (เขียนให้ถูกเขียนไงว่ะ) แก่ลงเยอะ ดูครั้งสุดท้ายคือ Il Mare สมัยเรียนปริญญาตรี ตอนแรกๆ ไม่แน่ใจนึกว่าคนละคน
  • ยังจำภาพนิ่งๆ ดุๆ ของจีฮุนสมัยโน้นอยู่ ซึ่งตอนแรกๆ ภาพดาราใหญ่ ก็เออ เข้า แต่พอเป็นฉากตลกแล้วมันขัดๆ
  • Yoo In-na (บทรอง) ดูเด็กโคตร นึกว่าห่างจากนางเอกสักสิบปี มาดูทีหลัง อ่าว อายุพอๆ กัน
  • บทดี ไม่พยายามลึกอะไรมาก ยังเป็นตัวร้ายตัวดีอยู่ แต่เนื้อเรื่องมีหลาย line (ความรัก, สมบัติ, พระเอกเป็นเอเลี่ยน) ให้เล่นไปเรื่อยๆ รวมๆ มันก็มีเนื้อเรื่องแน่นดี
  • Suzy โผล่มานี่กระโดดออกจากเรื่องรุนแรง เอาใจแฟนคลับคงเข้าใจได้ แต่ในความเป็นละครแล้วมันกระชากคนดูออกจากเรื่องไปเลย นึกว่าเป็นวาไรตี้มีดารามาเซอร์ไพรซ์ คือไม่ได้เข้ามาเนียนๆ ในเรื่องด้วย จงใจฉากสว่างมาเลย อะไรของเค้าว่ะ
  • Galaxy Gear เพื่ออะไร
  • ชอบตอนจบ คือละครรักเอเชียมันจบไม่แฮปปี้ไม่ได้ แต่บทจบเรื่องนี้หาทางลงได้ดี ไม่ใช่ว่าเออ แล้วทั้งสองก็รักกันตลอดไป
 

My first IKEA Hack

12394069_955734371169090_69411851_n

  • HEJNE is IKEA’s cheapest shelf system. ALBERT is cheaper but you couldn’t buy the post separately.
  • I use HUGAD curtain rod as the clothes rail, it’s far cheaper than IKEA clothes rail at the same length.
  • The open wardrobe is nearly fill my room wall, so I leave a hole in the second section is the service door.
 

Streaming

เพิ่งสมัคร Apple Music + iflix กับเขา รับรู้ความเป็น “อนาคต” ของบริการสตรีมมิ่งด้วยตัวเอง เป็นโน้ตความคิดแบบกระจายๆ อีกแล้ว

  • บริการ broadcast นั้นเป็นขาลงอย่างเต็มตัว อาจจะยกเว้นเพียงช่องข่าวเท่านั้น
  • ความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะกระทบหนักสุดคือ ละครทีวีและรายการวาไรตี้เกมโชว์ทั้งหลาย
  • ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือเราไม่สามารถบอกได้ว่า ช่องทีวีคือช่องทางถ่ายทอดหลักได้อีกต่อไป ในบยุคต่อไป (อาจจะภายในสิบปีข้างหน้า) ช่องทางรับชมรายการรายการประเภทนี้จะผ่านทั้งทีวี และสตรีมมิ่งอื่นๆ ในสัดส่วนสำคัญพอๆ กันหรือมากกว่ามาก
  • รายการจะยังมี “ช่วงเวลา” ต่อไป รูปแบบที่เราเห็นในทุกวันนี้คือละครอย่างฮอร์โมน, รายการทีวีอย่าง The Voice ช่วงเวลาเป็นเพียงการบอกหมุดหมายของการ “เริ่มแพร่ภาพ” เท่านั้น ไม่ใช่ตารางทีวี
  • ภาพที่ชัดที่สุดคือ YouTube ในตอนนี้ มีรายการสด จบรายการแล้วปล่อยวิดีโอต่อเลย
  • ปัญหาสำคัญคือเด็กรุ่นต่อไปจะไม่ชินกับการดูตามตารางเวลาเป็นหลัก พวกเขาโตมากับ YouTube แม้ว่าอาจจะมีบางรายการที่พวกเขา “ติ่ง” พอที่จะขวนขวายให้ได้ดูพร้อมคนอื่นบ้าง
  • แต่รายการส่วนมากพวกเขาก็แค่อยากดู “เร็วๆ หน่อย” ตามตารางที่พวกเขาจัดเอง วันนี้อยากดูละคร วันนี้กลับดึกอยากโต้รุ่งด้วยรายการเกมโชว์ ฯลฯ
  • คนกลุ่มนี้จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนรายการทิ้งไม่ได้ ต้องปล่อยรายการออกแทบจะทันที (The Voice เป็นไปแล้ว)
  • ระบบเรตติ้ง จะเป็นคำถามว่ามันจะอยู่กับรายการอย่างไร รายการที่ไม่มีใครดูสด อาจจะคนดูเยอะมหาศาลเมื่อปล่อยวิดีโอไปแล้วหนึ่งสัปดาห์ ตัวอย่างตอนนี้ก็ WorkPoint ใน YouTube
  • เรตติ้งทีวีมีปัญหาในตัวมันเอง เพราะมันเป็น “บุญเก่า”รายการที่เรตติ้งดีแต่บางตอนไม่สนุกก็จะเรตติ้งดีต่อไป เพราะคนคาดหวังจากตอนที่แล้ว ขณะที่ละครบางเรื่องอาจจะสนุกแต่ผิดพลาดในการโปรโมทแม้จะได้เรตติ้งดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ต้องรับ “กรรมเก่า” คนดูค่อยๆ เพิ่ม
  • การปล่อยรายการทันทีและนับรวมคนดูย้อน (ซึ่งอาจจะดูหลังเวลาจริงไม่ถึงวัน รอเวลาให้ไวรัลมันวิ่งแป๊บเดียว) เข้าไว้ในสถิติน่าจะยุติธรรมกับรายการมากกว่า
  • โมเดลรายได้ยังเป็นคำถามว่าจะเป็นอย่างไร โฆษณาต้องซื้อขาดในแต่ละตอนหรือไม่ หรือสามารถเปลี่ยนโฆษณาเมื่อผ่านช่วงเวลาไป รายการตอนคลาสสิกมากๆ ก็อาจจะมีคนดูไม่หยุดเป็นปีๆ รวมถึงการขายรายการผ่านสตรีมมิ่งเสียเงินดูจะต้องตัดโฆษณาออกหรือไม่ อันนี้ YouTube Red ก็มีประเด็นความสับสนเรื่องนี้
  • “เดา” ว่าในอนาคตโฆษณาแฝงที่ฝังในรายการจะเป็นโฆษณาขายขาดประเภทเดียว ที่เหลือคงขายแยกและขายใหม่ไปได้เรื่อยๆ
 

4G

โน้ตความคิดตัวเองไว้หน่อย (กระจายมาก จะเรียกบทวิเคราะห์คงไม่ถูก)

  • ราคาแพงมีสาเหตุสำคัญเพราะการเมืองไม่นิ่ง การประมูลไม่น่าเชื่อถือ คลื่นจะหมดอายุมีเรื่อยๆ แต่ไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร วันนี้มีอะไรคว้าได้ต้องรีบคว้า
  • ในอนาคตถ้ามันนิ่ง (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนปกครอง แต่ถ้ามัน “นิ่ง”) คาดเดาได้พอสมควรว่าเมื่อไหร่จะมีคลื่นให้ประมูลบ้าง ราคาก็ไม่น่าจะแพงแบบนี้อีก
  • การย้ายไป 4G ของไทยไม่ได้ล่าช้าเวอร์ๆ แบบ 3G ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงจะไม่มากเหมือนเดิมอีกแล้ว
  • สมัย 3G มาเราเห็นรายได้ฝั่ง data เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (แม้จะมาพร้อมกับการล่มสลายของค่าบริการ voice) แสดงว่าคลื่นใหม่มันมาพร้อมกับค่าบริการแบบใหม่
  • 4G ไม่มีอะไรใหม่ มันคือ data เหมือนเดิม ที่ได้เพิ่มมาคือ bandwidth
  • ในแง่ความเปลี่ยนแปลงกับคนใช้งานจึงไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากนัก เราจะเห็นเน็ตติด FUP กันต่อไป อาจจะใจดีขึ้นหน่อย มาตรฐานต่อไปอาจจะขึ้นต่ำ 324kbps สำหรับโปร 199 ต่อเดือนอะไรแบบนั้น คนใช้หนัก ทน FUP ไม่ได้จะยังคงต้องซื้อแพ็กเกจใหญ่กันต่อไป
  • แต่ bandwidth ที่เพิ่มขึ้นก็น่าจะเอามาทำเป็นสินค้าใหม่ เราน่าจะเห็นโปรประเภท 5GB 50 บาทอะไรแบบนั้นเพื่อเรียกให้คนจ่ายเพิ่ม
  • “เดา” ว่าอนาคตจะมีโปรประเภทเน็ตกลางคืนถูกมากๆ มาเพิ่มอีกต่อ เหมือนสมัย 2G ที่เป็นโปรโทรกลางคืน คือทำยังไงก็ได้ให้คนจ่ายเพิ่ม
  • โจทย์ใหญ่ของโอเปอร์เรเตอร์คือการหาช่องทางให้คนจ่าย เพราะพอเป็นบริการแบบ All-IP โอเปอร์เรเตอร์กลายเป็นเพียง link provider เท่านั้น
  • แต่บริการที่ควรสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างเพลงและโทรทัศน์ โอเปอร์เรเตอร์กลับบุกได้ไม่เร็วพอ iflix, HOOQ, Apple Music, JOOX บุกตลาดอย่างรวดเร็ว อาศัยความเชี่ยวชาญในวงการสร้างฐานข้อมูลสื่อได้ใหญ่กว่า
  • ไม่ชัดเจนว่าในอนาคตโอเปอร์เรเตอร์จะทำได้ระดับเดียวกันไหม ถ้าทำได้แล้วไปพ่วงกับ data package เช่น ดู streaming แบบ SD หรือเฉพาะเพลง ไม่คิด data แบบนั้นก็จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้ (แต่มันจะคุ้มหรือไม่อันนี้คงต้องดู bandwidth รวมว่าจะให้บริการได้จริงไหม)