She was pretty

4769_ShewasPretty_Nowplay_Small_v2

เห็นใน iflix กดมาดูเป็นเรื่องล่าสุด

  • เป็นเรื่องที่ไม่ได้มีเนื้อเรื่องหลักเป็นประเด็นทางสังคมหรืออะไร มาแนวนิยายรักเป็นหลักเลย การหวนคืนของรักแรกอะไรแบบนั้น อันนี้จริงๆ เกือบทำให้ข้ามไป แต่เอาว่ะ เรื่องมันใหม่ (ปลายปี 2015) ลองดูหน่อย
  • พล็อตเรื่องหลักคือการกลับมาเจอกันของรักแรกสมัยเด็ก ผู้หญิงสวย ผู้ชายไม่หล่อ พอโตมาแล้วกลับข้าง กลายเป็นว่านางเอกไม่กล้าเจอ
  • พล็อตหลักประมาณนี้มันก็ต้องตามสเต็ปไปว่านางเอกต้องกลับมาสวยสักจุดในเรื่อง แต่ก่อนหน้านั้นพระเอกต้องยังรักอยู่  จะกลับมาสวยตอนกลางหรือตอนท้ายก็ได้ เรื่องนี้เลือกให้นางเอกกลับมาสวยตั้งแต่กลางเรื่อง โอเค template มาตรฐาน
  • แต่พล็อตหลักมีปัญหาหน่อย ช่วงเวลากลับมาสวยมันง่ายมาก เข้าใจว่าคงอยากทำให้คนดูตื่นเต้นว่าสวยแล้วเว้ยอะไรอย่างนั้น แต่เป็นปัญหากับเหตุและผลในเรื่องเอง สรุปพี่โตมาความเปลี่ยนแปลงคือหน้าเป็นกระ ที่เหลือก็เหมือนเดิม ผมหยิกก็เป็นแต่เด็ก ความไม่สวยที่เป็นที่มาของชื่อเรื่องคือการขี้เกียจทำผมกับแต่งหน้า? จริงๆ มันก็พอได้ ถ้าทิ้งเวลาบรรยายเพิ่มสักหน่อยว่าที่บ้านมีปัญหาเลยไม่รักสวยรักงามเหมือนตอนเด็กแล้วเพราะอะไร แต่เนื้อเรื่องก็ข้ามไปเฉยๆ
  • บทในเรื่องมีช่วงที่น่าสนใจหลายจุด การเปรียบเปรยเยอะ
    • ภาพวาดของเรอนัวร์ (ใช้ภาพ Dance in the Country) เป็นเนื้อเรื่องหลักว่าคนที่แอบมอง มาเป็นหนังไทยนี่เตรียมใช้เพลงคนข้างล่างประกอบได้เลย แต่จริงๆ การใช้ภาพนี้ตั้งแต่เด็กมันก็แปลกๆ หน่อยเพราะบทตอนเด็กมันไม่เห็นแอบมองกันอะไร คิดเล่นๆ ว่ามันอาจเล่นกับบทได้ว่าตอนเด็ก ผู้ชายเป็นฝั่งแอบมองอะไรแบบนั้นได้
    • หัวหอม อันนี้เป็น token เอาไว้มอง แทนกัน เข้าท่ากว่าเสื้อจากสปอนเซอร์หรืออะไรเยอะ
    • รองเท้าของเพื่อนนางเอก แม้จะเจ็บแต่ชอบแล้วก็ไม่ยอมปล่อย
    • การทายหัวก้อยที่จริงๆ แล้วไม่สนใจว่ามันจะออกหัวหรือออกก้อย (อันนี้ชอบ)
    • มีบทสั้นๆ อีกหน่อย เช่นจะไปซื้อรองเท้าให้ จะกลับไปที่ของตัวเอง
    • รวมๆ แล้วชอบการเขียนบทแบบนี้ เหมือนอ่านหนังสืออยู่
  • เป็นซีรีย์เกาหลีเรื่องแรกที่ดูแล้วจบแบบ happily ever after ปิดทางคิดต่อ เขาทั้งสองรักกันยาวจนลูกโต แบบเออ ก็น่าจะดีกับแฟนๆ ที่ช่วยลุ้นแต่ละตอน แต่ส่วนตัวชอบการจบแบบผ่านฉากหนึ่งของชีวิตไปมากกว่า
  • ที่แย่คือตอนสุดท้ายนี่เกือบทั้งหมดเป็นฉาก happily ever after เกือบหมด เพราะปมเฉลยไปหมดแล้ว ไม่มีอะไรให้เล่น อาจจะเพราะตัดต่อไม่ดีเลยเหลือเวลาตอนสุดท้ายเพียบแบบนี้
  • ประเด็นสังคมที่แสดงมาในเรื่องหน่อยคือการมองคนว่าไม่เป็นคนด้วยการเรียกตำแหน่งห้วนๆ (เด็กฝึกงาน) ไม่มีชื่อ ไม่นับญาติ ไม่นับรุ่น อันนี้คนไทยไม่เห็นกันเพราะคิดอะไรไม่ออกก็พี่น้องมาก่อนแล้ว
  • โฆษณากล้องนี่โอเค งานนิตยสารมันก็ต้องมีกล้องล่ะ แต่ปี 2015 นี่จ็อปส์ตายไปหลายปีแล้ว ทำไมยังคิดว่าการเอานิ้วรูดจอเลื่อนภาพยังเจ๋งพอเอามาโฆษณาอยู่?
  • ร้านกาแฟนี่ดีมาก ใส่ไปกับเนื้อเรื่อง ไม่หลอก อันนี้ส่วนตัวเดินไปซื้อกาแฟร้านเดิมๆ บ่อยๆ ก็คิดว่ามันก็ประมาณนี้ ไม่เห็นแปลกอะไร
  • มือถือซัมซุงในเรื่องนี้โอเค เสียงเรียกเข้า + background มาตรฐานก็พอจะทำให้เด่นมากแล้ว ไม่หลอกมาก
  • Samsung Pay + Gear นี่แย่ โผล่มาแบบโดดๆ ไม่เข้าอะไรกับเนื้อเรื่อง Gear นี่จริงๆ เล่นกับความเบลอๆ ของพระเอกสักหน่อย แล้วผูกเรื่องว่านางเอกซื้อให้บลาๆ แบบนั้นก็ยังดีกว่า ให้มันโผล่มาแบบมีที่มาหน่อย
  • ไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่วันก่อนขึ้นรถเมลแล้วเห็นคนหยิบ Samsung Edge สักตัวออกมาแชต
 

เลขสำหรับโอนเงิน

เมื่อเราบอกเลขสำหรับโอนเงิน เป็น

  • เลขบัญชี
    • ฝ่ายตรงข้ามรู้เลขบัญชี
    • เลขนี้เป็นของเราตลอดไป
    • เมื่อเลิกใช้คนอื่นมาสวมไม่ได้
  • เลขบัตรประชาชน
  • เบอร์โทรศัพท์
    • ฝ่ายตรงข้ามโทรหาเราได้ ส่ง SMS หาเราได้ (ขายประกันได้, ขายบัตรเครดิตก็ได้)
    • แอด WhatsApp, Telegram ก็ได้
    • เลขนี้เป็นของเรา จนกว่ามันจะไม่เป็นของเรา (1, 2, 3)
    • เมื่อเราเลิกใช้ สักวันมันจะกลายเป็นของคนอื่น
 

LINE Hidden Chat

LINE อัพเดต

  • ยัง verify key ได้อยู่
  • แต่ก็คุยบน Chrome App ได้เลย แค่ล็อกอิน (ไม่ใช่ QR login แบบ Signal/WhatsApp) แถมโทรศัพท์ offline ก็ยังส่งข้อความได้
  • แสดงว่า key ส่งผ่านเซิร์ฟเวอร์? กระบวนการดูประหลาด LINE ไม่เปิดเผยว่ากระบวนการเข้ารหัสเป็นยังไง กรณี Signal/Whats App ไม่เคยส่งกุญแจออกจากเครื่อง เลยใช้บนเดสก์ทอปไม่ได้เวลาโทรศัพท์ offline
  • ตั้งเวลาก็ไม่ได้
  • ดูอาการแล้ว LINE จะไม่สนใจการแชตอย่างเป็นความลับแล้ว แค่ใส่ end-to-end เอาไว้แบบแปลกๆ ให้ได้ชื่อว่าเข้ารหัส
  • เมลไปถามซัพพอร์ตแล้วตอบไม่รู้เรื่อง โยนหน้าวิธีการใช้มา
 

ว่าด้วย PromptPay

UPDATE: เผื่อใครเพิ่งเข้ามาอ่าน มีบทความต่อจาก note อันนี้ที่ Blognone ครับ (อ่านที่โน่นเลยก็ได้ อันนี้กระจายมาก)

UPDATE2: มี ทีมงานผู้ออกแบบ PROMPTPAY” มาคอมเมนต์ตอบข้อสงสัย

จดความคิดเกี่ยวกับมันไว้หน่อย

  • พร้อมเพย์ เป็นชื่อที่เกินจริง มันแค่ระบบโอนเงินฟรี (อย่างน้อยที่สุดในตอนนี้) ยังไม่มีระบบอะไรที่ทำให้มันเป็นระบบรับจ่าย ระบบโอนเงินคล้ายๆ กันอย่าง UP2ME รับจ่ายค่าสินค้าในห้างได้ พวก mpay truemoney ก็มีระบบรับจ่ายบิล พร้อมเพย์ยังไม่มีอะไรเลย
  • เรื่องที่น่ากังวลเบื้องต้นคือ การแสดงชื่อผู้รับ (ธนาคารกสิกรไทยให้สัมภาษณ์บน Blognone) บนหน้าจอโอนเงิน เพราะแสดงว่ามันมีฐานข้อมูล เบอร์โทร-ชื่อผู้ใช้ เปิดให้ทุกธนาคารเข้าถึงได้ สามารถ query ออกมาได้ทางหน้าจอโอนเงิน
  • note: ได้ข้อมูลใหม่จากคนทำงานข้างใน (ใครอ่านไม่ได้ก็คงช่วยไม่ได้) ระบุว่ามีระบบตรวจการค้นหาผิดปกติอยู่ที่ศูนย์กลาง
  • ฐานข้อมูลแบบเดียวกันนี้ที่อื่นก็คงมี แต่พร้อมเพย์จะเป็นฐานข้อมูลที่ครบถ้วนที่สุด (ทุกธนาคารช่วยกันเก็บข้อมูล) ถูกต้องที่สุด (ทุกธนาคารช่วยกันตรวจ) และเปิดกว้างที่สุด (ทุกธนาคารเปิดให้ลูกค้า query ่ผ่านหน้าจอโอนเงิน)
  • ภายหลังจากเปิดบริการไม่นาน การดึงฐานข้อมูลกลับออกมาเปิดเป็นฐานข้อมูลสาธารณะน่าจะทำได้ ให้คนกดเลขมั่วๆ ดูชื่อไปเรื่อยๆ แล้ว copy ออกมา ไม่นับว่าจะมีสักธนาคารเผลอเปิด API ให้ดึงข้อมูลได้เรื่อยๆ
  • เจอกันป้ายหน้าเป็น CSV แจกตาม torrent อยากได้เบอร์คนดัง เบอร์ดารา เบอร์แฟนเก่า สะดวก แม่น เปลี่ยนหนียาก (เพราะใช้รับเงิน)
  • เรื่องที่แย่รองลงมาคือ กระบวนการถอนหมายเลขออกจากบัญชีธนาคาร ที่ตอนนี้เป็นหลุมดำ ไม่มีใครบอกได้ว่าทำอย่างไร ใช้อะไรบ้าง ธนาคารหลายธนาคารบอกแค่ว่าทำได้ตลอดเวลา
  • มันต้องตลอดเวลาอยู่แล้ว (สิวะ) คำถามไม่ใช่ว่าถอนหมายเลขได้เมื่อไหร่ คำถามคือต้องใช้อะไรในการถอนออกบ้าง ต้องแสดงตนที่สาขาไหม หรือส่ง SMS ยืนยัน หรือต้องล็อกอินธนาคารออนไลน์ และกระบวนการถอนบัญชีใช้เวลานานแค่ไหน
  • ในแง่ระยะเวลา มันหมายความว่าผู้บริโภคจะเปลี่ยนใจ
  • ถ้าใช้แค่ SMS ถอนการผูกบัญชี เช่น ส่ง SMS ไปที่เบอร์ XXXXXXX เพื่อถอนการผูกบัญชี แสดงว่าถ้าเรา hi-jack หมายเลขโทรศัพท์ได้ จะเหมือนเรา hi-jack หมายเลขบัญชีได้พร้อมกัน ขโมยเลขโทรศัพท์ได้ ถอนการผูกบัญชีเดิม แล้วเอาไปผูกบัญชีใหม่ เงินไหลมาทางที่เราต้องการแทน พวกนี้ถ้าทำได้เร็ว ร้านค้าออนไลน์ที่รับโอนเร็วๆ ก็อาจจะสร้างความเสียหายได้ไม่น้อย
  • ถ้าหนาแน่นมาก เช่น ต้องไปแสดงตน สักพักน่าจะเกิดกรณีหมายเลขผู้กับบัญชีไว้นาน เจ้าของเดิมผูกไว้แบบงงๆ ไม่ได้ใช้ แล้วเบอร์หมดอายุ ไปเวียนกลับมาขายใหม่ เจ้าของเบอร์ใหม่ผูกบัญชีไม่ได้ เพื่อนเผลอโอนเงินเข้าหมายเลขโทรศัพท์ แล้วเงินก็ไหลไปไหนไม่รู้
  • สาระคือการโอนเงินฟรี หมายเลขบัญชีเดิมๆ ก็โอนฟรีได้ จะสร้างฐานข้อมูลหมายเลขบัญชี-หมายเลขบัตรประชาชน เอาไว้รับเงินจากรัฐก็เข้าใจได้ จะเอาหมายเลขโทรศัพท์ (ซึ่งมันไม่มีคุณสมบัติในการ identify ตัวบุคคล) มาใช้ทำไม
  • คำแนะนำตอนนี้ คือไม่แนะนำให้ใครทั้งสิ้นลงทะเบียนจนกว่ากระบวนการทั้งหมดจะชัดเจน อย่างน้อยก็กระบวนการถอนการผูกบัญชี และการเปิดเผยหมายเลขโทรศัพท์ ยิ่งการเปิดลงทะเบียนโดยต้องรออีกหลายๆ เดือนจะใช้งานได้ ยิ่งไม่มีเหตุผลให้ต้องแนะนำ