แก่น

ถ้าผมไปกินสุกี้กับเพื่อน เมื่ออิ่มแล้วบริกรเดินเข้ามาถามว่าจะรับของหวานรึเปล่า

เพื่อนของผมชอบกินของหวาน จึงสั่งไปสองถ้วย

เพื่อนอีกคนชอบกินไอติม เลยสั่งมาถ้วยนึง

ผมอิ่มแล้วเลยไม่สั่งอะไรเพิ่ม

เรานั่งคุยกันต่อ แม้จะกินต่างกัน แต่ไม่มีใครทะเลา่ะกัน

คนที่กินไอติม ไม่เอาไอติมมายัดปากผม

ผมไม่เอามือไปปิดปากคนกินของหวาน

เราแค่มานั่งกินสุกี้ด้วยกัน

อาจจะงงๆ ว่าเรื่องอย่างนี้ มันมีใครทะเลาะกันด้วยหรือ?

รออีกสองเดือน ปัญญาชนครึ่งค่อนประเทศจะทะเลาะกันด้วยเหตุการณ์คล้ายๆ อย่างนี้แหละ

 

โอเพนซอร์สกับ 30 บาท

ผมเป็นคนหนึ่งที่เห็นด้วยกับโครงการ 30 บาท “ในหลักการ” มาโดยตลอด แนวคิดง่ายๆ คือคนเราไม่ว่าจะยากดีมีจนยังไง ก็ไม่ควรมีใครต้องเป็นไข้หวัดตายอยู่ข้างถนน มันสำคัญกว่าที่จะให้มีทางออกที่ให้ทุกคนใช้ได้โดยเท่าเทียมกัน

พล่ามเรื่องที่ตัวเองไม่เชี่ยวมา ก็ไม่มีอะไร ผมมองว่ารัฐควรสนับสนุนโครงการโอเพนซอร์สในระดับเดียวกับโครงการ 30 บาท นั่นล่ะ อาจจะถึงเวลาที่รัฐต้องบอกว่ามีทางเลือกขั้นต่ำที่ฟรีในการใช้งานทั่วไป โดยรัฐรับประกันว่าจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

โครงการพวกนี้อาจจะต้องรวมเช่น ระบบปฏิบัติการ, เวิร์ดโปรเซสเซอร์, สเปรตชีท, กราฟฟิก และบราวเซอร์ ทั้งหมดนี้ต้องใช้ร่วมกันได้ ระดับที่ว่าลงชุดนี้แล้วเข้าถึงระบบของภาครัฐได้แทบทั้งหมด

ที่ผ่านมา ดูเหมือนเรายังขาดความจริงจังกันอยู่มาก โปรแกรมจำนวนมากที่ใช้ภาษาไทยได้ในตอนนี้เป็นการช่วยกันทำของคนกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่ได้รับประกันอะไรว่าเมื่อผมย้ายไปใช้งานกับเขาแล้ว จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โค้ดทั้งหมดต้องถูก Commit เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโค้ดหลักของแต่ละโครงการ

ในความเป็นจริงแล้ว โปรแกรมระดับพื้นฐานทั้งหมด หากต้องการพัฒนาภาษาไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีฐานเป็นโค้ด GPL ทั้งหมด ผมเชื่อว่ามันทำได้โดยบริษัทขนาดไม่เกิน 20 คน ค่าใช้จ่ายต่อปีไม่เกิน 10 ล้าน

น้อยกว่าค่าคอมพิวเตอร์ 100 ดอลลาร์แน่ๆ ล่ะ

ถึงเวลานั้น ไมโครซอฟท์จะไล่จับซอฟท์แวร์เถื่อนไปถึงในบ้าน ผมว่าก็ไม่ใช่เรื่องซีเรียสอะไร หากคนยังมีทางออกกันอยู่

 

ภาษาไทย

ยังมีปัญหากับวรรณยุกต์ในภาษาไทยอยู่ พบปัญหาใน Gecko ที่บนวินโดว์ งานนี้ใครเชี่ยว CSS มาเฉลยวิธีแก้กันหน่อยนะครับ