แนวคิดส้นตีน

มันมีแนวคิดอย่างหนึ่งฝังรากมานานในประเทศไทย เป็นแนวคิดปลูกฝังกันมา จนเป็น “แนวคิดส้นตีน” อยู่ในประเทศนี้ เอามันไม่ออก

“เรื่องแค่นี้ทำไม่ได้ แล้วเรื่องอื่นจะไปทำอะไรได้”

นี่คือความส้นตีนสุดยอดในตรรกะของสยามประเทศ เป็นแนวคิดที่ห้ามพิสูจน์ เป็นแนวคิดที่พูดไปถูกมั๊ยไม่รู้ แต่คนพูดดูยิ่งใหญ่ (อาจจะเพราะใช้ส้นตีนคิดมา)

คัดลายมือให้ดียังทำไมได้ แล้วจะไปทำอะไรได้

ตัดผมให้เรียบร้อยยังทำไม่ได้ แล้วจะไปทำอะไรได้

ใส่เครื่องแบบให้ถูกต้องยังทำไม่ได้แล้วจะไปทำอะไรได้

 

แนวคิดส้นตีนนี้ถูกใช้อธิบายความเลวร้ายของสังคมได้อย่างอัศจรรย์ คุณอาจจะเห็นคำอธิบายว่าทำไมเด็กไทย ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เพราะเด็กรุ่นใหม่มันไม่ได้เรื่อง มันไม่อยู่ “ในร่องในรอย” เหมือนคนสมัยก่อน (ที่ก็ไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์อะไรมากมาย)

คนที่อุปโลกตัวเองว่าผ่านน้ำร้อนมาก่อน จะพร่ำพรรณนาว่าในสมัยตัวเองนั้น ทุกคนล้วนอยู่ในวินัย

ไม่มีใครถามว่าไอ้ที่บอกว่า “เรื่องแค่นี้” มันส่งเสริมให้สังคมไปถึงจุดหมายได้อย่างไร

ทุกคนอธิบายเพียงว่ามันเป็นเรื่องเล็กๆ ผ่านไปไม่ยากหรอก อย่าไปตั้งคำถามกับมันสิ แล้วจะผ่านมันไปเอง

 

ส้นตีนเถอะครับ

 

Matter of Choices

ในประเทศไทยมีโน้ตบุ๊กสองยี่ห้อที่ผมแนะนำให้ซื้อคือ Dell และ ThinkPad (ไม่ใช่ Lenovo) จุดเด่นสำคัญคือเรื่องบริการหลังการขายทั้งคู่ เนื่องจากโน้ตบุ๊กนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ชิ้นส่วนซับซ้อน มีผู้ผลิตจำนวนมาก การเข้ารับบริการหลังการขายไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด ระยะเวลาใช้งานโน้ตบุ๊กหนึ่งเครื่องอยู่ที่ 3-5 ปี และแค่ 3 ปีแรกโดยเฉลี่ยก็เสียกัน 30% เข้าไปแล้ว ดังนั้นผมจึงแนะนำให้ซื้อประกันสามปีทุกกรณี เพื่อให้มีเครื่องใช้งานครบอายุการใช้งานเสมอ

ทั้ง Dell และ ThinkPad ต่างมีชื่อเสียงที่ดีในแง่ของการบริการทั้งคู่ ข้อเสียของเดลล์ที่สำคัญคือซื้อยาก (ฉิบเป๋ง…) การที่คุณจะเป็นลูกค้าเดลล์ได้อาจจะต้องฝ่าด่าน 18 อรหันต์ ไม่ว่าเครื่องทั่วไปที่ยังมีร้านวางน้อยอยู่ ยิ่งเครื่องตระกูลธุรกิจยิ่งน้ำตาแทบไหลกว่าจะได้มาแต่ละเครื่อง ทางที่ง่ายที่สุดคือไปสั่งกับร้านใน ThaiDellClub ครับ ส่วนข้อเสีย ThinkPad นั้นง่ายมาก คือสาวไม่มอ

ข้อเสียเรื่องซื้อยากนั้นทางเดลล์เองก็รู้ตัวดี และกำลังเดินหน้าแก้ปัญหานี้เต็มสูบ ผมเองเชื่อว่าด้วยศักยภาพของชื่อเสียงแล้วเดลล์ขึ้นมาเป็นที่สามได้ไม่ยากนัก แต่ปัญหาสำคัญต่อจากนั้นคือเรื่องของราคา

เดลล์มีระบบประกันที่ง่ายมากคือซื้อปั๊บได้ประกันถึงบ้านทันที ประกันเพิ่มกว่านั้นมีสองแบบคือยืดเวลา หรือเพิ่มความคุ้มครอง ยืดเวลานี่เรารู้กันดี 1 ปีเป็น 3 ปีอะไรอย่างนั้น ส่วนเพิ่มการคุ้มครองคือเพิ่มอุบัติเหตุและโจรกรรมด้วย โน้ตบุ๊กหายก็เคลมได้

แต่คนไทย เอาเข้าจริงไม่สนหรอกครับ…

เรื่องน่าเศร้าคือ ราคาเป็นตัวแปรสำคัญที่สุดในการซื้อของของคนไทย เรามีคนที่ยินดีซื้อของถูกกว่า 500 บาทเพื่อเอาประกันร้าน ตรงนี้ต้องนอมรับว่าเป็นปัญหาไก่กับไข่ เพราะคนไทยเองก็ไม่เคยได้รับการประกันชั้นดีจากโน้ตบุ๊กราคาแพงเช่นกัน เราเคยเห็นโทรศัพท์ราคา 3 หมื่นแต่ต้องเข้าศูนยเป็นสัปดาห์ คอมพิวเตอร์ราคาค่อนแสนต้องรอคิวซ่อมหลายชั่วโมง

ราคาเป็นสิ่งที่เดลล์ทำให้ดีที่สุดไม่ได้แน่นอน เพราะติดประกันถึงบ้าน

ในเรื่องนี้ Lenovo แก้ปัญหาด้วยการยอมยืดหยุ่น กระกันหนึ่งปีบ้าง สามปีบ้าง บางรุ่นแอบแถมถึงบ้านบ้าง ไม่แถมบ้าง และที่ผ่านมากลยุทธ์นี้ดูดีมาก เพราะการทำราคาของ ThinkPad ในช่วงหลังๆ ต้องยอมรับว่าดุมาก จนดึง markpeak มาเล่น X200si ได้แล้ว

ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเดลล์คงเป็นการให้ความรู้กับผู้ซื้อว่าประกันมันเทพจริง แต่จะทำได้หรือในเมื่อมีเป้าหมายระยะสั้นกำกับอยู่ตลอดเวลา?

การบริหารทางเลือกเป็นเรื่องที่ยาก แต่การเพิ่มทางเลือกเป็นเรื่องที่ดี  น่าสนใจว่าเดลล์จะผ่านจุดนี้ไปได้อย่างไร

 

สันดาน

คำแรงไปหน่อยแต่หาคำอื่นสั้นๆ มาแทนไม่ถูก

สองวันก่อนผมอยู่ที่สิงคโปร์ ผมพบความจริงหลายๆ อย่าง

  • รถห้าคันที่ผมนั่ง ขับแย่กว่าแท็กซี่ในไทยทั้งหมดที่ผมนั่งในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาในไทย
  • คนสิงคโปรไม่ค่อยเข้าแถวขึ้นรถไฟฟ้า
  • ถนนถ้าไม่กว้างเว่อๆ หรือจราจรหนาแน่นมาก เขาก็ข้ามไม่เลือกที่เหมือนกัน
  • พอถังขยะเต็ม คนสิงคโปร์ก็กองขยะไว้ข้างถังเหมือนๆ กันเรา
  • แม้จะมีป้ายห้ามจอด พร้อมกับขู่ปรับเงินถึง 200 S$ แต่คนสิงคโปร์ก็ยังจอดตรงหน้าป้าย

แต่สิ่งที่ผมเห็น

  • ถังขยะในสิงคโปร์เยอะมาก ผมไม่เคยต้องถือขยะไว้ในมือเกินสิบนาทีก่อนเจอถัง
  • ตลอดการเดินทาง ผมพบถังขยะเต็มล้น 1 ถังถ้วน (แม้อีกถังจะไม่ไกล คนสิงคโปร์ก็ยังวางขยะไว้ข้างๆ ถังนั่นแหละ)
  • รถไฟฟ้าสิงคโปร์คันยาวมากและมาบ่อย ผมไม่เคยเห็นคนรอเกิน 10-15 คนต่อประตู
  • ป้ายจราจรทั้งหมดชัดเจนมาก แยกใหญ่เล็กมีไฟคนข้ามทั้งหมด

วันนี้ผมไปวิ่งสวนจตุจักร

  • ถังขยะจากห้าแยกลาดพร้าว ไปจนถึงสถานีรถไฟฟ้า ไม่มีถังไหนเลยไม่เต็มและล้น
  • คนบนสถานีรถไฟฟ้าแน่นเหมือนทุกวัน
  • สามแยกแถวบ้านผมมีไฟจราจรให้คนข้ามถนนโดยไม่มีฟุดบาตเพราะเอาไปปลูกต้นไม้หมดมาสองปีแล้ว

บางทีสันดานที่หนักที่สุดของไทยคือสันดานของชนชั้นปกครองที่ชอบโทษคุณภาพของประชาชน

 

เชื่อ

ตลอดชีวิตของผม ผมใช้โทรศัพท์มือถือมาแล้วประมาณครึ่งโหล สองเครื่องเป็น Nokia และอีกสองเครื่องเป็น Samsung

สองอันดับแรกของโทรศัพท์ที่ขายดีที่สุดในไทยตอนนี้…

เครื่องปัจจุบันผมใช้ Wellcom W3319 เป็นเครื่องหลักเครื่องเดียวมาหลายเดือนแล้ว นับแต่มันวางตลาดมา เห่อมาก ไปซื้อตั้งแต่มันออก

ผมใช้เครื่องนี้ทุกครั้งที่ขึ้นรถไฟฟ้า แม้รอบตัวผมจะเต็มไปด้วย BlackBerry จริงๆ แล้วผมพกเครื่องนี้ไปงานสัมมนา BlackBerry ด้วยซ้ำไป

มีคำถามมากมาย เมื่อผมใช้เครื่อง W3319 นี้ มันทนไหม? ศูนย์มันเป็นยังไง? เสียงดีไหม? ฯลฯ

มีข้อเสียมากมายที่ถามมาเมื่อใหร่ ผมก็ต้องบอกว่ามันห่วย หน้าจอที่ไม่ทนต่อแสงแดดแม้แต่น้อย ความเสถียรในระดับแย่ ผมเจอจอขาวเฉลี่ยสองวันรอบ

แต่ใครถามว่าผมชอบมันไหม ผมก็ตอบได้อย่าเต็มปากเป็นคำว่าชอบมันมาก ทำไมน่ะหรือ

– QWERTY
– jibjib 48 ชั่วโมงต่อเนื่องต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง
– 2,990 บาท เครื่องศูนย์

สามข้อนี้ไม่มีโทรศัพท์เครื่องอื่นให้ได้ และถ้าทั้งสามข้อนี้สำคัญสำหรับคุณ W3319 จะเป็นทางเลือกที่ดี

ที่ผมไม่ชอบคือผู้ผลิตที่ไม่เชื่อแม้แต่ของที่ตัวเองผลิต เราเห็น Nokig, Nokla, Nakia ก้นมากมาย ขณะที่พวกเขาพยายามพร่ำบอกข้อดีของสิ่งที่เขาขาย แต่เขากลับไม่ได้แสดงความเชื่อในสิ่งที่เขาขายว่ามันมีจุดขายอย่างที่พวกเขาบอก

ขณะที่พวกเขาบอกว่าสิ่งที่เขานำเสนอนั้นมีข้อดี แต่เขาก็ได้แค่แอบอิงข้อดีนั้นไว้ภายใต้ชื่ออื่นๆ

ถ้า W3319 ของผมเป็นยี่ห้ออื่นที่ทำอย่างเดียวกัน ผมคงไม่กล้าใช้แม้ความดีมันจะอยู่ครบ

ปล. บทความนี้ไม่ใช่บทความโทรศัพท์