ลงทุน

วันนี้สั่งหนังสือมาสองเล่ม ค่อนข้างหนา

พี่คนหนึ่งเดินมาเห็น เลยพูดขึ้นว่าการเรียนเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างแพง และมีความเสี่ยง

ค่อนข้างแพงคือ เราต้องเสียเวลาเรียน ค่าเรียน

ขณะที่ความเสี่ยงคือเรื่องที่เราเรียนน่ะ มันจะยังได้ใช้ไปอีกนานแค่ไหนกัน และสร้างรายได้กลับมาให้เราเท่าใหร่

ผมกลับไปมองหนังสือเล่มนั้นอีกครั้ง มันหนากว่า700 หน้า ใช้เวลาอ่านไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง ขณะที่ไม่มีใครรู้ได้ ว่ามันจะสร้างรายได้ให้กับผมได้สักบาทหรือไม่

ผมเปิดหนังสือขึ้นอ่าน….

….เนื้อหามันสนุกดี….

 

OpenSource’s Way

Oracle has 50,000 employees. That’s 50,000 people waking up each day to work on Oracle products, and those 50,000 get paid by Oracle each day. We have 50,000 people download our software everyday and work to make it better. But we don’t pay them. Which model would you rather have?
– Marten Mickos. MySQL AB’s CEO

อ่านสัมภาษณ์ของ Mickos แล้วได้ใจมาก อ่านแล้วเออ โอเพนซอร์สมันทรงพลังวะ่

 

แก่น

จากบล็อก mk เรื่อง Support Centric Design ผมเชื่อมาเสมอว่า แท้จริงแล้ว ธุรกิจหนึ่งๆ จะดำเนินไปได้ มันเป็นไปด้วยการดำเนินการให้แก่นของธุรกิจนั้นเดินหน้าไปอย่างเต็มที่

ปัญหาคือเรามองแ่ก่นของแต่ละเรื่องไม่เห็น มากกว่าที่ว่าเราแก้ปัญหาไม่ไ้ด้

ผมเชื่อว่าแก่นปัญหาของการศึกษาไทย ไม่ใช่การที่เราจับเด็กท่องจำ หรือไม่มี Child-Center อะไรอย่างนั้น

ผมเชื่อว่าแก่นของปัญหาคือคนต่างหาก ธุรกิจการศึกษาคือธุรกิจว่าด้วยการจัดหาคนคุณภาพสูงมาสอนเด็ก ปัญหาของเราไม่ใช่ิวิธิการ แต่ปัญหาของเราในวันนี้คือเรามีคณะครุศาสตร์เป็นคณะที่มีคะแนนเอนทรานซ์ต่ำเกือบๆ จะสุดท้ายของประเทศ

ขณะเดียวกันเล่าปัญหาซอฟท์แวร์ห่วยในวันนี้คืออะไร ผมเรียน Software Engineering มา พบว่ามีกระบวนการหลากหลายที่มุ่งเน้นทั้งคนทำ หรือคนใช้ โดยส่วนตัวแล้วทั้งสองแบบมันทำร้ายคนลงทุนไม่ต่างกันเท่าใหร่เลย

ผมเชื่อว่าคุณภาพซอฟท์แวร์มันจะมาได้ด้วยกระบวนการที่ดีต่างหาก หากเรามุ่งความต้องการของคนใช้เป็นหลัก สิ่งที่ผมเห็นคือโปรแกรมที่พันกันยุ่ง พร้อมๆ กับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นแบบ Exponential หากเรามองด้านเทคนิคเป็นหลักโปรแกรมที่ได้อาจจะเรียบหรู แต่ขาดความสามารถที่จำเป็น

กระบวนการที่ดี การรีวิวที่เป็นขั้นตอนต่างหากที่เราควรทำให้มันเกิดขึ้นมากกว่าจะมาเถียงกันว่าจะเอาใจใครดี

คำถามคือถ้าเราแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ หมายถึงเราไม่ต้องมองด้านอื่นๆ แล้วอย่างนั้นหรือ….

 

โอเพนซอร์สกับ 30 บาท

ผมเป็นคนหนึ่งที่เห็นด้วยกับโครงการ 30 บาท “ในหลักการ” มาโดยตลอด แนวคิดง่ายๆ คือคนเราไม่ว่าจะยากดีมีจนยังไง ก็ไม่ควรมีใครต้องเป็นไข้หวัดตายอยู่ข้างถนน มันสำคัญกว่าที่จะให้มีทางออกที่ให้ทุกคนใช้ได้โดยเท่าเทียมกัน

พล่ามเรื่องที่ตัวเองไม่เชี่ยวมา ก็ไม่มีอะไร ผมมองว่ารัฐควรสนับสนุนโครงการโอเพนซอร์สในระดับเดียวกับโครงการ 30 บาท นั่นล่ะ อาจจะถึงเวลาที่รัฐต้องบอกว่ามีทางเลือกขั้นต่ำที่ฟรีในการใช้งานทั่วไป โดยรัฐรับประกันว่าจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

โครงการพวกนี้อาจจะต้องรวมเช่น ระบบปฏิบัติการ, เวิร์ดโปรเซสเซอร์, สเปรตชีท, กราฟฟิก และบราวเซอร์ ทั้งหมดนี้ต้องใช้ร่วมกันได้ ระดับที่ว่าลงชุดนี้แล้วเข้าถึงระบบของภาครัฐได้แทบทั้งหมด

ที่ผ่านมา ดูเหมือนเรายังขาดความจริงจังกันอยู่มาก โปรแกรมจำนวนมากที่ใช้ภาษาไทยได้ในตอนนี้เป็นการช่วยกันทำของคนกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่ได้รับประกันอะไรว่าเมื่อผมย้ายไปใช้งานกับเขาแล้ว จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โค้ดทั้งหมดต้องถูก Commit เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโค้ดหลักของแต่ละโครงการ

ในความเป็นจริงแล้ว โปรแกรมระดับพื้นฐานทั้งหมด หากต้องการพัฒนาภาษาไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีฐานเป็นโค้ด GPL ทั้งหมด ผมเชื่อว่ามันทำได้โดยบริษัทขนาดไม่เกิน 20 คน ค่าใช้จ่ายต่อปีไม่เกิน 10 ล้าน

น้อยกว่าค่าคอมพิวเตอร์ 100 ดอลลาร์แน่ๆ ล่ะ

ถึงเวลานั้น ไมโครซอฟท์จะไล่จับซอฟท์แวร์เถื่อนไปถึงในบ้าน ผมว่าก็ไม่ใช่เรื่องซีเรียสอะไร หากคนยังมีทางออกกันอยู่