หูฟัง

เพิ่งได้ iPod shuffle กับ BeyerDynamic DT-660 มาใช้ ก่อนซื้ออ่านมามากพอดูเอาว่ามาเล่าให้ฟังกันหน่อยถึงการเลือกหูฟัง หัวข้อง่้ายจัด…

เลือกอย่างไรให้ดัง

ถ้าเคยซื้อหูฟังดีๆ ที่ขนาดใหญ่ๆ หน่อย บางครั้งอาจจะพบว่าหูฟังที่เพิ่งซื้อมาหลายพัน ปรับเสียงดังจนสุดแล้ว ก็ยังแทบจะไม่ได้ยินอะไร พาลโทษเครื่องเล่น mp3 ตัวโปรดว่าไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ หรือไม่ก็โทษว่าหูฟังไม่ดีเอาง่ายๆ

ในความเป็นจริงแล้วหูฟังจะเสียงดังได้พอที่เราจะฟังเพลงได้อย่างสุนทรีย์ มีตัวแปลหลักๆ อยู่สามตัว คือ พลังงานที่รับได้ ความต้านทานภายใน และความไวของไดอะเฟรม

พลังงานที่รับได้ เคยอ่านเจอเครื่องเสียงที่บอกว่าเท่านั้นเท่านี้วัตต์กันใช่ไหม เวลาอ่านสเปคหูฟัง ข้างกล่องก็มักจะมีบอกเลขวัตต์นี้ไว้เหมือนกัน ส่วนมากจะน้อยนิด อาจจะแค่ 0.1 วัตต์ หรือน้อยกว่านั้น ยิ่งตัวเลขตรงนี้เยอะ แสดงว่ามันรับพลังงานจากเครื่องได้มาก ทำให้มีโอกาสที่จะเปิดดังๆ ได้

ความต้านทานภายใน เป็นอีกตัวแปรหลักที่จะทำให้หูฟังราคาแพงที่เราซื้อมามันไม่เวิร์คกับเครื่องของเรา ใช้หลักการไฟฟ้าที่เรียนกันตอนปีหนึ่งปีสอง เรื่อง Maximum Power Transfer จะพบว่าถ้าเครื่องเล่นของคุณมีความต้านทานภายในไม่เท่ากับหูฟัง พลังงานที่เข้ามาในหูฟังจะลดลงแล้วเสียไปกลายเป็นความร้อนไปซะอย่างนั้น

เครื่องเล่นเพลงขนาดเล็กๆ ส่วนมากจะอยู่ที่ 32 โอล์ม ขณะที่เครื่องระดับใหญ่ๆ จะอยู่ที่ประมาณ 280 โอล์ม ที่บ้านเคยซื้อหูฟังมาคู่นึงมัน 600 โอล์มได้ ฟังเครื่องไหนก็แทบไม่ได้ยิน อย่างหนึ่งคือขนาดของหูฟังไม่ได้สัมพันธ์กับความต้านทานนี้ หูฟังขนาดเล็กๆ ที่ความต้านทานสูงๆ แม้จะหายาก แต่ก็พอมีอยู่ ส่วนหูฟังใหญ่ๆ ที่ความต้านทานต่ำนี่ ผมใช้อยู่ตัวนึง

ความไวของไดอะเฟรม เรื่องภาษาอังกฤษว่าค่า Sensitivity เป็นตัวบอกว่าเมื่อใส่พลังงานเข้าไปค่าหนึ่ง แล้วมันจะออกเสียงมาดังแค่ไหน โดยมากแล้วหูฟังขนาดเล็กๆ ที่ใช้ๆ กันมันจะอยู่ที่ 95-105dB ได้ แต่ถ้าหูฟังดีๆ หลายรุ่นมันจะไปอยู่ที่ 85dB ซึ่งหมายความว่าที่พลังงานเท่ากัน หูฟังพวกนี้มันแปลงพลังงานเป็นเสียงออกมาได้น้อย ต้องอัดพลังงานเข้าไปให้มันเยอะๆ ถึงจะดัง

ปล. ถ้าใครเห็นผมใช้หูฟังตัวใหม่กับเจ้า shuffle แล้วอย่าแปลกใจ เพราะมันเข้ากันได้ในทางเทคนิคเป็นอย่างดี

 

ง่าย

เพิ่งได้ iPod shuffle ที่สั่งไปเมื่อเดือนที่แล้วมาเมื่อวาน ผมเลือกใช้ iPod shuffle หลังจากที่ใช้เครื่องเล่น mp3 ของจีนแดงมาพักใหญ่ๆ เครื่องที่แล้วนั้นเลือกง่้ายจัด แค่เดินไปเข้าร้าน แล้วบอกว่า 256 เมกที่ถูกที่สุดมาเครื่องนึง

ผมได้อะไรจากเครื่องนั้นหลายอย่าง เช่นว่า

  1. เครื่องเล่น mp3 เรามักต้องการใช้ฟังกันประมาณร้อยละ 99.9999123 ของเวลาใช้งานทั้งหมด
  2. แต่มักไม่สำเร็จ เพราะเราต้องเลือกโฟลเดอร์ตอนเปิดเครื่องแล้วร้อยละ 1
  3. เมื่อฟังจบหนึ่งโฟลเดอร์แล้ว เราต้องเสียเวลาอีกร้อยละ 1 มานั่งเปลี่ยนโฟลเออร์
  4. ปุ่ม hold เป็นปุ่มที่สร้างความสัับสนให้กับการใช้งานมากทีี่สุด แม้แต่กับวิศวกรอย่างผมเอง

เรื่องฟีเจอร์ปะทะความง่ายนี้เป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่กระทั่งในการทำงานด้าน IT เอง ในมุมมองวิศวกรอย่างผมแล้ว การใส่ความสามาำรถที่ไม่จำเป็นสร้างปัญหาได้มากกว่าการไม่มีมันอยู่ตั้งแต่แรก

ในขณะที่ผู้ใช้คิดต่างกัน คือโปรแกรมหนึ่งๆ ควรมีความสามารถตั้งแต่สากกะเบือยันเป็นเรือรบ

ไมโครซอฟท์ผงาดขึ้นมาได้เพราะอย่้างนี้เอง ถ้าใครจำได้ เวอร์ชั่นแรกๆ ของเวิร์ดมันฟอร์แมตแผ่นดิสก์ได้ด้วยนะ

มันถึงเวลารึยังที่เราจะเรียนรู้ว่า simplest is the best

หรือเราต้องเรียนรู้กันต่ออีก

 

แปล

เกิดฟิตจะแปลบทพูดของสตอลแมน เรื่อง GPLv3 ขึ้นมาเลยเมลไปขอเจ้าของลิขสิทธิ ได้รู้อะไรเพิ่มอีกหลายอย่าง เช่น

  • หน่วยงานไม่หวังผลกำไรในต่างประเทศทำงานกันโคตรเร็ว เมลไปสิบห้านาที ตอบมาเรียบร้อย
  • เวลาจะแปลเอกสาร ใช้โปรแกรมเฉพาะอย่าง OmegaT ชีวิตมีความสุขกว่ามานั่งเปิดเวิร์ดโปรเซสเซอร์สองหน้าต่างมาก
  • ภาษาอังกฤษเขียนยังอ่อนด้อย เร่งแก้ไขโดยด่วน
  • เรียนการเขียนจดหมายติดต่องาน แต่พอมาเขียนในโลกความเป็นจริงนี่มันคนละเรื่องเลย ตอนเรียนให้ร่ายยาว น้ำเพียบ ต้องมีมารยาท สอบถามสารทุกข์สุกดิบกันยาวเหยียด โลกความเป็นจริงสามสี่บรรทัด กับคำขอบคุณลงท้ายก็จบ

เรื่องที่ต้องทำหลังเรื่องนี้

  • ลงวิกิได้แล้ว ให้ชาวบ้านมาช่วยกันแก้เอกสารจะได้มีเวลาไปแปลของใหม่ๆ มาเพิ่ม
  • เขียนวิธีใช้ OmegaT ด้วย อย่าให้คนอื่นต้องมานั่งเปิดโปรแกรมสองหน้าต่างเหมือนที่ตัวเองเคยเป็น
  • ถ้ายังฟิตอยู่ อย่าลืมไปขออันนี้มาแปลด้วย
 

WordPress and Flickr

เรื่องนึงที่ทำให้ไม่ชอบโพสรูป เป็นเพราะลักษณะส่วนตัวที่เกลียด hotlink อยู่ในใจ ค่อนข้างรำคาญเวลาเข้าเว็บที่เคยเร็วๆ แล้วพบว่ามันไปโหลดภาพมาจากเว็บอื่นที่โคตรช้า ผลคือหน้านั้นช้าไปทั้งหน้า

เป็นเรื่องขึ้นมาเพราะเกิดอยากทำ Photoblog กับเค้าบ้าง แต่แนวคิดคือไม่อยากใช้ตัวจัดการภาพใน WordPress ซึ่งค่อนข้างแย่ สู้ว่าใช้มืออาชีพอย่าง Flickr ไม่ได้ แต่แนวคิดเดิมคือไม่อยากทำ hotlink ก็ยังฝังหัว

อุดมคติคือการที่ผมกดเลือกภาพจาก Flickr แล้วโพสมันเหมือนกับว่ามันเป็นภาพในเว็บของผมเอง พร้อมๆ กับที่โพส WordPress จะไปดึงภาพมาให้เอง อาจจะเลือกเวลาให้ WordPress เช็คภาพใหม่ได้บ้างนานๆ ทีแบบการแคชภาพ

ปรากฏว่ามันไม่มีทางออกทางนี้ล่ะสิ

แน่นอนว่าต้องทำเอง แต่ของที่มีอยู่แล้วมีอยู่สองอย่างคือ flickrRSS กับ WP-Flickr Post Bar
อย่างแรกแคชภาพไว้ในโฮสต์เราเองได้ แต่ัรับภาพจาก RSS เท่านั้น อีกตัวเลือกภาพมาใส่แต่ละบล็อกได้เลย แต่แคชภาพไม่ได้ -_-”

เอาเป็นว่าตอนนี้อัลบั้มภาพก็กลายเป็น Embedded Flickr Slideshows ไปชั่วคราว ไว้จะกลับมาแก้กันต่อไป