ถ – งานที่ทำอยู่้เป็นไงมั่ง
ต – ก็ดีระดับนึง
ถ – แล้วครอบครัวล่ะ เป็นไงบ้าง
ต – ก็พอใช้ได้ ระดับนึง
ถ – รู้สึกยังไงกับชีวิตที่ผ่านมาบ้าง
ต – ก็พอใจในระดับนึงนะ
ถ – งานที่ทำอยู่้เป็นไงมั่ง
ต – ก็ดีระดับนึง
ถ – แล้วครอบครัวล่ะ เป็นไงบ้าง
ต – ก็พอใช้ได้ ระดับนึง
ถ – รู้สึกยังไงกับชีวิตที่ผ่านมาบ้าง
ต – ก็พอใจในระดับนึงนะ
ได้อ่านบล็อกหนึ่งที่พูดถึงคนที่เขา (คนเขียน) รักอย่างหมดใจ ถึงขนาดที่ว่าจำได้ว่าวันไหนคุยกันกี่นาที ทำอะไรร่วมกันบ้าง ฯลฯ
ผมอดคิดไม่ได้ว่าถ้าสาวเจ้ามาเห็นเข้า คงประทับใจไม่น้อย แต่แล้วในใจหนึ่งผมก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ความรักแบบนี้นั้นจะคงอยู่ไปนานสักเท่าใหร่กัน
เมื่อนึกขึ้นไป ผมกลับมานึกถึงว่า เป็นเรื่องปรกติทีเดียว ที่เราจะมองความรักด้วย “ปริมาณ” เราชื่นชมคู่รักคู่หนึ่ง ด้วยความคิดที่ว่า เขาและเธอนั้นรักกัน “เพียงใด” ในมุมกลับกันแล้ว มีคู่รักที่อยู่ในสภาพระหองระแหง วันหนึ่งดีกัน และอีกวันหนึ่งเกลียดกัน แต่เขาและเธอก็ยังคง “รัก” กันเสมอมา
ในช่วงชีวิตที่ไม่ได้ยาวนานอะไรของผม ผมพบว่าคุณค่าของสิ่งหนึ่งๆ ที่เรามองเห็น กลับไม่ได้เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ชี้วัดด้วยเพียงค่าบางอย่าง น่าแปลกที่สังคมมักชี้เป็นชี้ตายกันด้วยค่าเหล่านั้นเสมอๆ อาจจะด้วยเหตุผลที่ว่ามันง่าย หรือเป็นค่าที่เป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วไป
เช่นเมื่อตอนเรียนอยู่ ผมถูกวัดคุณค่าด้วยเลขทศนิยมสองหลักที่เรียกว่าเกรดกันเสมอๆ เมื่อโตขึ้นมาเลขนี้กลายเป็นจำนวนเต็มที่เรียกว่าเงินเดือน แม้จะผ่านเกณฑ์ของผู้คนรอบข้างมาได้ด้วยดีตลอด แต่น่าแปลกที่ชีวิตผมกลับพยายามวิ่งหนีค่าเหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง
บางทีชีวิตของเรา อาจจะไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมา ให้ถูก “วัด” ด้วยมาตราที่มีอยู่ในโลกนี้ เราอาจจะไม่ได้รับอนุญาตให้วัดคุณค่าของใครคนใดคนหนึ่ง สิ่งที่เราทำได้อาจจะเป็นเพียงการประเมินในส่วนที่เล็กที่สุดของคนคนนั้น
แต่เราล่ะ…..
จะยอมทำแค่นั้นกันได้ไหม…..
สืบเนื่องจากน้องนัทมารายงานข่าวมารายงานข่าวว่า ที่มหาวิทยาลัยของน้องเค้าโดนสั่งห้ามว๊ากเป็นการถาวรไปแล้ว เลยมาให้ช่วยคิดกิจกรรมใหม่ๆ ไปเสนอกัน อันนี้เป็นกึ่งๆ ความรับผิดชอบเพราะไปปะทะคารมกับน้องเค้าไว้ตั้งแต่ปีก่อน
แนวคิดหลักๆ ของผมที่มีต่อการรับน้องก่อนแล้วกัน แนวคิดพวกนี้ตกตะกอนมาจากแนวคิดก่อนๆ หน้า
แนวคิดอะไรประมาณนี้จะทำให้เกิดกิจกรรมเดียว ที่ทุกคนในมหาวิทยาลัยทำร่วมกันได้นี่เป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้ดี “ในภาพรวม” ได้ ยิ่งเราต้องคิดถึงแนวคิดข้อ 4 ในเรื่องความแตกต่างเข้าไปด้วยแล้ว แต่เท่าที่ลองนึกๆ ดูก็มี
แนวคิดพวกนี้ เอาเข้าจริงแล้ว มันก็แค่การสมมติในหัว และเขียนอธิบายอยู่ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ สุดท้ายแล้วการเปลี่ยนแปลงคงต้องเจอความเจ็บปวดกันไม่น้อยจากการล้มลุกคลุกคลานของการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การเจ็บปวดในวันนี้ ก็เป็นการลดความปวด หากต้องเจอความเปลีั่ยนแปลงในวันพรุ่งนี้เสมอๆ
Now is better than never.
Although never is often better than *right* now.
The Zen of Python
พ.ศ. นี้มันยังมีตัดรุ่นอีกเหรอเนี่ย……
ที่สำคัญคือยังมีเด็กเชื่อมันด้วย!!!!
ประเทศไทยยังต้องพัฒนาเรื่องการเข้าถึงข้อมูลกันอีกนานเลย