Dedicated Virtual

ช่วงนี้ทำ Linux เยอะ เลยอยากเปิด Hosting ของตัวเอง แน่นอนว่าถ้าจะเปิดจริงๆ ต้องไม่ใช่โฮสต์แบบที่มีจนเต็มบ้านเต็มเมืองแล้วตอนนี้

ผมนึกถึง Blade Server ที่กำลังได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ในโลกของระบบไอทีระบบองค์กรณ์ แต่อยากได้อะไรที่ง่ายกว่านั้น ลองนึกถึงบอร์ด Atom 20-30 บอร์ด ถูกอัดเข้าไปในเคสแบบ Tower เพียงตัวเดียว มันกินไฟแค่ 1,000 watt

ความสวยงามของมันคือเราสามารถขาย Dedicated Server ได้ในราคาที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน ราคาอาจจะใกล้เคียงกับเครื่องที่เป็น VPS แต่ทุกคนได้ Dedicate จริงๆ และแน่นอนว่าปัญหาที่เคยเกิดขึ้นใน VPS เช่น Disk Access ช้า อะไรอย่างนั้น จะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป

แน่นอน โลกมันไม่สวยงามขนาดนั้น ประเด็นหลักที่เราต้องแก้ไขในเรื่องนี้คือ Manageability ของระบบ เราไม่สามารถยัดเครื่อง 20 เครื่องลงไปในกล่องๆ เดียวแล้วขายๆ ไปโดยที่ใครอยากจะลง OS อะไรให้ไปลงกันเอาเองโดยเดินทางไปศูนย์ข้อมูลได้

ฟีเจอร์ที่เราต้องการ

– รีเซ็ตเครื่องได้จาก remote (อาจจะรวมถึงสั่งปิดเปิดได้) อันนี้จะมีประเด็นเรื่องระบบจ่ายไฟด้วย ATX Supply แบบปรกติใช้ไม่ได้แหงๆ
– mount iso ได้ ไว้ลงซอฟต์แวร์
– เข้าไปดูหน้าจอเครื่องผ่าน remote ได้ตลอดเวลา อันนี้เป็นความท้าทายมาก ถ้าใช้ IP KVM ก็ไม่ยากมาก แต่จะแพงจัด

จริงๆ ก็มีเท่านี้นี่หว่า

Atom 1 บอร์ด ประมาณ 3,500 บาท รวมแรมและฮาร์ดดิสก์แล้วประมาณ 7,000 บาท โดยประมาณ ค่าเช่าเดือนละ 2,000 บาท (ดีกว่า VPS ทั้งแรมและพื้นที่แน่นอน) หักค่าใช้จ่ายรายเดือนไปแล้วระยะคืนทุนน่าจะอยู่ที่ครึ่งปี

น่าสนแฮะ

 

My first IDF

มางาน IDF ปีนี้เจอ PR ของอินเทลทีไรคำถามแรกคือ มา IDF เป็นครั้งแรกหรือ?

…ส่งผมมาอีกสิครับ จะมาทุกปีเลย :P

จริงๆ แล้ว IDF เป็นงานที่ค่อนข้างดีมาก แบ่งฝั่งระหว่าง Business กับ Technology ชัดเจน วันนี้ไปคุยกับ Engineer ของอินเทลเรื่อง DisplayPort มาว่ามันดีกว่ายังไง คำตอบที่ได้น่าสนใจมาก ว่ามันสามารถปรับ Bandwidth ไปมาได้ทำให้ได้เปรียบเรื่องพลังงาน อีกอย่างคือจำนวนสายของ DisplayPort ใช้ 6-14 เส้น ในโน๊ตบุ๊กนี่มีผลมาก ไว้พรุ่งนี้จะพยายามเข้าไปฟัง Session นี้

พักเรื่องเทคนิคมาเข้าเรื่องกินอยู่กันมั่ง

มื้อแรกพี่ PR ของอินเทลพาไปกินร้าน Ju-ru บนตึก Taipei 101 ชื่อตึกนี้ไม่มีจริงๆ ได้มาจากการที่มันตั้งอยู่บนรหัสไปรษณีย์ 101 ด้วย

ขึ้นชื่อว่าอาหารจีนแล้ว ต้องมันย่องๆ เลยมีชาไว้ให้กิน ก็ยังดี

จานแรกเป็นกุ้งผัดอะไรซักอย่าง คล้ายๆ หัวหอม แต่กลิ่นไม่ใช่ อร่อยสุดแล้วในมื้อนี้

อันนี้เป็นแป้งห่อผัดผัด กัดแล้วน้ำจะทะลักออกมา กินลำบากดีเหมือนกัน

แกงกระหรี่นี่มันเป็นอาหารจีนรึเปล่า? แต่ก็มีในเมนูล่ะ

อีกจานข้างหลังเป็นซี่โครงหมูฝัดซอร์สส้ม อร่อยมาก แต่หมูมันจัด ต้องเลือกกินเนื้อๆ

เสร็จแล้วก็ออกมาเดินเล่น

ที่นี่โค้กแพงมาก 600cc ประมาณ 25 บาท ขวด 2 ลิตร 50 บาท

แต่รถเมลกับกับรถไฟนี่ดีมาก สายไม่ซับซ้อน ป้ายบอกเส้นทางชัดเจน

ไม่รู้ว่าทำไมเรื่องนี้บ้านเรามันคิดกันไม่ได้ ทำไมต้องเอาเส้นทางไปแปะข้างตัวรถ จะแข่งอ่านเร็วกันหรือยังไง

แล้วรถเสริมเนี่ยนะ… เฮ้อ…

ไฟแดงที่นี่เป็นสีเขียว ทั้งเมืองเลย

มีโฆษณา Google Chrome ตามถนนอีกต่างหาก

กูเกิลเคยบอกว่าทำ Chrome เพราะอยากให้โลกอินเทอร์เน็ตดีขึ้นเท่านั้น ตามความเห็นของผม …ไม่จริง…

บ้านเรามี iStudio บ้านเค้ามี Studio A

มาต่อทีหลัง

 

Sukishi

[วันก่อนที่ไปกิน Zen](http://lewcpe.com/blog/archives/728/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B4/) แล้วมีคนพูดถึง เลยมาถึงตา Sukishi กันมั่ง

ผลการทดสอบเป็นดังนี้

– ชุดข้าวหมูทอด (ทงคัตสึ) ราคา 120.- เท่าฟูจิ (Zen ราคา 140.-)
– ชาเขียวเติมฟรีตลอดเหมือน Zen (ที่ฟูจิคิดตามกาที่สั่ง)
– ผมรู้สึกว่าปัญหาชาเขียวไม่ร้อนที่เจอที่เซ็นเมื่อวันก่อน เป็นกันไปทั่วในภาวะคนน้อยๆ เพราะชาจะหมดช้า
– ใจนึงก็ไม่อยากโทษ เพราะความใจดีของพนักงานที่เอากาใบเท่าหม้อหุงข้าวมาวางไว้ข้างๆ โต๊ะรอเติม พร่องปุ๊บมาปั๊บ
– ไม่ต้องรอเหมือนฟูจิ
– คุณภาพอาหารผมว่าตัวหมูทอดมันขาดๆ อะไรไปหน่อยนึง อธิบายไม่ถูก
– เรื่องตลกเล็กๆ คือ พอผมสั่ง “ทงคัตสึเซ็ต” พนักงานจะทวนออเดอร์เป็น “ชุดหมูทอด” แต่พอผมสั่งของหวานเป็น “โมจิถั่วแดง” พนักงานจะทวนกลับมาเป็นภาษาญี่ปุ่น (จำไม่ได้ล่ะ)

โดยสรุปแล้ว ผ่านครับ ถ้าไม่ได้ชอบเซ็นหรือฟูจิเป็นพิเศษ ผมว่า Sukishi นี่เป็นทางเลือกที่ดีพอตัว นั่งสบาย จิบชาไปเรื่อยๆ ได้ ราคาโอเค

 

ความผิดพลาด

มีคำกล่าวไว้ ว่าคนที่ไม่เคยผิดพลาดคือคนที่ไม่เคยทำอะไรเลย

เราทุกคนล้วนเคยผิดพลาดด้วยกันทั้งนั้น เราควรจะเรียนรู้จากมัน และเราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน

สักวันหนึ่งความเจ็บปวดจากความผิดพลาดจะทำให้เราเป็นผู้ใหญ่ขึ้น

แต่แม้เราเรียนรู้จากมันแล้ว และไม่ได้เจ็บปวดกับมันอีกต่อไป

หลายๆ ครั้งที่เรามองย้อนกลับไปในความผิดพลาดของเรา ก็คงอดไม่ได้ที่จะถามกับตัวเองว่าเราเสียอะไรไประหว่างทางนั้น