ทดสอบ Flock O.7 Beta

เมื่อค่อนปีก่อน mk พูดถึงเรื่อง Flock ไว้ว่าเป็น Firefox 1.5 + Extension + Theme ทำให้ผมไม่สนมันไปโดยสิ้นเชิง เพราะขัดกับหลักการส่วนตัวเป็นอย่างแรง ด้วยแทนที่จะลดให้เล็กและเร็ว ดันไปเพิ่มความสามารถเข้าไปเยอะจนกินเมมโมรีมากขึ้นไปอีกหลายช่วงตัว

แต่ช่วงหลังที่เขียนบทความใน Blognone ผมกลับพบว่าผมต้องการความสามารถอื่นๆ มากกว่าพื้นฐานบ้าง เพราะการเขียนบล็อกเพื่อรีวีวโปรแกรมสักอัน แต่ต้องเขียนบน Writer แล้วจับรูปภาพเข้า Paint.NET เพื่ออัพโหลดเข้า Flickr แล้วลิงก์มาเขียนบล็อก มันช่างปวดร้าวได้ใจกันจริงๆ แต่ Flock ให้คุณทำทุกอย่างข้างต้นได้ง่ายกว่า ฉะนั้นเลยไม่รีรอที่จะเอามารีวิวให้ดูกัน

… 

 

Scale-Out Within

กระแส Virtualization กำลังมาแรงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งซีพียูรุ่นใหม่ๆ ที่แอบใส่ความสามารถพวกนี้เอาไว้หมดแล้ว แม้จะเป็นซีพียูสำหรับใช้ในบ้านอย่าง Core Duo ก็ยังมี โดยเฉพาะกลุ่มคนใช้แมค ที่รำคาญการใช้ Bootcamp ก็เป็นตลาดให้กับส่วนนี้เป็นอย่างดี

แต่พอมาูดูราคาโฮสต์พวกที่ให้บริการ Virtualization เข้าจริง พบว่าราคาไม่เวิร์คเอามากๆ ด้วยราคาปีละเกือบหมื่น ได้แรมเพียง 64 เมก กับซีพียูระดับ 200 MHz หมดสิทธิทำ Database ซับซ้อนอะไรมากมาย

ต้นทุนของการวางเครื่องหลักๆ มีสองส่วนคือค่าเครื่อง + ค่าซ่อมบำรุง กับค่าวางเครื่องตามดาต้าเซ็นเตอร์ เครื่องขนาดมินิทาวเวอร์ราคาประมาณ 2500 ต่อเดือนได้ ปีนึงก็สามหมื่น

แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเอากล่องมินิทาวเวอร์พวกนี้มาใส่บอร์ดพวก Mini-ITX ของ Via เข้าไป กล่องนึงใส่ได้หกถึงแปดชุด น่าจะพอไหว หาซัพพลายตัวใหญ่ๆ หน่อยใส่เข้าไปด้วยกัน พร้อมฮาร์ดดิสก์ RAID อีกสักสี่ห้าลูก แชร์กันทุกเครื่อง อาจจะใช้ iSCSI กับเราท์เตอร์อีกตัวยัดเข้าไปในกล่องด้วยกัน ให้ใช้ IP เดียวกันทุกเครื่อง ในเราท์เตอร์อาจจะต้องมีซอฟต์แวร์แชร์ระดับ URL แต่ใช้พวก Linksys ก็ลงลินุกซ์ทำได้อยู่แล้ว

กล่องนึง ข้างในมีคอมพิวเตอร์หกเครื่อง ราคาคงอยู่ที่หกเจ็ดหมื่นได้ รวมค่าโฮสต์แล้วก็ประมาณแสน แต่ไ้ด้ซีพียูของตัวเองจริงๆ แรมหลายร้อยเมก แถมถ้ามีเครื่องเหลือข้างใน ทิ้งไว้เป็น Failover ให้กับเครื่องอื่นได้อีก

ไม่มีเงินลองทำเล่นเองแฮะ…

 

หลักฐาน

พอดีวันก่อน mk เกิดจุดประเด็นที่น่าสนใจ ว่าทำอย่่างไรจึงจะสามารถทำให้การพูดคุยกันบนอินเทอร์เน็ตนั้นไร้หลักฐานได้อย่างสมบูรณ์

แน่นอนว่าหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์เช่นไฟล์ log นั้นยากจะน่าเชื่อถือ แต่ถ้าสมมติเหตุการณ์ว่าโจรสองคนกำลังวางแผนจะไปปล้นแบงค์ แล้วคนใดคนหนึ่งเกิดเปลี่้ยนใจแจ้งตำรวจมานั่งมองจอคอมพิวเตอร์ขณะคุยกัน อย่างนั้นก็ถือว่ามีหลักฐานได้แล้ว

ในกรณีเช่นนี้เราอาจจะใช้เครือข่ายเช่น Tor เพื่อสร้างการพูดคุยที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นใคร และเป็นตัวจริงหรือไม่

แต่พอคุยกันโดยไร้หลักฐานเช่นนี้แล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นคนที่เราจะคุยด้วยจริงๆ

เป็นความขัดแย้งกันเองระหว่าง Anonymous กับ Authentication

ุสุดท้ายแล้วมันต้องมีจุดหนึ่ง ที่ทั้งสองคนจะมายืนยันว่าจะนัดแนะกันไปพูดคุยกันในที่ๆ ไม่มีหลักฐาน เช่นไปบอก URL ของ chat room กันกลางทะเลทรายอะไรอย่้างนั้น ตรงนั้นก็นับว่าเป็น Point of Failure ของการพูดคุยอย่างไร้หลักฐานได้ เช่นว่า ถ้าตอนคุยกันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแอบอัดเทปไว้ ก็สร้างหลักฐานให้กับการสนทนาต่อจากนั้นทั้งหมดได้เหมือนกัน