Exponential

คน 1 คน Tag 5 คน
คน 5 คน Tag 25 คน
คน 25 คน Tag 125 คน
คน 125 คน Tag 625 คน
คน 625 คน Tag 3125 คน
คน 3125 คน Tag 15625 คน
คน 15625 คน Tag 78125 คน
คน 78125 คน Tag 390625 คน
คน 390625 คน Tag 1953125 คน
คน 1953125 คน Tag 9765625 คน
คน 9765625 คน Tag 48828125 คน
คน 48828125 คน Tag 244140625 คน
คน 244140625 คน Tag 1220703125 คน
คน 1220703125 คน Tag 6103515625 คน

14 ต่อก็หมดโลกพอดี

 

์No Censorship Pact

พยายามใช้ freenet แล้วพบว่าความยุ่งยากมีอยู่จริง การทำงานที่ซับซ้อนแต่ให้ฟีเจอร์ที่ต่ำกว่ามาตรฐานทำให้ freenet ไม่น่าได้รับความนิยมในวงกว้าง อย่างน้อยก็ในช่วงห้าปีข้างหน้านี้

ผมนึกถึงอะไรที่ง่ายกว่า อย่างการทำ Planet ด้วยการให้เว็บมาสเตอร์ 3 – 5 คน ที่ไม่มีความกดดันทางการเมืองร่วมกัน เช่นอยู่คนละประเทศที่กฏหมายต่างกัน โดยเฉพาะประเทศที่ไม่มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนต่อกัน หนึ่ีงในนั้นอาจจะเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศที่มีความเสรีในการแสดงความคิดเห็นสูงๆ หรือเป็นผู้มีความสามารถในการตั้งโฮสต์อย่างนิรนามเต็มรูปแบบ

ทั้งกลุ่มร่วมกันสร้าง Blog สาธารณะ ที่ไม่มีความพยายามในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เกินไปกว่าที่กฏหมายของตน ทุกคนสนับสนุนให้ผู้ใช้ของตนเข้าถึงเว็บผ่านทาง HTTPS และใช้ Proxy สาธารณะที่ตั้งอยู่ในประเทศที่สามเพื่อความเป็นส่วนตัว

ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือเว็บมาสเตอร์ทุกคนตกลงร่วมกันว่าจะส่งข้อมูลที่เว็บของตนได้รับไปยังเว็บพันธมิตร “ทันที” เนื่องจากเว็บมาสเตอร์พันธมิตรคนอื่นๆ ไม่มีความกดดันทางการเมืองร่วมกัน หากเว็บมาสเตอร์คนใดคนหนึ่งได้รับการกดดันให้ต้องลบข้อความส่วนใด หรือบางส่วนเขาก็ลบไปตามแรงกดดันนั้นได้เลย เนื่องจากข้อความนั้นๆ จะถูกเก็บไว้ในประเทศอื่นแล้ว

ประเด็นต่อมาคือการโพสทั้งหมดต้องได้รับการ Digital Sign จากเจ้าของข้อความ ในขณะที่ไม่มีการระบุตัวตนของผู้ใช้ แต่ผู้ใช้คนอื่นจะไม่สามารถปลอมแปลงเป็นอีกคนได้ โดยกระบวนการนี้จะไม่ได้รับประกันว่าผู้ใช้เครือข่ายนี้จะไม่โพสข้อความโดยแสดงตัวเองเป็นผู้ใช้หลายคนแต่อย่างใด

เท่าที่ลองนึกดูซอฟต์แวร์อย่างนี้สามารถสร้างได้ไม่ยากนักใช้ PHP กับ Rest อีกสองสามคำสั่งก็น่าจะได้แล้ว ไว้ว่างๆ มานั่งเขียนดู

 

My Choice of the Year 2006

เบื่อๆ เลยมาให้รางวัลของเจ๋งๆ ที่มีในท้องตลาดกันดีกว่า

CPU: AMD Turion X2
อินเทลอาจจะมี Core 2 Duo สุดแรง แต่ใครสนกันล่ะ ในเมื่อราคามันเกินเอื้อมของคนส่วนใหญ่ ส่วนรุ่นราคาถูกกลับสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้อย่างไม่รู้จบด้วยการตั้งชื่อรุ่นสุดสับสน ที่มีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่จะรู้ว่า T5500 ไม่มี Virtualization ส่วน T5600 จะมี ด้วย Turion X2 คุณจะได้ครบทั้ง Virtualization, X86-64, No-Execution bit ในราคาเครื่องต่ำกว่า 30k

Game: Wii
ผมไม่เล่นเกม เกมสุดท้ายที่ผมเล่นคือ CounterStrike เครื่องเล่นเกมที่ผมได้จับเครื่องสุดท้ายคือ SEGA GameGear (มีใครรู้จักบ้าง???) แต่ด้วยเครื่อง Wii ความแปลกใหม่ ยิ่งเจอเดโมเกม Rayman เข้าไปนี่ โอกาสที่จะเป็นเครื่องเล่นเกมเครื่องต่อไปในบ้านนี่มีสูงมาก

Gadget: A2DP
ี่ผมต้องเจอปัญหาสายหูฟังจะพันคอตายมาหลายต่อหลายครั้ง A2DP เข้ามาช่วยแก้ปัญหา ด้วยการส่งข้อมูลแบบไร้สาย แค่ใส่หูฟัง คุณจะมีโลกส่วนตัวในรัสมีทำการ 3-10 เมตร เปิดคอมแล้วไปนอนฟังเพลงบนเตียงได้เลย

Web: Drupal
นานมาแล้วที่ Blognone ย้ายไปใช้ Drupal ซึ่งนอกจากระบบการจัดการ User ที่เหนือกว่าแล้ว ผมเองก็ยังไม่ได้ทำอะไรมากมาย จนเมื่อมีโครงการ Blog@Blognone เราก็ได้พบกับความทรงพลังของ Drupal ด้วยระบบการเขียน Plugin ที่ทรงพลังกว่า ให้การเข้าถึงทุกส่วนได้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง WordPress

Software: OpenOffice 2.10
ผมเชื่อว่าการรับภาษาไทยตั้งแต่ต้นน้ำของ OO.o จะทำให้โปรแกรมนี้มีผลกระทบต่อโลกธุรกิจในไทยอย่างสูงในระยะยาว โลกธุรกิจอาจจะยินดีซื้อไลเซนส์ Windows XP แจกพนักงานได้ไม่ยาก แต่ SME ทั้งหลายอาจจะไม่ชอบใจที่จะจ่ายเงินเป็นหมื่นเพื่อซื้อ MS Office ให้พนักงานทุกคน OO.o2 ให้ทางเลือกที่พอเพียง ตรงไปตรงมาก แพตซ์ของโนเวลล์ที่จะช่วยให้ OO.o ทำงานร่วมกับ MS Office ได้อย่างเต็มระบบ แม้จะมีปัญหาด้านสิทธิบัตรในสหรัฐ แต่กับผู้ใช้ในไทยประเด็นนี้นับว่าสร้างประโยชน์ในระยะสั้น-กลางได้เป็นอย่างดี

Person: You known who
You known why.

 

DRM?

เพิ่งเห็นว่าคุณ Ford Antitrust เอาบล็อกผมไปอ้างตอนเขียนถึงเรื่อง DRM ที่น่าสนใจคือในบล็อกเดียวกันมีการเขียนบทความขนาดยาวที่ค่อนข้างโดนใจ เลยคิดว่าบ่นๆ มาหลายทีแล้ว น่าเขียนเรื่องนี้ให้ชัดๆ สักที ก่อนอื่นคนอ่านบทความนี้ควรเข้าใจว่า DRM คืออะไรแล้วนะครับ ไม่ขอกล่่าวถึง ถ้าสนใจแล้วหาข้อมูลไม่ได้ ควรไปถามในบอร์ดสาธารณะเช่นเว็บบอร์ดของ Blognone

โดยส่วนตัวแล้ว ผมเกลียด DRM มาก เพราะมันน่ารำคาญแต่อย่างใดก็ตาม ผมเชื่อว่าผู้ขาย และศิลปินผู้สร้างสรรผลงานมีสิทธิที่จะใช้ DRM ในงานของเขาได้เสมอ การใช้ DRM ในซีดีเพลงซักแผ่นไม่ใช่ความชั่ว มันเป็นสิทธิที่ผู้ขายจะขายสื่อของตนในรูปแบบใดๆ ที่คุณต้องการ ไม่ต่างจากวันนี้ถ้าผมทำเพลงที่โคตรดังขึ้นมาซักเพลง แล้วผมจะบอกว่ามีขายเฉพาะในรูปแบบแผ่นเสียง มันคงไม่ใช่ข้ออ้างว่าก็คุณไม่ทำเพลงเอ็มพีสามออกมาขาย คนทำเอ็มพีสามขายเลยไม่ผิด

การละเมิดลิขสิทธิเป็นความผิดอยู่แล้วไม่ว่ามันจะเข้าท่าแค่ไหนก็ทีเถอะ

แต่สำหรับค่ายเพลงส่วนใหญ่แล้ว การนำ DRM มาใช้ในทุกวันนี้ คือความผิดที่ผู้บริโภคควรเรียกร้องสิทธิของเรากลับคืนมา กรณีเหล่านี้เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยแผ่นวีซีดีภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ที่มีการใส่ Trojan ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานเต็มพิกัดตลอดเวลาจนไม่สามารถทำงานอย่างอื่นได้ ค่าขนเอาคอมขึ้นแท็กซี่ไปซ่อมที่พันทิบคงเป็นหลายเท่าตัวของค่าแผ่นหนังอยู่มาก ความเสียหายเช่นนี้ชัดเจนจนหน่วยงานต่างๆ ไม่ควรละเลยที่จะคุ้มครองผู้บริโภคโดยให้ให้เหตุผลว่าผู้กระทำผิดทำไปเพราะต้องการป้องกันตัวเองจากการละเมิดลิขสิทธิ นี่เป็นคนละกรรมกัน (ภาษากฎหมาย)

กรณีต่อมาคือการแอบๆ ใส่โปรแกรม DRM ไว้ตามแผ่นซีดีต่างๆ โดยไม่แจ้งให้ผู้บริโภคได้รับรู้อย่างชัดเจนว่าแผ่นซีดีเหล่านั้นจะมีข้อจำกัด ทำให้แผ่นเหล่านั้นไม่สามารถใช้งานได้ในบางกรณี การจำกัดการใช้งานไม่ใช่เรื่องผิด หากมีการระบุอย่างชัดเจน อย่างที่ผมยกตัวอย่างไปว่าถ้าผมจะทำเพลงแล้วอัดใส่แผ่นเสียงขายอย่างเดียว คงชัดเจนว่าข้อมูลจากแผ่นเสียงคงไม่สามารถนำไปฟังในคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง แต่กับแผ่นซีดีนั้นเล่า เครื่องเล่นที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์ของผมก็ระบุมาตรฐานชัดเจนว่ารองรับมาตรฐาน CD-AUDIO แล้วทำไมผมจึงไม่มีสิทธิในการใช้งานแผ่นซีดีที่ผมซื้อมา

กรณีการแอบๆ ใส่ Jitter เข้าไปในข้อมูลเสียงเพื่อให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านได้นั้น เป็นการกระทำที่ชั่วร้ายไม่ต่างจากการใส่โทรจันเข้าไปในวีซีดีแต่อย่างใด เนื่องจากตัวแผ่นเองไม่ทำตามมาตรฐาน Red Book ที่เป็นมาตรฐานการผลิตซีดี ผลที่ได้คือไม่มีใครสามารถบอกได้เลยว่าจะมีเครื่องเล่นใดบ้างที่อ่านแผ่นดังกล่่าวได้หรือไม่อย่างไร การบอกว่าคอมพิวเตอร์อ่านไม่ได้ แต่เครื่องเล่นเพลงทั่วไปอ่านได้นั้นเป็นคำตอบสั่วๆ ของการใช้เทคโนโลยีอย่างไร้ความรับผิดชอบ เพราะข้อเท็จจริงคือเครื่องเล่นเพลงหลายรุ่นในท้องตลาดไม่สามารถอ่านแผ่นเหล่านี้ได้ ในทางกลับกัน เครื่องอ่านซีดีที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์จำนวนมากกลับสามารถอ่านแผ่นเหล่านั้นได้อย่างไร้ปัญหา

อย่างไรก็ตามแม้การใส่ Jitter เข้าไปในข้อมูลเสียงนั้นจะเป็นความน่าเกลียดทางวิศวกรรม และการตลาดที่ย่ำแย่ แต่ผมยังคงเชื่อว่าศิลปินและผู้ผลิตสามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้ โดยระบุข้อจำกัดให้กับผู้บริโภคอย่างชัดเจน ประการแรกเลยคือต้องถอดเครื่องหมาย CD-AUDIO ออกจากหน้าแผ่น พร้อมกับต้องสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นเพื่อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ผลิตกับผู้ขายว่ามีเครื่องเล่นใดบ้างที่รับรองว่าสามารถใช้งานแผ่นเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง กรณีเช่นนี้หากการคุ้มครองผู้บริโภคบ้านเราเข้มแข็งพอก็น่าจะหมายถึงการแนบเอกสารไว้นอกกล่องซีดีว่าแผ่นที่กำลังจะซื้อนั้นสามารถใช้ได้กับเครื่องเล่นยี่ห้อใด รุ่นใดบ้าง หากเครื่องเล่นของผู้บริโภคไม่อยู่ในรายการ ผู้บริโภคจะได้สามารถเลือกไม่ซื้อแผ่นดังกล่าวได้โดยไม่ต้องมีปัญหาภายหลัง แน่นอนว่าการกระทำเช่นนั้นกระทบกับยอดขาย แต่มันเป็นทางเลือกของผู้ผลิตเองที่จะเลือกเดินทางนั้น

แต่ในฐานะอดีตลูกค้าของค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ (ที่ซื้อแต่แผ่นอินดี้แล้วในช่วงหลัง) ผมสงสัยอยู่สองอย่างคือ ฝ่ายเทคนิคที่นำเทคโนโลยีพวกนี้มาใช้งาน เชื่ออย่างบริสุทธิใจจริงๆ น่ะหรือว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มันจะช่วยแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิลงไปได้ กับอีกประการคือบริษัทเหล่านี้ไม่มีฝ่ายการตลาดที่ศึกษาตลาดมาดีพอว่าในตลาดความบันเทิงนั้น คือพึงพอใจของลูกค้ามาเป็นอันดับหนึ่งเลยหรือ?

น่าสงสัย…