Blognone 3.0

เหงาๆ เปลี่ยวๆ อาการ​คล้าย​อก​หัก ว่า​แล้ว​เลย​มา​นั่ง​จินตนาการ​ถึง Blognone 3.0 กัน​ดี​กว่า

Blognone 3.0 ควร​แบ่ง​บท​ความ​ออก​เป็น 3 แบบ

แบบ​แรก เป็น​หัว​ข้อ​ข่าว​สั้น​ไม่​มี​เนื้อ​หา อย่าง​เช่น “Redhat ซื้อ JBoss” จบ​ใน​ตัว มี​ลิงก์​ไป​ยัง​ที่​มา​ข่าว​แค่​นั้น ตรง​นี้​จะ​เปิด​โอกาส​ให้​สมาชิก​ที่​กลัว​ว่า​ตัว​เอง​เขียน​ไม่​เก่ง มี​ส่วน​ร่วม​ได้​มาก

แบบ​ที่​สอง​คือ​ข่าว​แบบ​ใน​ปัจจุบัน​มี​เนื้อ​เรื่อง​ไม่​ยาว​มาก

แบบ​ที่​สาม​คือ​บท​ความ จะ​เป็น​ข่าว​หรือ​บท​ความ Indepth ก็​ตาม ควร​จะ​ถูก​เรียก​กว่า​บท​ความ​ให้​หมด ลักษณะ​คือ​บท​ความ​ขนาด​ยาว ต้อง​ใช้​เวลา​อ่าน​สัก​หน่อย

อีก​ส่วน​ที่​ไม่​เกี่ยว​เลย​คือ Forum ควร​จะ integrate ใน​ตัว​เอง​เพื่อ​ความ​สะดวก​ใน​การ​ใช้​งาน

ฟีเจอร์​ที่​ควร​มี

“เกี่ยว​ข้อง​กัน” ใน​กรณี​ที่​บท​ความ​มี​ความ​เกี่ยว​ข้อง​กัน​เช่น​ข่าว​สั้น​ถูก​ขยาย​เป็น​ข่าว​เต็ม​ใน​เวลา​ต่อ​มา ก็​สามารถ​ลิงก์​ถึง​กัน​ได้​ด้วย​ปุ่ม​เกี่ยว​ข้อง​กัน หรือ​จะ​เป็น​ข่าว​เก่า​ก็​ใส่​ได้​ด้วย​ฟีเจอร์​เกี่ยว​ข้อง​กัน สิ่ง​ที่​ควร​มี​อีก​อย่าง​คือ เมื่อ​ข่าว​ใหม่​เกี่ยว​ข้อง​กับ​ข่าว​เก่า​แล้ว หน้า​ข่าว​เก่า​ควร​มี​ลิงก์​มา​ข่าว​ใหม่​ด้วย เวลา​คน​เข้า​มา​จาก​กู​เกิลจะ​ได้​อ่าน​ต่อ​ได้​เลย

“วิกิ” บท​ความ​ทั้ง​หมด ควร​เป็น​ไป​ใน​ลักษณะวิกิ จะ​มี​คน​ที่​มี​สิทธิ​แก้​ไข​โหนด​ที่​ไม่​ใช่​ของ​ตน​เอง​เสมอๆ ที่​ต้อง​มี​อีก​อย่าง​คือ​ปุ่ม Credit Me เป็น​ใน​ลักษณะ​ที่​ว่า​ถ้า​คุณ​คิด​ว่า​การ​แก้​ไข​นี้​มี​ผล​พอ สามารถ​ขอ​เครดิต​ได้ โดย​ชื่อ​คน Submit จะ​ถูก​ต่อ​ท้าย​จาก​คน​โพสไป และ​มี​หน้า diff ให้​ดู​สมาชิก​ที่​มี​สิทธิ เข้า​ดู​ได้​ทุกๆ หน้า

“Moderate” สมาชิก​ชิ​กทุกคนจะโพ​สบ​ทความ​ได้​ทุก​รูป​แบบ​ใน​ทันที แต่​หาก​ไม่​ได้​กำหนด​ไว้​เป็น​พิเศษ บท​ความ​ของ​สมาชิก​ท่าน​นั้น​จะ​ถูก​เข้า​คิว Moderate ซึ่ง​จะ​มอง​เห็น​เฉพาะ​สมาชิก​ด้วย​กัน​เท่า​นั้น และ​มี​สี​แตก​ต่าง​จาก​บท​ความ​ทั่ว​ไป เพื่อ​ให้​รู้​ว่า​บท​ความ​นี้​รอ​การ​ลง​มติ​เห็น​ชอบ​อยู่ สำหรับ​คน​ที่​มี​สิทธิ​ใน​การ Moderate ก็​จะ​มี​ปุ่ม Moderate/Delete เอา​ไว้​ท้าย​ชื่อ​บท​ความ การ​ที่​ให้​สมาชิก​มอง​เห็น​บท​ความ​ได้​ทุก​คน​ก็​เพื่อ​ที่​จะ​เปิด​โอกาส​ให้​มี​การ​ช่วย​กัน​แก้​ไข​ก่อน​เอา​บท​ความ​ขึ้น​หน้า​แรก​ได้ เมื่อ​คุณภาพ​ได้​ระดับ​แล้ว​คน​ที่​มี​สิทธิ Moderate ก็​มี​กด​เอา​ขึ้น​ไป​เอง

“เอา​ไป​ใช้” ปุ่ม​พิเศษ​ที่​เป็น Javascript กด​แล้ว​เกิด Textbox ให้​ก๊อปเนื้อข่าวไปวางใน​เว็บ​ได้​ทันที โดย​มี​การ​ฟอร์แมต​ทั้ง​การ​ลิงก์​กลับ​มา​ยัง Blognone และ​การ​ให้​เครดิต​คน​เขียน​อย่าง​สำเร็จ​รูป ไม่​ต้อง​คิด​มาก อาจ​จะ​ต้อง​รอง​รับ BB Code ด้วย เพราะ​คน​เอา​ไป​โพ​สตามเว็บ​บอร์ด​เยอะ

ที่​เหลือ​ก็​จะ​เป็น​สิ่ง​ที่​ควร​มี​ทั่วๆ ไป เช่น เมลเตือนว่า​มี​คน reply หรือ​มี​คน​มา​แก้​บท​ความ​ของ​เรา, Private Message, Comment อะไร​พวก​นั้น

 

เขียนอย่างไร

อยากทำบทความประมาณ how-to blognone อะไรอย่างนั้นมาสักพัก อันนี้ถือเป็น Alpha1 แล้วกันนะ

เรื่องการเขียนบทความใน Blognone โดยทั่วไปแล้วแนวคิดคือการมีส่วนร่วมของเหล่าสมาชิก ทีมงานหลัก Blognone คือผมกับมาร์คมีความเห็นตรงกันคือ อยากเห็นผู้อ่านมีส่วนร่วม เพราะเราเคยอ่านผ่านสื่อที่ผู้อ่านมีส่วนร่วมน้อยมาก่อน สิ่งที่เราคิดคือการที่เราไ่ม่สามารถมีส่วนร่วมกับสื่อต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความเห็น หรือการเสนอแนะว่าควรติดตามหรือไม่ติดตามข่าวใด ทำให้สื่อในยุคเก่าๆ ตอบสนองเราได้ไม่ดีเลย

การเขียนใน Blognone จึงเริ่มจากความกล้าเป็นส่วนใหญ่ ถ้าย้อนกลับไปสมัยเว็บเปิดใหม่ๆ เมื่อเืกือบสองปีก่อน จะเห็นบทความยุคเก่าๆ ที่ยังค่อนข้างไม่มีแนวทาง หรือกา่รใช้ภาษาที่ยังอ่อนแอกว่าในตอนนี้มากๆ แต่ทีมงานก็ทำเว็บมาเรื่อยๆ พร้อมกับการปรับปรุงไปอย่างช้าๆ แต่ต่อเนื่อง อาจจะบอกได้ว่านี่เป็นอีกข้อดีของ Blognone คือขณะที่คุณแบ่งปันให้กับสังคมโดยรวม จะมีคำวิจารณ์ และความคิดเห็นเพื่อช่วยพัฒนาตัวผู้เขียนไปด้วยเช่นกัน

อย่ากลัวที่จะแตกต่าง แม้สังคมโดยรวมของ Blognone จะมีแนวคิดคล้ายคลึงกันในหลายๆ ส่วน อย่ากลัวที่จะแสดงความเห็นที่แตกต่างออกไป หากความเห็นนั้นมีแนวคิดสนับสนุนที่มีเหตุผลมารองรับเพียงพอ เช่นแม้ทีมงาน Blognone จะสนับสนุนการใช้ Firefox แต่หากคุณต้องการเขียนบทความเกี่ยวกับการใช้ IE หรือข้อดีของมัน เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่ยอมรับได้สำหรับทีมงาน แต่อย่างไรก็ตามทีมงานยังคงสงวนสิทธิที่จะเผยแพร่แนวคิดของตน ผ่านทางโฆษณาหรือบทความบทตัวเว็บเอาไว้

อย่ากลัวความผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความแม่นยำของข้อมูล หรือการใช้ภาษา ตลอดจนรูปแบบของข่าว ทีมงานขอเพียงผู้เขียนทุกท่านตรวจสอบความถูกต้องเท่าที่ทำได้ โดยอาจจะตรวจจากเว็บ หรือแหล่งข่าวที่ท่านเชื่อถือ แต่หากเกิดความผิดพลาดและมีผู้แจ้งเข้ามา ก็อย่ากลัวที่จะแก้ไขเช่นกัน เราถือเป็นเรื่องที่ยนอมรับได้กับความผิดพลาด และการแก้ไขแม้มันจะเกิดขึ้นบ่้อยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เรามีขีดจำกัดของความผิดพลาดที่เรายอมรับไม่ได้ หรือความผิดพลาดที่ทีมงานเห็นในทันทีโดยไม่ต้องการการตรวจสอบเพิ่มเติม ในกรณีเช่นนี้ บทความของท่านอาจจะถูกลบโดยไม่ได้ขึ้นหน้าแรก

แนวคิดข้างต้นเป็นแนวคิดโดยรวมๆ ของการเขียนทั้งความเห็นและข่าว แต่สำหรับข่าวแล้ว ควรเพิ่มเงื่อนไขเพื่อแสดงความเป็นข่าวเอาไว้ด้วย เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ที่ควรมีคือทำไมเราจึงควรสนใจข่าวนั้นๆ ส่วนเพิ่มเติมที่จะมีหรือไม่มีก็ได้เช่นผู้เขียนมีความเห็นอย่างไรต่อเหตุการณ์นี้ ซึ่งจะเห็นทีมงานใส่ไว้เสมอๆ

ขอให้ทุกท่านสนุกกับการ “มีส่วนร่วม” ในเว็บของเรา

 

Feed

ช่วงหลังคนอ่าน Blognone ทาง Feed กันเยอะมาจนน่าสงสัยว่าจะเลิกเข้าเว็บกันหมดแล้วหรือยังไง

แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วการอ่าน Feed น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า สำหรับยุคที่ข่าวสารเกินที่คนทั่วไปจะรับได้หมดอย่างในยุคนี้ แทนที่เมื่อก่อนจะมานั่งเปิดเว็บทีละ 20 นาที อ่าน Feed รอบนึงครึ่งนาทีก็อ่านหมดแล้ว

ว่าแต่ทำไมมันถึงมาพุ่งเอาอาทิตย์ที่แ้ล้ว???

 

ทดสอบ Flock O.7 Beta

เมื่อค่อนปีก่อน mk พูดถึงเรื่อง Flock ไว้ว่าเป็น Firefox 1.5 + Extension + Theme ทำให้ผมไม่สนมันไปโดยสิ้นเชิง เพราะขัดกับหลักการส่วนตัวเป็นอย่างแรง ด้วยแทนที่จะลดให้เล็กและเร็ว ดันไปเพิ่มความสามารถเข้าไปเยอะจนกินเมมโมรีมากขึ้นไปอีกหลายช่วงตัว

แต่ช่วงหลังที่เขียนบทความใน Blognone ผมกลับพบว่าผมต้องการความสามารถอื่นๆ มากกว่าพื้นฐานบ้าง เพราะการเขียนบล็อกเพื่อรีวีวโปรแกรมสักอัน แต่ต้องเขียนบน Writer แล้วจับรูปภาพเข้า Paint.NET เพื่ออัพโหลดเข้า Flickr แล้วลิงก์มาเขียนบล็อก มันช่างปวดร้าวได้ใจกันจริงๆ แต่ Flock ให้คุณทำทุกอย่างข้างต้นได้ง่ายกว่า ฉะนั้นเลยไม่รีรอที่จะเอามารีวิวให้ดูกัน

…