Safety

CFDA AWARDS DRESSES CELEBRITY OCCASION DRESSES

ไปเกาหลีมาแล้วประทับใจไอ้นี่สุด มันคือปลั๊กสำหรับพื้นที่ภายนอก (ในห้องน้ำก็ใช้แบบนี้) มีฝาปิดเรียบร้อย ทางออกสายไฟอยู่ด้านล่าง ถ้าโดนน้ำสาดปกติไม่น่าจะเข้าได้

บ้านเราส่วนมากสายไฟจะชี้ออกตรงๆ กัน กล่องปลั๊กแบบภายนอกก็ป้องกันน้ำได้เฉพาะเวลาไม่ได้ใช้งาน ถ้ามีแบบนี้น่าจะปลอดภัยขึ้นเยอะ

 

ความเป็นส่วนตัวกับการตลาด

แชร์ใน FB เรื่อยๆ (ไม่เปิด public) มาร์คมาบอกว่าควรเขียนบทความ ไว้เตรียมพร้อมอีกหน่อยแล้วคิดอีกที หลักๆ คือแต่ละคนมีความคาดหวังไม่เหมือนกันว่าอะไรเป็นเรื่องส่วนตัวบ้าง บางคนก็ไม่มีความคาดหวังความเป็นส่วนตัวใดๆ จนถึงกับแชร์หมายเลขบัตรเครดิตกันได้

  • เราควรตระหนักว่า “กรณีที่แย่ที่สุด” ของข้อมูลส่วนตัวแต่ละอย่างหากหลุดไปคืออะไร เช่น หน้าบัตรเครดิต (ยังมีเว็บที่ไม่ต้องการ CCV อยู่ไหม ความเสี่ยงเพิ่มไหม), บัตรประชาชน (โดนเอาไปเปิดเบอร์โทรศัพท์), ที่อยู่ (จะมี stalker มาส่องหน้าบ้านไหม)
  • เมื่อตระหนักแล้ว คงต้องมีการวาง “มารยาทพื้นฐาน” ประมาณหนึ่งว่ามารยาทของการเคารพความเป็นส่วนตัวต่อคนรอบข้างเราควรเป็นอย่างไร เจอเพื่อนตามสถานที่ต่างๆ จะ tag ลง Facebook แล้วโพส public นี่ควรไหม, ทวีตบอกว่าเจอเพื่อนไปกินข้าวกับสาว ฯลฯ
  • มารยาทพื้นฐานระหว่างบุคคลในเรื่องความเป็นส่วนตัวเป็นเรื่องหนึ่ง มารยาทขององค์กรต่อบุคคล (ลูกค้า, แฟนคลับ ฯลฯ) เป็นอีกเรื่องหนึ่ง มารยาทต่อองค์กรควรสูงกว่า
  • มารยาทพวกนี้ยิ่งต้อง “สูงสุด” จนไม่ใช่แค่มารยาทแต่เป็นข้อบังคับถ้าเป็นหน่วยงานที่เก็บข้อมูลสำคัญมากๆ เช่น องค์กรรัฐ (ที่บังคับเอาข้อมูลไปจากเราโดยไม่มีทางเลือก) หรือบริการส่วนตัวเช่นการเงิน ข้อมูลสุขภาพ ฯลฯ มารยาทของหน่วยงานพวกนี้ควรสูงกว่าข้อบังคับไปอีกระดับ
  • ในแง่ข้อมูลเพื่อการตลาด ผมมองว่าถ้าไม่ “ใกล้ชิด” เกินไปบ้าง ก็คงพอให้กันได้ ผมเองชอบที่ Amazon แนะนำหนังสือตามประวัติการซื้อของผม (ซึ่งทำให้ผมเจอหนังสือดีๆ อีกหลายเล่ม)
  • ปัญหาสำคัญคือข้อมูลพวกนี้ ควรโปร่งใสในกระบวนการเก็บ เช่นว่าจะเก็บอะไร เก็บไปเพื่ออะไร และนโยบายในการเก็บเป็นอย่างไร (แนวคิดนี้แกะมาจากหนังสือ Data and Goliath)
    • เก็บอะไรคือบอกชัดเจน เช่น ประวัติการซื้อของคุณ (สมาชิกร้านค้า), ข้อมูลติดต่อ, พฤติกรรมการอ่าน
    • เก็บไปทำไม วิเคราะห์พฤติกรรม (แบบรายคนเพื่อแนะนำสินค้า, แบบกลุ่มเพื่อปรับปรุงบริการ), เพื่อติดต่อกลับ
    • นโยบายการเก็บเป็นอย่างไร (มีระยะเวลาไหม, แจ้งลบได้หรือไม่, หรือเมื่อเราเลิกใช้งานจะลบอัตโนมัติ) มีการส่งต่อหรือไม่ (ไม่ส่งต่อ, ส่งต่อจำกัด, ส่งต่อไม่จำกัด, ส่งต่อแบบลบข้อมูลระบุตัวตน, ผู้รับต่อมีนโยบายการเก็บเท่าเทียมกันไหม)
  • ขำๆ เช่นว่าจัดรางวัลชิงโชค มีแบบฟอร์มก็บอกกันตรงๆ ว่าขอข้อมูลติดต่อด้วย ใช้เพื่อติดต่อกลับ หลังจากจบงานแล้วจะเก็บไว้แจ้งงานหน้า ยกเว้นจะติ๊กไม่ร่วมงานหน้า แบบนี้ก็ถือว่าครบทุกข้อในตัว (ไม่ขอส่งต่อต้องถือว่าส่งต่อไม่ได้, เก็บไว้งานหน้าคือถ้าเลิกจัดก็ลบทิ้ง, ไม่ร่วมงานหน้าคือจบงานนี้ก็ลบเลย)
  • ไว้ต้องหาแนวทางประเทศต่างๆ เพิ่มเติมอีกที Data and Goliath บอกว่าตอนนี้ EU Directive น่าจะดีสุดก็ยังไม่ได้อ่าน
 

The Short Drop

Olivia Munn orange dress at Oscars 2016 red carpet

นิยายเรื่องราวของแฮกเกอร์ชื่อว่า Gibson Vaughn แต่เอาจริงๆ ไม่ได้เป็นเรื่องราวของแฮกเกอร์อะไร แต่เป็นนิยาย thriller การเมือง, สืบสวน

  • ต่างไปหน่อยคือการอ้างอิงเรื่องคอมพิวเตอร์แม่นยำ ไม่มีอะไรเวอร์เกินจริง
  • ตัวนิยายสนุกสมราคา แต่ความรู้สึกคือโดยรวมๆ มันก็ไม่ได้สนุกขนาดนั้น แต่แฟนๆ ใน Amazon เยอะมาก ไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร
  • ใน Goodreads ได้ 4.2 คะแนนแถมมีสองหมื่นกว่ารีวิว
  • กำลังจะออกเล่มสองเร็วๆ นี้ (ก็ไม่แปลกเพราะเล่มแรกดังมาก)
  • โดยรวมๆ ไม่มีความประทับใจอะไรเป็นพิเศษ ถ้าไม่จดไว้ก็อาจจะลืมว่าเคยอ่านเล่มนี้
 

#เท่าทันสื่อ

เห็น @supinya พูดถึงเรื่องการรู้เท่าทันสื่อแล้วคิดถึงเรื่องของตัวเอง

ผมมองว่าการที่เราจะบอกว่าเรา “เท่าทัน” อะไรสักอย่างอย่างคงต้องเป็นการก้าวข้ามจากการเชื่ออย่างหมดใจมาเป็นการมองตามความเป็นจริง สิ่งที่เราไม่เคยเชื่อถือเราคงไม่ต้องการการเท่าทันเท่าไหร่นัก เพราะไม่ว่าสิ่งนั้นจะบอกอะไรเรา เราก็ไม่เคยเชื่อหรือไม่เคยสนใจอยู่แล้ว

การที่จะบอกว่าให้เราเท่าทันสื่อก็คงเป็นเรื่องที่สมมติอยู่บนฐานว่าคนจำนวนนึงเชื่อว่าสื่อบอกอะไรมาก็เป็น “ความจริงอันสมบูรณ์” ไปในทันที (ซึ่งก็คงมีจริง) และการเท่าทันก็เป็นเรื่องที่เราต้องบอกให้คนกลับมาคิดว่าสื่อเองก็มีความผิดพลาดหรือความไม่สมบูรณ์ได้เหมือนกัน

สำหรับผมเองการ “เท่าทัน” ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งคือการเท่าทัน “ครู”

ด้วยระบบการศึกษาไทยที่มีการแบ่งชั้นชัดเจน ผมถูกปลูกฝังมาว่าครูคือผู้ถือความถูกต้องเอาไว้เสมอ ความรู้สึกและความเชื่อนี้เป็นจริงในช่วงเวลาหลายปีในชีวิตนักเรียน

แล้ววันหนึ่งผมก็รู้ว่าครูก็สอนผิดเป็น

มันก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนักกับการที่คนๆ หนึ่งจะสอนอะไรผิดไป แต่สำหรับนักเรียนที่เชื่อว่าครูคือผู้ถือความจริงอันสมบูรณ์มันสร้างคำถามในชีวิตว่า แล้วต่อจากนี้กูจะเหลืออะไรให้เชื่อได้อีกบ้าง ในแง่หนึ่งมันคืออาการ “โลกสลาย” เมื่อเราพบว่าโลกที่เราเคยรู้จักมันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

บทเรียนหลังจากนั้นผมเจออะไรอีกหลายอย่างที่ต้อง “เท่าทัน” ทั้งครูอีกหลายๆ คนที่พบว่าสามารถเล่าเรื่องตาม forward mail ได้อย่างเป็นจริงเป็นจังโดยไม่ได้ตรวจสอบ คนในวงการศาสนาที่ทำผิดเสียเอง งานวิจัยเมกผล งานวิจัยอ้างผลเกินจริง ฯลฯ อีกมากมาย

โลกที่เคยสลายไปแล้วก็สลายไปอีกหลายๆ ครั้ง จนมันไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร มันก็แค่การมองโลกที่โลกมันเป็น

โลกมันเป็นอย่างนี้ เราเองถูกสอนให้มองโลกอย่างที่มันไม่เคยเป็น เราเองถูกสอนว่าอะไรเชื่อถือได้อะไรเชื่อถือไม่ได้ อะไรคือความ “สมบูรณ์” ในตัวเอง ผมมองกลับไปแล้วพบว่าแม้ครูคนหนึ่งจะสอนผิดแต่เขาก็สอนสิ่งที่ถูกต้องอีกหลายอย่าง แม้ครูคนหนึ่งจะเล่าเรื่องตาม forward mail อย่างมั่วซั่วแต่เขาก็เตรียมการสอนในเนื้อหาอย่างดีเยี่ยม

โลกมันเป็นแบบนี้ของมัน มันไม่มีความสมบูรณ์ในตัว ถ้าเราไม่คาดหวังความสมบูรณ์ และเรียนรู้ว่าทุกอย่างอาจจะผิดได้ แม้แต่ตัวเราเองที่ประสบการณ์เปลี่ยนไป เรื่องที่เราบอกว่าพิจารณาไตร่ตรองมาอย่างดีว่าถูกต้อง ตัวเราเองในอนาคตก็บอกว่ามันผิดได้เหมือนกัน

การเท่าทันสื่อเลยไม่ใช่เรื่องใหญ่โตที่ผมคิดว่าเราต้องไปอะไรเป็นพิเศษนัก ถ้าเรายังมีช่องทางที่เราเชื่อว่ามัน “สมบูรณ์” อยู่ ช่องทางนั้นก็คงเป็นช่องทางที่เราต้องเรียนรู้จะเท่าทันมันต่อไป