คำแรงไปหน่อยแต่หาคำอื่นสั้นๆ มาแทนไม่ถูก
สองวันก่อนผมอยู่ที่สิงคโปร์ ผมพบความจริงหลายๆ อย่าง
- รถห้าคันที่ผมนั่ง ขับแย่กว่าแท็กซี่ในไทยทั้งหมดที่ผมนั่งในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาในไทย
- คนสิงคโปรไม่ค่อยเข้าแถวขึ้นรถไฟฟ้า
- ถนนถ้าไม่กว้างเว่อๆ หรือจราจรหนาแน่นมาก เขาก็ข้ามไม่เลือกที่เหมือนกัน
- พอถังขยะเต็ม คนสิงคโปร์ก็กองขยะไว้ข้างถังเหมือนๆ กันเรา
- แม้จะมีป้ายห้ามจอด พร้อมกับขู่ปรับเงินถึง 200 S$ แต่คนสิงคโปร์ก็ยังจอดตรงหน้าป้าย
แต่สิ่งที่ผมเห็น
- ถังขยะในสิงคโปร์เยอะมาก ผมไม่เคยต้องถือขยะไว้ในมือเกินสิบนาทีก่อนเจอถัง
- ตลอดการเดินทาง ผมพบถังขยะเต็มล้น 1 ถังถ้วน (แม้อีกถังจะไม่ไกล คนสิงคโปร์ก็ยังวางขยะไว้ข้างๆ ถังนั่นแหละ)
- รถไฟฟ้าสิงคโปร์คันยาวมากและมาบ่อย ผมไม่เคยเห็นคนรอเกิน 10-15 คนต่อประตู
- ป้ายจราจรทั้งหมดชัดเจนมาก แยกใหญ่เล็กมีไฟคนข้ามทั้งหมด
วันนี้ผมไปวิ่งสวนจตุจักร
- ถังขยะจากห้าแยกลาดพร้าว ไปจนถึงสถานีรถไฟฟ้า ไม่มีถังไหนเลยไม่เต็มและล้น
- คนบนสถานีรถไฟฟ้าแน่นเหมือนทุกวัน
- สามแยกแถวบ้านผมมีไฟจราจรให้คนข้ามถนนโดยไม่มีฟุดบาตเพราะเอาไปปลูกต้นไม้หมดมาสองปีแล้ว
บางทีสันดานที่หนักที่สุดของไทยคือสันดานของชนชั้นปกครองที่ชอบโทษคุณภาพของประชาชน
+10
+111
+76000
เรื่องแบบนี้ บางทีผมก็มองเหมือนกับเรื่อง Usability design นะ คือสันดานคนมันไม่ต่างกันมาก อยู่ที่ว่าสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวมันถูกออกแบบมาให้เราแสดงออกยังไงได้บ้าง ถ้าฟังก์ชันออกแบบมาดี มองเห็นง่าย เข้าใจง่าย ก็ลด error จากผู้ใช้ไปได้เยอะ
ไม่ชอบคำนี้เลย
ให้ตายเหอะ
เอาข้อมูลของ Los Angeles มาแชร์
[ถังขยะ]
– ที่นี่มีถังขยะสาธารณะน้อยนะ บางทีก็ต้องเดินถือนานหรือว่าไปเจอเต็มก็มีบ่อยเหมือนกัน (ไม่รวมจุดทิ้งขยะตามครัวเรือน หรือสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย)
[การขับรถ/เข้าแถว]
– คนที่นี่ถึงแม้จะขับเร็วกัน แต่ก็ปฎิบัติตามกฏจาราจรกัน บางทีก็อาจจะแลดูแล้งน้ำใจไปบ้าง
– การหาที่จอดรถเป็นเรื่องใหญ่มาก (โดยเฉพาะช่วงหนาแน่น)
– ธรรมเนียมก็เข้าแถวก็พบเห็นได้ทั่วไป ขึ้นรถเมล์ สั่งอาหาร
[ป้ายจราจร]
– มีบอกทุกแยก แต่บางทีแยกใหญ่บางแยกมีป้ายเยอะเกินไป ทำให้เกิดความสับสนได้ (บางสี่แยะมีป้าย duplicate สามสี่อัน)
– พวกซอยก็ไม่มีป้ายบ้างหรือมีพวกป้าย Stop
– ที่นี่เกือบทุกแยกมีสัญญาณไฟสำหรับคนเดินเท้าข้ามถนน
– ที่นี่เวลาข้ามถนนไม่ต้องพะวงเรื่องมองซ้ายมองขวาแบบเมืองไทย
– ถ้าเห็นมีคนข้ามอยู่ปกติรถก็จะหยุดรอจนกว่าจะข้ามเสร็จ (ตรงจุดนี้ออกแนวมีน้ำใจอยู่ เพราะว่าหลายครั้งที่เจอว่ารถเลี้ยวนั้นไม่ได้รอคนข้ามแต่อย่างใด)
– ส่วนป้ายห้ามจอดนี่ถ้ามีใครฝ่าฝืนเจ้าหน้าที่ก็มาแจกใบสั่งกันได้เร็วมาก
[รถไฟฟ้า]
– คนที่นี่นิยมใช้รถยนต์ส่วนตัวกันมากกว่า คนใช้รถไฟฟ้าเลยดูบางตา
– ขบวนค่อนข้างเก่าและสกปรก
– รถไฟฟ้าที่นี่ใช้เครื่องขายตั๋ว และตรงทางเข้าชานชลาก็ไม่ได้มีเครื่องกั้นอะไร
– เจ้าหน้าที่รถไฟฟ้าแทบไม่มาปรากฏตัวให้เห็นเลยในแต่ละการเดินทาง (แต่ก็นั่นละ เพราะว่ารถไฟฟ้าที่นี่ไม่ได้เป็นอันหลัก, ถ้าเป็น New York มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการเยอะเหมือนกัน)
[รถเมล์]
– ที่นี่คนใช้รถเมล์เยอะ ขึ้นไปแต่ละครั้งมีโอกาสที่คนจะแน่นสูง
– ที่น่าชื่นชมคือรถเมล์เค้าทำรองรับคนพิการที่ใช้รถเข็น ทำให้มีคนพิการนั่งรถเข็นสามารถใช้บริการรถเมล์ได้ (และเจอได้บ่อยๆด้วย)
– รถเมล์ที่นี่ค่อนข้างตรงเวลา
– คนขับขับเร็ว
– รถจะเปิดประตูให้คนลงเฉพาะจอดป้ายรถเมล์เท่านั้น
– ไม่มีกระเก๋ารถเมล์, คนขับมีหน้าที่ดูผู้โดยสารชำระเงินตรงเครื่องที่อยู่ประตูหน้า
แต่ละประเทศนิสัยก็ไม่เหมือนกันครับ