ความพยายามควรอยู่ที่นั่น
ผมเชื่อว่าการไปบอกเด็กว่าความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่นเป็น Pitfall อย่างหนึ่งในการสร้างค่านิยมของไทย การ “ลงแรง” ไม่ควรเป็นการบ่งบอกถึงความ “สำเร็จ”
หนึ่งเลยคือการลงแรงอย่างไร้ปัญญา สร้างความหายนะได้มากกว่าความสำเร็จได้มากมายนัก
สองคือการลงแรงเพียงเพื่อมุ่งหวังเอาแต่ความ “สำเร็จ” แต่ไม่ได้บอกถึงคุณค่าของการลงแรงด้วยตัวมันเองนั้นเป็นการขับเคลื่อนความไร้น้ำใจในสังคมอย่างร้ายกาจ
เราแค่อยากเอาชนะ เราก็เลยลงแรง
ความพยายามไม่ใช่สิ่งที่เราจะใส่ลงไปเพื่อความสำเร็จ แต่เป็นการที่เรามองเห็นว่าถ้ามันสำเร็จมันจะคุ้มค่าแค่ไหน
มันอาจจะไม่สำเร็จ ทั้งหมดอาจจะสูญเปล่า
แต่เราก็ยังภูมิใจกับมัน เราเรียนรู้จากมัน และเราไม่เสียใจที่ได้พยายาม…
แต่นั่นก็หมายความว่ามันคือ”ความสำเร็จ”ที่เราได้พยายามแล้วต่างหาก
เราได้เป็นผู้ทำที่สำเร็จแล้วครับ
ผมว่ามันเป็นสำนวนที่เน้น ความพยายาม/มานะ/บากบั่น/focus มากกว่านะครับ
แหม่ะ สำนวนมันต้องสั้นกระชับเน้นๆ ยาวไปก็คงแย่
เด๋วจะกลายเป็นวิชา Project Management 101 เสีย
ปล. เมื่อก่อนผมเคยใช้คำลงท้ายที่ email signature ผมว่า
Work smart != smart hard
ผมว่าคุณสับสนนิยามของคำว่า “ความพยายาม” กับ “ความสำเร็จ”
มันไม่ได้มีแต่ด้านลบแบบที่คุณมองด้านเดียวหรอก
เช่น คนเป็นพ่อเป็นแม่พยายามทำงานหาเงิน เพื่อส่งลูกเรียนให้สำเร็จการศึกษาสูงๆ
หรือ เอดิสันพยายามทดลองกี่ครั้ง ถึงจะประดิษฐ์หลอดไฟสำเร็จ
เคยได้ยินคำว่า learning by doing หรือ เรียนรู้จากความผิดพลาด มั้ย
คำว่าความพยายามไม่ได้แปลว่าพยายามใช้แต่แรงโดยไม่ได้ใช้สมอง คุณไปเอานิยามมาจากไหนขอแหล่งอ้างอิงด้วย
ส่วนประโยคท้ายๆของคุณเขาเอาไว้ให้โค้ชพูดปลอบใจนักกีฬาว่า “ไม่เป็นไร พยายามทำดีที่สุดแล้ว” ต่างหาก
ถ้าจะวิจารณ์อะไรให้มันดูเท่ๆ ก็น่าจะมีน้ำหนักหน่อยไม่ใช่หลักลอยแบบนี้ ลองดูตัวอย่างเว็บ http://www.isriya.com/ รายนั้นซ้ายจัดก็จริง แต่ทำการบ้านมาดีมาก น่าชื่นชมในความพยายาม
ผมเป็นซ้ายจัดไปแล้ว