ผู้รับ

ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในโลกของเราคือ ทัศนคติทางเพศที่มองผู้ชายเป็น “ผู้ให้” แม้ในหลายปีให้หลังมานี้มุมมองแบบดีจะดีขึ้นมากแล้วจากการปรับกระบวนคิดในเรื่องของความเท่าเทียมทางเพศและเรื่องอื่นๆ แต่ทัศนคติแบบนี้ก็ยังไม่ได้หายไปไหนจากโลกของเรา

เราคงเคยชินที่เห็นภาพยนตร์สักเรื่องที่นางเอกตกอยู่ในมือเหล่าร้ายโดยที่ไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ และมีพระเอกที่อาจจะเก่งกาจ หรืออาจจะไม่ได้เรื่องเลยก็ตามที ฝ่าฟันปัญหานานับประการเพื่อปกป้องช่วยเหลือนางเอกให้รอดพ้นจากภยันอันตรายทั้งปวง แล้วเรื่องราวก็จบลงด้วยการแสดงความขอบคุณจากนางเอกที่บอกว่าเธอขาดพระเอกไปไม่ได้ตลอดกาล

ภาพเหล่านี้แม้จะสร้างความคิดที่จะปกป้องดูแลคนที่เรารักให้กับผู้ชายจำนวนมากในโลกก็ตาม แต่ในมุมกลับแล้ว มันกลับเป็นเรื่องยากที่เราจะยอมรับว่่าในขณะที่เราพยายาม “ให้” นั้น ชีวิตคู่ของคนเราก็ต้องยอมที่จะ “รับ” ไปพร้อมๆ กันด้วย เหมือนกับตอนที่พระเอกรู้ว่านางเอกไปดูกีฬากับพระเอกเพื่อจะใช้เวลากับพระเอกมากกว่าที่จะเป็นความชอบส่วนตัวในเรื่อง The Break Up

บางทีแล้วการเรียนรู้ที่จะรับ และการแสดงความตระหนักในคุณค่าของสิ่งที่เราได้รับในทางบวก อาจจะเป็นเรื่องที่เราต้องเรียนรู้ และปรับปรุงในคนรุ่นต่อๆ ไปเช่นเดียวกับที่คนรุ่นก่อนหน้าเราได้ปรับในเรื่องความเท่าเทียมมาก่อนหน้านี้แล้วก็เป็นได้

 

lewcpe

CTO at MFEC PLC. Chief Editor at Blognone.com

 

5 thoughts on “ผู้รับ

  1. อืมมม แต่ฉันไม่เคยมองว่าเพศชายเป็นผู้ให้นะ
    ถ้าจะมองว่า ชายปกป้องหญิง ก็คงในแง่ที่ธรรมชาติให้ความแข็งแรงทางร่างกายมา
    ก็เลยได้เปรียบตรงจุดนี้

    จริงๆจะมองว่าเพศหญิงเป็นฝ่ายให้มากกว่าด้วยซ้ำ อดทนมากกว่าด้วย
    แต่ถ้าเอาเรื่องเพศมาพูดแล้วระหว่างคนสองเพศด้วย มันก็คงยากที่จะหาจุดที่ลงตัวเข้ากัน
    เพราะต่างก็พูดจากมุมที่ตนเองยืนอยู่นั่นเอง

    อ่อ หมายเหตุ ชอบเรื่อง the break up ก่อนดูไม่คิดว่าหนังจะดีแบบที่ได้ความรู้สึกหลังดูจบค่ะ ^^

  2. อ่านไปรอบหนึ่งแล้ว.. อ่านแล้วงง เลยลี้ไป แล้วมาอ่านใหม่ ๕๕๕

    อ้อๆ เข้าอารมณ์แบบว่า Gratitude แล้วนิ.. เหมือนช่วงนี้ได้ยินบ่อย จนต้องลองเขียนบ้าง อิอิ

  3. มันก็ยากที่จะพูดนะ
    แต่นัทว่า ผู้ชายเป็นฝ่ายรับไม่น้อยไปกว่าผู้หญิงหรอก

  4. น้องชายผมสอนผมว่า “คนเราไม่เห็นแก่ตัว ฟ้าดินลงโทษ” ครับ (เกี่ยวกันมั้ยเนี่ย?)

  5. การที่จะรับฝ่ายด้วยเป็นความรู้สึกที่เห็นแก่ตัวเองมากเกินไป

    เพราะคนที่คนย่อมที่จะอยากเป็นผู้รับเหมือนกัน

    ไม่มีใครที่จะอยู่ในสถานะผู้ให้ได้ตลอด หรือผู้รับได้ตลอด

    เพราะการมีแค่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอย่างเดียว..สถานะไม่สมดุลกัน

    ต้องเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ถึงจะสมดุลกับการอยู่ในสังคมนี้นะค่ะ

Comments are closed.