วิชาตรรกศาสร์เป็นวิชาที่ชวนพิศวงสำหรับคนจำนวนมาก เพราะแม้ว่าตัววิชาจะดูเป็นการอธิบายเหตุและผลในสิ่งต่างๆ แต่หลายๆ ครั้งบทสรุปที่ได้ก็ออกจะแปลกๆ จากความรู้สึกคนเราไปอยู่มาก ยกตัวอย่างเช่น ตรรกะแบบ ถ้า… แล้ว… เช่น
ถ้าเขาสองคนรักกัน แล้วเขาทั้งสองจะห่วงใยกัน
เมื่อประโยคเช่นนี้ หลายๆ คนอาจจะงง หากผมบอกว่า ถ้าสองคนนี้ห่วงใยกัน แล้วเขาสองคนอาจจะรักกันหรือไม่ก็ได้ แต่ในทางวิชาตรรกศาสตร์แล้วการที่เราเห็นประโยคตัวอย่าง (แล้วถือว่ามันเป็นข้อเท็จจริง) แล้วเราพบสถานะการณ์ที่คนสองคนห่วงใยกัน เราไม่สามารถสรุปได้ว่าเขารักกัน
เรื่องอย่างนี้อาจจะอธิบายได้ในเชิงของการซื้อของ เราอาจจะมีข้อเท็จจริงง่ายๆ อยู่เช่น
ถ้าสินค้าดีมาก แล้วมันจะแพง
ประโยคตัวอย่างนี้เราอาจจะนึกออกได้ง่ายๆ ว่าเราอาจจะซื้อของแพงโดยที่มันเป็นของแย่มากๆ ได้อีกเหมือนกัน เพราะเราโดนหลอก ดังนั้นหากเราซื้อสินค้ามาแพง เราก็ไม่อาจสรุปได้ว่ามันดีหรือไม่
ในทางปฏิบัติแล้ว หากเราต้องการรู้ว่าในทางกลับกันของประโยค ถ้า… แล้ว… นี้เป็นจริงหรือไม่ เราต้องหาข้อเท็จจริงอื่นๆ มาประกอบกันเพื่อที่จะบอกได้
แต่ถ้าเราหาไม่ได้ล่ะ…..
แต่ถ้าหาไม่ได้แล้ว … ..ไม่หาต่ออีก ได้หรือเปล่า
ว่าแต่ว่า สอนวิชาแคลกับเศรฐศาสตร์บ้างก็ดีน้า ฮ่าๆๆ
ถ้าฉันรักA…แล้วAต้องรักฉัน
ถ้าบทกลับไม่เป็นจริงก็มีอยู่สองทางครับ
1.พยายามหาตัวเชื่อมต่อไป
2.เปลี่ยนตัวแปรเป็นตัวอื่น