เงื่อนไข

ถ้าใครอ่านโคนัน (ซึ่งผมเลิกอ่านไปแล้ว) จะพบคดีสุดคลาสสิคคือคดีห้องปิดตาย  ที่เป็นการสร้างพื้นที่ที่ไม่มีใครเข้าออกได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ

คดีห้องปิดตายเป็นรูปแบบหนึ่งของเทคนิคการเขียนนิยายที่สร้างเงื่อนไขที่จำกัด เพื่อชวนให้ผู้อ่านสามารถคิดตามไปด้วยได้เสมอ เพราะเราสามารถตัดตัวแปรอื่นๆ ที่ผู้เขียนบอกไว้อย่างชัดแจ้งว่าไม่ต้องคิด เช่น กุญแจรุ่นพิเศษไม่มีกุญแจผีแถมปั๊มไม่ได้ (รุ่นไหนว่ะ จะซื้อไปขายธนาคาร) หรือจะเป็นกำแพงหนามาก ฯลฯ

กลับมาในโลกความเป็นจริง การที่เราจำกัดความคิดของเราไว้เพียงแค่นั้นโดยมากแล้วเพื่อผลประโยชน์หลายๆ ด้าน โดยเฉพาะความคิดสร้างสรรที่คนสร้างสรรจะไม่ถูกกำหนดด้วยตัวแปรจำนวนมากเกินไป เช่น ในแง่ของงานวิจัยนั้น แทบทั้งหมดต้องอาศัยการกำหนดเงื่อนไขยาวเป็นหางว่าวเพื่อระบุว่าเทคนิคอะไรบางอย่างนั้นดี แล้วปล่อยให้งานวิจัยชิ้นต่อๆ มาสามารถเรางานเดิมไปทดลองได้ว่างานนั้นดีกับกรณีอื่นๆ ด้วยหรือไม่

ที่ร้ายคือหลายๆ ครั้งแล้วเราคิดไปเองว่าเงื่อนไขในโลกความเป็นจริงนั้นจะตรงกับเงื่อนไขของโลกจำลอง ความคิดแบบนี้ทำให้กระบวนการตัดสินใจบิดเบี้ยวไปจากที่มันควรจะเป็น

เรื่องพวกนี้ในโลกความเป็นจริงมีอยู่เป็นจำนวนมาก เรื่องที่ผมเห็นจากการทำงานคือ การที่นายจ้างคิดว่าลูกจ้างจะไม่บอกเงินเดือนกันเอง  ซึ่งไม่เป็นจริงอย่างรุนแรงในสังคมกันเองๆ แบบไทยๆ

ที่น่าสนใจคือหลายๆ ครั้งการไม่สนใจตัวแปรบางตัวก็ได้ผลดีมากในหลายๆ กรณี  แม้ว่าความคิดเริ่มต้นจะไม่จริง แต่การไม่สนใจตัวแปรเหล่านั้นกลับช่วยให้เรามีความคิดสร้างสรรได้มากขึ้น และผลลัพธ์ยังคงถูกต้องดี

นักบริหารที่เก่งคงเป็นคนอีกกลุ่มที่เลือกไม่สนใจบางเรื่องได้เป็นอย่างดี

 

lewcpe

CTO at MFEC PLC. Chief Editor at Blognone.com

 

2 thoughts on “เงื่อนไข

  1. เคยอ่านนะ คิดว่า.. ชอบเรื่องนี้ เพียงแต่ขี้เกียจตามหนังสือ.. ดูทีวีบ้างบางที

    อืม.. เรื่องเงินเดือน.. ฉันล่ะสงสัยจริงๆ ว่าจะอยากรู้ของกันและกันไปทำไม ในเมื่องานอาจจะไม่เหมือนกัน

    อันที่จริง ก็ประเมินตัวเอง ว่าได้สมกับงานที่ทำหรือยัง? ถ้าสมแล้ว พอใจแล้ว ก็.. จบ

    ..

    ไม่สนใจปัจจัยรอบข้าง.. เรียกว่า ตีวงให้แคบลงเท่าที่จะแคบได้ อะไรไม่ใช้ปัจจัยที่ส่งผลสำคัญต่อสิ่งที่จะทำ.. ก็ตัดออกไป .. ปัจจัยยิบย่อยเกินไป ก็ตัดไป..

    ตัดๆๆๆๆๆ
    เอาเท่าที่เหลือ และจำเป็น

    ก็พอมั้ง

Comments are closed.