ว่างจัด (การบ้านยังไม่เสร็จ) ลองมาหาคำอธิบายของคำว่า “เธอดีเกินไป” กันเล่นๆ ดีกว่า
ลองจินตนาการว่าเวลาเราไม่รู้จักใคร หรือเพิ่งเจอหน้า เรามักจะไม่มีความคาดหวังใดๆ จากคนๆ นั้น และในทางกลับกัน เราเองก็ไม่มีความห่วงใยใดๆ ที่จะช่วยเหลือคนที่เราไม่รู้จักนั้น จนเมื่อเรารู้จักกันมากขึ้น เราจึงมีความคาดหวังมากขึ้นเรื่อยๆ แต่โดยทั่วไปแล้วเราก็จะมีความ “สะดวกใจ” ที่จะรับความปรารถนาดีจากคนๆ หนึ่งได้ในช่วงหนึ่งเท่านั้น เช่น เราอาจจะยินดีขอให้เพื่อนที่เรียนด้วยกันเลี้ยงก๋วยเตี๋ยวสักชาม แต่กับเพื่อนคนเดียวกัน ถ้ามาเสนอจะซื้อรถให้เราคงไม่สะดวกใจจะรับ แถมระแวงใส่ว่ามันจะมาไม้ไหน จากเหตุการณ์รูปแบบนี้เลยสรุปออกมาเป็นกราฟของความพึงพอใจกับความปรารถนาดีได้ดังข้างล่าง
โดยยิ่งเมื่อความปรารถนาดีที่ให้ต่อกันมากเกินไปแล้ว ความพึงพอใจจะลดลงเรื่อยๆ จนติดลบไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด อย่างถ้าเพื่อนเราเสนอเงินมาให้เราซักสิบล้าน เราคงแอบคิดว่ามันไปค้ายาบ้าแล้วเอาเราเป็นที่ฟอกเงินได้เหมือนกัน
แต่กราฟข้างบนก็ยังไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์ “เธอดีเกินไป” ได้อีกเหมือนกัน เพราะถ้ามันง่ายๆ อย่างนี้แล้ว เราคงถามสาวๆ กันได้ง่ายๆ ว่าวันก่อนที่ให้ยืมเงินไปสองร้อยแล้วมันมากเกินไปใช่มั๊ย อะไรอย่างนั้น
กลับมาที่กราฟ เราจะเห็นว่าโดยทั่วไปมักจะมีจุดที่ดีที่สุดที่เราจะรับความปรารถนาดีได้เสมอ เช่น ถ้าเรายินดียืมเงินเพื่อนสองร้อย แล้วเพื่อนให้เรายืมเงินสองร้อยเราจะไม่ลำบากใจว่ามันมากเกินไป แต่จะมีแต่ความซาบซึ้งว่าเพื่อนเราให้เราได้ เราสามารถเอาปริมาณความปรารถนาดีเหล่านี้มาเก็บค่าในมุมมองต่างๆ ที่เป็นตัวแทนความปรารถนาดีโดยทั่วๆ ไปเช่น เวลา ความช่วยเหลือ ฯลฯ (คิดไม่ออกแล้ว..) ขณะเดียวกันเราก็มีความคาดหวังกับเพื่อนอีกคนในอีกรูปแบบ เช่นคนๆ หนึ่งอาจจะงานยุ่งมากเลยไม่มีเวลาให้ แต่กลับคาดหวังให้เพื่อนว่างรับฟังปัญหาตลอดเวลาอย่างนั้นก็เป็นไปได้
กราฟข้างบนแสดงความคาดหวัง และความปรารถนาดีที่คนๆ หนึ่งมีกับคนอีกคน ซึ่งมันจะดีมาก ถ้าทั้งสองคนมีความอยากให้และรับพอๆ กัน ดังกราฟ ข้างล่างนี้
แม้คนๆ หนึ่งจะมีความปรารถนาจะให้และรับในแต่ละเรื่องไม่เท่ากัน แต่ก็เป็นไปได้ที่จะพบอีกคนหนึ่งที่เข้ากันได้พอดี เช่น คนที่มีแฟนแล้วอาจจะไม่มีเวลาให้เพื่อนมากนัก แต่เมื่อเวลามีปัญหากลับต้องการให้เพื่อนพร้อมรับฟังตลอดเวลาแม้จะเป็นตีสามก็ตามที ในกรณีแบบนี้ ถ้าเจอคนเป็นโสด นอนน้อย และยินดีคุยตลอดเวลาก็ถือว่าโอเคไป (คุ้นๆ นะกรณีตัวอย่างเนี่ย)
มั่วไปมั่วมา เราอาจจะอธิบายอาการ “เธอดีเกินไป” เป็นรูปข้างล่างนี้ไปได้
นั่นคืออาการที่ฝ่ายหนึ่งพยายามให้จนเกิน (อาจจะหวังความสัมพันธ์ที่เดินหน้าจากการให้ หรือไม่ก็อีกเรื่อง) จนสุดท้ายแล้วความพึงพอใจกลายเป็นติดลบสะสมในหลายๆ ด้านไปในที่สุด
ปล. บทความนี้มั่วมาก แถมเขียนตอนง่วง อ่านจบแล้วโปรดอย่าจริงจัง
คำว่า “ดีเกินไป”
อาจไม่ได้หมายความว่ามันเป็นอย่างงั้นจริงๆ เสมอไป
หลายคนพูดออกไป เพราะก็ไม่รู้เหตุผลเหมือนกันว่า “เฮ้ย… เค้าดีกับเราขนาดนี้ ทำไมเรายังไม่รักเค้าวะ…”
จริงๆ มันคงเป็นคำว่า “ไม่ใ่ช่”
อืมๆ น่าคิด แต่น่าจะแทนด้วยกราฟของdiode ดีกว่ามั้ย
แสดงว่าเป็นความหลังฝังใจ ถึงขนาดต้องเขียนกราฟ พร้อมยกทฤษฏีมาอธิบาย
แต่จริง ๆ คำว่า “ดีเกินไป” มันค่อนข้าง paradox นะครับ มันมีด้วยเหรอ ดีเกินไป ผมนึกว่ายิ่งดี ก็ดีสิ ความดีไม่น่าจะต้องมีลิมิต
แต่คิดไปคิดมาคำคำนี้ อาจใช้อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยขณะนี้ได้นะครับ “ประชาธิปไตยมันดีเกินไป เรายอมรับไม่ได้” อิอิ
ผู้หญิงยุคปัจจุบันชอบผู้ชายแบบนี้นะครับ
1. ดิบ, เถื่อน, ไม่ค่อยใส่ใจตัวเอง
2. อ่อนโยน รักครอบครัว
3. ใส่ใจครอบครัว ห่วงใยสาว ๆ
คำว่าดีเกินไป มันก็จะหายไปครับ เหอ ๆ จริง ๆ แล้วผู้หญิงไม่ชอบผู้ชายสุภาพหรอก ชอบดิบ ๆ ครับ อิ อิ ^o^
เหมือนจะหลุดประเด็นไปเล็กน้อยนะพี่ เริ่มจาก “ดีเกินไป” จากเพศตรงข้าม
จบลงที่ ความสมดุลเรื่อง เงิน เวลาหรือการพึ่งพาได้ จากเพื่อนซะงั้น
ผมรู้อย่างเดียวว่าประโยคนี้มาเมื่อไหร่ คงอึ้งกิมกี่ไปหลายนาที
ปล.กลไกเรื่องอารมณ์ คณิตศาสตร์ยังคงหาสมการที่แน่นอนไม่ได้
งงได้อีก แป่วแหว่ว
(งงจริงๆนะ)
เดาว่า คุณลิ่วคงโดนเพื่อนโทรมาปรึกษาจนดึกๆล่ะซี
ผมโดนคำว่า “เพื่อนสนิท” มากกว่า T_T
คำว่าดีเกินไป อาจหมายความว่า ดีกับสังคม คนรอบข้าง ฯลฯ แต่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้หญิงได้ กล่าวคือคุณเอาเวลาและความเอาใจใส่ไปมอบให้กับ environment ภายนอก เช่นงาน, สังคม แล้วให้ความสำคัญกับแฟนเป็นอันดับรองๆ แบบนี้ ทำให้ผู้หญิงรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่าลง แล้วอาจจบลงด้วยคำว่า “คุณดี(กับคนรอบข้าง)เกินไป”…
ดีเกินไป มีคนเคยใช้คำนี้กันเรา คนที่เราแอบชอบมานาน เค้าตอบว่า เราดีเกินไป มันหมายความว่างัยข้ออ้างรึป่าว พูดแทนคำว่าไมชอบรึป่าว