วิศวกร

วิศวกรคืออะไร?  สำหรับเด็กป. ตรีเมืองไทยหลายๆ คน (น่าจะเยอะด้วย) วิศวกรไม่ต่างอะไรไปจาก “Yet another science faculty with higher average salary” (ขอไม่แปลแล้วกัน)

โดยเนื้อแล้ววิศวกรนั้นต่างจากนักวิทยาศาสตร์ที่ทรัพยากร ขณะที่นักวิทยาศาสตร์มุ่งทำทุกอย่างเพื่อให้ได้คำตอบดังที่หวัง โดยไม่สนใจว่าคำตอบนั้นจะสามารถนำมาใช้งานได้จริงหรือไม่ หากความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ท่านนั้นมีเอกลักษณ์ (Unique) ก็ถือได้ว่ามันมีคุณค่าแล้วในเชิงวิทยาศาสตร์

ขณะที่วิศวกรสนใจการใช้งานในโลกความเป็นจริง (ณ ตอนที่ศึกษาความรู้นั้นๆ)  อยู่ด้วย

……

มีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง ราชาประเทศที่อุดมไปด้วยน้ำมันเรียกสุดยอดวิศวกร กับสุดยอดนักวิทยาศาสตร์มาพบ แล้วบอกถึงประสงค์ว่า ราชาต้องการสร้างการเดินทางทะลุกำแพง โดยให้ทั้งสองคนทำงานแยกกันอิสระ

นักวิทยาศาสตร์เริ่มระดมทีม นักวิทยาศาสตร์จำนวนมหาศาล กับเครื่องมือแยกมวลสารที่เพิ่งออกจากห้องวิจัย หลังจากทำการพัฒนาอยู่สิบปี ใช้ทีมงานกว่าร้อยคน เครื่องเทเลพอร์ตก็สำเร็จลง สามารถเดินทางทะลุกำแพงได้สำเร็จ

เขานำงานไปเสนอต่อราชา แล้วถามถึงผลงานของวิศวกรที่ทำงานแข่งกับเขา

ราชาตอบนักวิทยาศาสตร์ว่า “เขากลับบ้านไปนานแล้ว ตั้งแต่วันที่เราสั่งงานนั่นล่ะ”

นักวิทยาศาสตร์ถาม “เขาไม่รับงานนี้หรือ?”

“เปล่า เขาสร้างประตู”

……

เรื่องข้างบนเล่ากันเล่นๆ แต่จริงๆ แล้วงานทางวิทยาศาสตร์แบบบริสุทธิ์ยังคงจำเป็นมาต่อโลกของเรา ถ้าเราได้อ่านหนังสือเล่าชีวิตนักคณิตศาสตร์ (ซึ่งน่าจะเป็นสาขาที่บริสุทธิ์มากๆ ของวิทยาศาสตร์) จะพบว่าหลายๆ เรื่องที่ตอนที่เราคิดนั้นอาจจะหาคำตอบไม่ได้ว่าจะใช้งานอะไร แต่มันจะมีคุณค่าอย่างล้นเหลือเมื่อเราต้องการมัน

 

lewcpe

CTO at MFEC PLC. Chief Editor at Blognone.com

 

8 thoughts on “วิศวกร

  1. นัทว่า
    วิศวกร คือ การนำเอาความรู้ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบมาประยุกต์
    เพื่อใช้งานจริง งั้นรึป่าว?

    ก็จำเป็นต้องมีทั้งสองสายวิชานั่นแหละ

  2. ความคิดส่วนตัวผมคือ

    วิศวกรรมในบ้านเรานั้นยังไม่มีความแน่ชัดเท่าไหร่ ซึ่งคู่มวยที่มักถูกนำมายกก็ได้แก่ วิทยาศาสตร์ และ สายอาชีพ

    ในขณะที่วิศวกรรมในบางที่นั้นเรียนวิศวกรรมโดยใช้หลักสูตรเกือบจะเป็นวิทยาศาสตร์ กล่าวคือมุ่งเน้นภาคทฤษฏีและการทดลอง แต่ลดความสำคัญของการออกแบบแผนงานและโครงสร้าง ซึ่งน่าจะเป็นจุดเด่นของสาขาวิศวกรรม

    ถ้ามองเฉพาะทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลายครั้งที่เราเรียนจบไปเพื่อเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนได้ แทนที่จะออกแบบโปรแกรมที่ซับซ้อนเป็น

    แต่การประยุกต์ของวิศวกรรมศาสตร์นั้น บางทีอาจถูกตีความไปว่ามันเป็นการทำงานแบบสายอาชีพ คือเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์โดยใช้ทักษะส่วนตัวและความรู้ที่เรียน ซึ่งทำให้การออกแบบถูกมองข้ามไปอีกเช่นกัน

    เช่นการสร้างซอฟท์แวร์ ถึงแม้มันจะไม่ใช่การเขียนโปรแกรมเพียงอย่างเดียว แต่มันก็ไม่ใช่แค่การผลิตซอฟท์แวร์ออกมาตามความต้องการตลาด โดยไม่คำนึงถึงโครงสร้างภายในและการวางแผน

    และสุดท้าย การที่การศึกษาสายวิทยาศาสตร์และสายอาชีพในเมืองไทยนั้นไม่แข็งพอ ทำให้นิสิตนักศึกษาหลั่งไหลมาเรียนสายวิศวกรรมศาตร์ (ซึ่งในมุมนี้มันอาจจะเป็นลูกครึ่ง) กันมากมาย

  3. ปล. ผมไม่คิดว่าคณิตศาสตร์จัดอยู่ในสาขาของวิทยาศาสตร์นะ ผมว่ามันค่อนข้างเป็นเอกเทศจากศาสตร์ใดๆ

  4. ผมเป็นนักวิทยาศาสตร์ ทั้งนิยามที่ 1 และนิยามที่ 2
    นักวิทยาศาสตร์ ก็คงสนใจเหมือนกันหละว่าจะใช้ได้จริง หรือเปล่า
    แต่ว่าก็ต้องไม่สนใจมากเกินไป เพราะเหลือไว้ให้วิศวกรทำ

  5. ผมไม่กล้าเรียกตัวเองว่านักวิทยาศาสตร์ครับ เพราะไม่เคยคิดค้นอะไรได้เลย T-T เศร้าจิต

  6. วิศวกร กับ นักวิทยาศาสตร์…

    อืม…

    ไม่เคยเป็นทั้งสองอย่าง

    อืม…

  7. ทั้งวิทยาศาสตร์กับวิศวกรรมศาสตร์
    สุดท้ายมันก็มาตกอยู่ที่คณิตศาสตร์

  8. แล้วทั้งสอฅอาชีพนี้
    ก็ต้องทำงานรับใช้นักการเมือง

Comments are closed.