สิ่งหนึ่งที่ผมมองว่าประเทศไทยขาดไปคือเรื่องของข้อเท็จจริง ขณะที่เรามักจะมีการอ้างอิงจำนวนมากมายมหาศาล แต่เมื่อตั้งคำถามกันจริงๆ แล้วว่าสิ่งที่เราอ้างอิงนั้นเชื่อถือได้เพียงไร เรามักจะตอบไม่ได้เสมอๆ
ประเทศไทยต้องการการพูดคุยกันด้วยข้อเท็จจริงให้มากกว่านี้ เราต้องการศูนย์รวมข้อมูลที่น่าสนใจไ้ว้อย่างเต็มรูปแบบ เราต้องการสื่อระดับปฐมภูมิที่เชื่อในความคิดอ่านของประชาชน ด้วยการป้อนเฉพาะข้อมูลดิบที่เป็นข้อเท็จจริงไว้อย่างรวดเร็ว ฉับไว เชื่อถือได้ ตรวจสอบที่มาได้ มีหลักฐานชัดเจน แล้วปล่อยให้โครงสร้างสังคมเกิดการโต้แย้งประเด็นต่างๆ ที่ตามมาจากข้อเท็จจริงเหล่านั้นได้อย่างอิสระ
จะดีแค่ไหน ถ้าเว็บข่าวเว็บหนึ่งได้อ้างถึงคำให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีสักคน แล้วท้ายข่าวมีการลิงก์ไปยังไฟล์เสียงฉบับเต็มของการสัมภาษณ์ จะดีแค่ไหนถ้าเราดูการประชุมสภา แล้วเมื่อมีการอ้างถึงเอกสารฉบับใดๆ ก็สามารถกดลิงก์ไปยังเอกสารฉบับนั้นๆ ได้ภายในสิบวินาทีถัดมา
การเลือกตั้งอาจจะเปลี่ยนไป เมื่อมีข้อมูลจำนวนครั้งที่ขาดประชุมของผู้สมัครทุกคนให้ประชาชนได้ดูกันอย่างทั่วถึง ตลอดจนการโหวตทุกครั้งในตลอดอายุงาน นโยบายที่ใช้หาเสียงในแต่ละครั้งของผู้สมัครแต่ละคน
เราต้องการระบบการค้นหา และการจัดเก็บข้อเท็จจริงเหล่านี้ในระดับ massive เราต้องการชุมชนขนาดใหญ่เพื่อร่วมกันดึุงคนจำนวนมากมาช่วยกันสอดส่องข้อมูลที่น่าสนใจ ย่อยเฉพาะข้อเท็จจริงมานำเสนอ เพื่อให้ประชาชนได้มองเห็นภาพอย่างชัดเจนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
ใครจะร่วมด้วยมั่ง? ถามกันง่ายๆ อย่างนี้แหละ (เหมือนตอนสร้าง Blognone)
ยกมือเอาด้วย
นึกออกว่าต้องการอะไร เพราะเป็นข้อมูลที่ค้นมาใช้งานเองจนเป็นนิสัยอยู่แล้ว
แต่ยังนึกไม่ออกว่าจะทำให้เป็นรูปธรรมยังไง? และจะขีดเส้น fact ไว้ตรงไหน?
ผมอยากได้มานานแล้ว ข้อมูลการเข้า-ขาดประชุมสภาของนกม.เนี่ย
แต่เอาแค่เว็บที่ถูกบล็อคยังให้ไม่ได้(ว่าด้วยข้อมูลราชการ ปกปิด!?) ของพวกนี้จะหาได้ด้วยเหรอครับ
information overloaded?
ใครเคยพยายามอ่านร่างกฎหมายการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์บ้าง… มีให้อ่าน แต่ถ้าไม่มีใครมาแตก ๆ ให้ดู ก็อ่านไม่รู้เรื่อง — หรือไม่ก็เข้าใจเองไปแบบผิด ๆ
ข้อมูลดิบ ที่เป็นข้อมูลล้วน ๆ ผมว่ารวบรวมยากมาก เพราะว่ามันจะเยอะมาก (เช่น คนโน้นใส่ข้อมูลนี้ อีกคนเห็นว่า เอ้ย มันแง่ร้าย ก็เลยเติมข้อมูลอีกส่วนเข้ามา เติมไปเติมมา, หรือเช่นกรณีเสียงที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ ก็ตัดต่อได้อีก) ทีนี้ ถ้าต้องการจัดให้ข้อมูลเป็นระบบ มีแยกแยะว่าอะไรสำคัญอะไรไม่สำคัญ ผมว่า ก็จะมีปัญหาเรื่องการให้คุณค่ากับข้อมูลหลาย ๆ ส่วนอีก
เพราะว่าความสำคัญของข้อมูลแต่ละชิ้น มันไม่ได้อยู่ในตัวของข้อมูลเอง
ยกตัวอย่างเช่น ลิ่วอยากเห็นประวัติการขาดประชุม อีกคนอาจจะอยากเห็นประวัติการเข้าพบกับประชาชน สส.คนนั้นอาจจะคิดว่าเข้าประชุมสภาไปก็เท่านั้น เพราะว่าทุกอย่าง block vote อยู่แล้ว ทีนี้ บางอย่างไม่มีข้อมูลที่บันทึกไว้เป็นต้น
แต่ผมเห็นด้วยนะ ว่าควรจะมีการรวบรวมเอาไว้ แต่ผมไม่คิดว่ามันจะเป็นทางออกที่ดีได้ ถ้าเราไม่พยายามแก้ปัญหาอันอื่นเสียก่อน
นอกจากนี้ ลองดูย่อหน้านี้:
>>> เราต้องการชุมชนขนาดใหญ่เพื่อร่วมกันดึุงคนจำนวนมากมาช่วยกันสอดส่องข้อมูล ที่น่าสนใจ ย่อยเฉพาะข้อเท็จจริงมานำเสนอ เพื่อให้ประชาชนได้มองเห็นภาพอย่างชัดเจนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
แสดงให้เห็นว่า สุดท้าย ก็ยังต้องมีใคร “ย่อย” ข้อเท็จจริงให้กับประชาชนอยู่ดี ทีนี้ ใครจะเป็นคนย่อย แล้วเขาเลือกจะย่อยอะไรให้ประชาชน? ลองนึกดูว่า ถ้ามีคนนำเสนอเก่ง รู้จักจับโน่นผสมนี่กับข้อมูลดิบ เขาสามารถชี้นำ, บิดเบือน, และเปลี่ยนทิศทางอะไรต่าง ๆ ได้มากมาย จะทำอย่างไร ผู้เชี่ยวชาญแต่ละเรื่องก็มีไม่มากมายเท่าใดนัก มันไม่ง่ายเลยที่จะพยายามสู้กับอะไรแบบนี้
ผมคิดว่าถ้าเราอยากจะทำอะไรประมาณนี้ เราต้องหาทางสร้างระบบที่ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันและเรียนรู้ที่จะย่อยข้อมูลเหล่านี้เองมากกว่า
jitat – ผมมองว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ “ประชาชน” ทุกคนมาย่อยข้อมูลเหล่านั้นเอง และถ้าไม่ย่อยก็จะกลายเป็นอาการของ information overloaded อย่างอาจารย์ว่า
ผมมองว่าเราป้องกันการจับโน่นผสมนี่ และบิดเบือนข่าวไม่ได้ ต่อให้คนวิเคราะห์ข่าวด้วยความตั้งใจดี แต่โอกาสที่เขาจะจับทางผิดก็มีอยู่ จุดสำคัญที่ผมมองคือเมื่อข้อมูลดิบนั้นสามารถทำให้ “ทุกคน” เข้าถึงได้อย่างอิสระ เมื่อคนหนึ่งเบี่ยงทางผิด ด้วยข้อมูลดิบที่เข้าถึงได้ง่าย ก็มีโอกาสสูงที่คนอื่นๆ จะออกมาชี้ประเด็นที่ผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว
ยกตัวอย่างสนามบินสุวรรณภูมิ ในตอนนี้คนที่เข้าถึงรายงานการตรวจสอบสภาพพื้นสนามบิน (ซึ่งสำคัญกว่าห้องน้ำ หรือทางเดินมาก) ก็จะมีไม่กี่กลุ่ม ถ้าเรานำรายงานเหล่านั้นมาเปิดให้ทุกคนได้เข้าถึงอย่างง่ายดาย ขณะที่นักข่าวอาจจะไปเชิญนักวิเคราะห์มาให้ความเห็นทางหนึ่ง แต่อาจจะมีวิศวกรโยธาจำนวนมาให้ความเห็นอีกทางหนึ่งทำให้เกิดความหลากหลายขึ้นในระบบ
ประเด็นที่ผมเห็นว่าสำคัญกว่าคือทำอย่างไรให้ข้อมูลเหล่านี้บอกได้ว่ามันเชื่อถือได้จริง
ผมร่วมด้วยครับ
อยากได้เว็บแบบนี้มานานแล้ว
ในความคิดของผม โจทย์ของเราก็คือ
1.ทำอย่างไรให้พวกเราได้ข้อมูลดิบเหล่านั้นมา เพราะข้อมูลเหล่านั้นหลายๆครั้งก็ไม่ได้เปิดสาธารณะ
2.ทำอย่างไรให้คนที่รวบรวมข้อมูล รู้ว่าข้อมูลดิบที่ได้รับมา “เป็นความจริง100%”
เพราะในกรณีที่มันไม่ใช่ วีดีโอเทปที่บันทึกคำพูด แต่ดันเป็นข้อมูลรายงานทางวิชาการแทน
ของแบบนั้นเราจะทำอย่างไรจึงรู้ว่ามันเป็นข้อเท็จจริง ที่ไม่ได้ถูกบิดเบือนมาอีกทอดหนึ่ง
3.ทำอย่างไรให้เว็บน่าสนใจ เพราะข้อมูลดิบ เป็นสิ่งน่าเบื่อสำหรับหลายๆคน
และการเรียบเรียงให้มันไม่น่าเบื่อ ก็ หลายๆครั้งมันก็จะกลายเป็นความบิดเบือนไป
ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือ นำเสนอ ให้ข้อมูลเหล่านี้ไม่น่าเบื่อ และไม่บิดเบือนด้วย!
ตัวผมเองยังเสพข้อมูลที่บิดเบือนหรือรู้ไม่จริงมาก็มาก
ผมอยากได้เว็บแบบที่พี่ลิ่วกำลังจะทำมาก และอยากมีส่วนร่วมในการสร้างมันขึ้นมาด้วย
ผมจึงขอสนับสนุนพี่ลิ่วเต็มที่!
ดังนั้น โจทย์ทั้งสามข้อในความคิดผมถึงมีความสำคัญมาก ว่าเราจะตอบโจทย์ทั้งหมดนั้นได้อย่างไร
เพราะถ้าเราตอบโจทย์ทั้งสามข้อนั้นไม่ได้ทั้งหมด
เว็บที่พี่ลิ่วต้องการจะทำมันก็จะไม่ประสบความสำเร็จตาม goal ที่วางไว้ทันที
คำถามของผมคือ
เท่าที่อ่านมาเนี่ย..มันจะเป็นเรื่องการเมืองอย่างเดียวรึเปล่าหว่า? หรือว่ายังไง?
ผมเอาด้วยครับ
ผมมักโดนทั้งแม่และเพื่อนๆว่าเสมอเวลาผมถามว่า
“เค้า” หรือ “มีคนบอกว่า” ที่คนพูดอ้างถึงคือใครรู้ที่มารึเปล่า จริงเท็จแค่ไหน
เพราะถ้าเราไม่รู้ที่มา เราไม่สามารถพิจารณาความจริงของประโยคนั้นได้
เวลาดูข่าวมักมีการปฏิเสธว่าไม่ได้พูดอย่างนั้น ไม่ได้ทำอย่างนั้น ทั้งๆที่
สิ่งที่เคยพูดเคยถูกนำออกอากาศมาแล้ว ทำไมไม่มีคนนำมาเปรียบเทียบ
ข้อมูลเหล่านี้ให้ดู
ถ้าทำผมว่า focus เป็นเรื่องๆไปตามจำนวนบุคลากรที่มี เมื่อมีแนวร่วม
มากขึ้นค่อยขยายวง
ผมใช้ RoR ได้คล่องพอควร มีความรู้เรื่อง data mining บ้างแต่ลืมไปเยอะแล้ว
มีเวลาว่างประมาณ 3 ชม.ต่อวัน(ในช่วงนี้)
ถ้ามีอะไรให้พอช่วยได้ติดต่ิอได้เลยครับ