พอดีเห็นมีข่าวเรื่องวัคซีนในไทยเยอะ บันทึกความคิดไว้หน่อย
- กระบวนการยากที่สุดก่อนใช้งาน คือเฟส 3 ใช้คนเยอะ แถมควบคุมเวลาไม่ได้
- ในกรณี Pfizer ใช้คน 43,538 คน หลังจากฉีดครบสองเข็มแล้ว 7 วันจึงเริ่มนับประสิทธิภาพ ดังนั้นหากเราจะวิจัยวัคซีนอีกตัว เราต้องหาอาสาสมัครให้ครบโดยเร็ว รวมถึงผลิตวัคซีนเอาไว้สำหรับคนกลุ่มนี้ (เป็นยาหลอกครึ่งหนึ่งก็ต้องผลิตสี่หมื่นกว่าโดสมารอ)
- ให้อุดมดติเลยคือฉีดได้ในวันเดียวหมด ก็ต้องรอเริ่มเก็บผลอีกประมาณเดือนกว่าๆ ของจริงกว่าจะฉีดครบน่าจะใช้เวลานับเดือน
- ถึงเวลาจุดทรมานคือรอกลุ่มผู้ร่วมทดลองทั้งหมดติดเชื้อ ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ว่าจะติดเมื่อไหร่ แต่ในกลุ่มผู้ร่วมทดลองทั้งหมดจะมีเกณฑ์ว่าเริ่มวิเคราะห์ผลได้เมื่อใด ในกรณีของ Pfizer ระบุว่าจะเปิดมาวิเคราะห์ครั้งแรกเมื่อคนติดเกิน 94 คน เป็นผลเบื้องต้น และอีกครั้งคือ 164 คนเป็นผลเฟสสามเป็นทางการ (Pfizer แถลงผลรอบสามป่วย 927 คน++ เมื่อเดือนเมษายน) กรณีของ Pfizer ผู้ร่วมวิจัยน่าจะอยู่ในกลุ่มที่ติดเชื้อหนักมาก ทำให้เคสเพิ่ม 70 เคสภายในสิบกว่าวันเท่านั้น
- ตอนนี้ในไทยติด COVID กันวันละ 2-4000 คน ถ้าคิดต่อประชากรก็อาจะบอกได้ว่าแต่ละวันติดกัน 1 ใน 20000 ถ้ามีกลุ่มตัวอย่าง 40,000 คน แล้ววัคซีนไร้ประสิทธิภาพเป็น 0% เลยก็ต้องรอให้ครบ 100 คน โดยใช้เวลาถึง 50 วัน ถ้าวัคซีนประสิทธิภาพดีเยี่ยม 100% จะยิ่งช้ากลายเป็น 100 วัน สำหรับผลเบื้องต้น ถ้ารอผมเต็มก็จะนานกว่านั้น
- น่าจะเป็นเหตุผลให้วัคซีนบางตัวเลือกวิจัยกับกลุ่มเสี่ยงสูงๆ เช่น กลุ่มเจ้าหนัาที่สาธารณสุข ผลจะได้ครบเร็วขึ้น (มีความเสี่ยงอีกอย่างคือการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ติดเชื้อหนัก / attack rate สูง จะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนที่วัดได้ลดลง)
- ประเด็นการรอคนติดครบเคยเป็นประเด็นในยุโรป เพราะเสนอกันว่าหากทำ challenge trail (ฉีดเชื้อให้ติดเลย) ก็จะเร็วขึ้นมหาศาล แต่สุ่มเสี่ยงผิดจรรยาบรรณ สุดท้ายไม่มีใครกล้าทำ