วิกฤติโปรแกรมเมอร์

เห็นพูดกันบ่อยตามเว็บ

  • โปรแกรมเมอร์ไม่ได้หายไปจากสังคม ไม่ได้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ตรงกันข้าม ในยุคหนึ่งแล้วงานโปรแกรมเมอร์กลายเป็นงานระดับล่างสุด (เงินน้อย งานหนัก สายก้าวหน้าคิดไม่ออก) ด้วยซ้ำ จะมีดีบ้างคือรับงานนอกได้ง่าย
  • งานมากขึ้นเรื่อยๆ ปริมาณโปรแกรมเมอร์ที่ “ทำงานได้เลย” ก็ยังคงมีจำกัดอยู่ เพิ่มไม่ทัน ค่าแรงก็เพิ่มไปเรื่อยๆ คนที่มีอยู่เริ่มได้ offer ที่ดี หรืองานมีเยอะบางทีเบื่อๆ อยากจะเปลี่ยนงานซะก็ทำได้
  • ทั้งหมดนี้ “ไม่ใช่” วิกฤติ โปรแกรมเมอร์ไม่ได้หายไปนับหมื่นคนในวันเดียวแบบนั้น
  • ปัญหามีสองอย่าง คือ ค่าแรงที่นายจ้างคาดหวัง กับคุณภาพที่นายจ้างคาด
  • โอกาสที่จะเจอเด็กคุณภาพดีๆ ในค่าแรงที่นายจ้างจำนวนมากคาด น้อยลงเรื่อยๆ มีบ้างหากมีเหตุผลพิเศษบางอย่าง เป็นกรณีไป ไม่ว่าจะเป็นบ้านใกล้ คุยกันถูกคอ สวัสดิการดี ให้หุ้นบริษัท ฯลฯ แต่โอกาสรวมๆ ก็ดูจะน้อยลงเรื่อยๆ
  • ทางแก้ตรงไปตรงมา คือ ค่าแรงตลาดมันเพิ่ม ก็เพิ่มค่าตอบแทนให้เท่าตลาดเพื่อให้แข่งขันได้
  • แนวทางแบบอยู่ยาว ต้องทำงานกันตลอดชีวิต มีน้อยลงเรื่อยๆ คงคาดหวังกันได้น้อยลงแล้วในยุคนี้ ในแง่หนึ่งไทยเราก็ไม่เคยมีวัฒนธรรมรับประกันงานตลอดชีวิตเหมือนกัน ก็แฟร์ๆ กันทั้งสองฝ่าย
  • จับเด็กมาเทรน ถ้าเด็กเทรนแล้วขึ้น ก็ให้ตามสัดส่วนที่แข่งขันได้ ไม่งั้นเด็กก็ไม่อยู่กับเราอยู่ดี
  • ถ้าเป็นบริษัทไอทีก็คงตรงไปตรงมา ต้องรับงานในราคาต้นทุนตามตลาด
  • สำหรับบริษัท non-IT แล้วเจอปัญหา ทางแก้คือลดความต้องการใช้โปรแกรมเมอร์ซะ
  • อันนี้เป็นปัญหาของบ้านเราคือแต่ละบริษัทมักมี process เฉพาะตัวมาก จะซอฟต์แวร์เทพแค่ไหนก็ต้อง customize กันแทบทุกฟีเจอร์ ทุก process ที่สะสมมานับสิบปี ไม่สามารถปรับ ยกเลิก หรือยุบรวมได้
  • ก็ต้องเรียนรู้ที่จะตระหนักกันเสียทีว่าการเข้าไปแก้อะไร ต้นทุนที่เกิด ไม่ใช่ตอนใช้โปรแกรมเมอร์ให้แก้อย่างที่เราต้องการ แต่ต้นทุนคือโปรแกรมเมอร์ที่จะมานั่งดูแลส่วนที่เราแก้ไปตลอดอายุการใช้งาน
  • ถ้าบริษัททำเงินสูง จ้าง “ทีม” โปรแกรมเมอร์มาดูแลได้ก็คงไม่มีปัญหา (ไม่ควรให้คนเดียวดูระบบเดี่ยวอยู่แล้ว เพราะเหตุผลลาออกอาจจะมีได้ล้านแปด ตั้งแต่เงินไม่พอ ไปจนถึงอกหักอยากหนีรัก)
  • แต่ถ้าไม่มีงบขนาดนั้นก็ต้องอยู่กับซอฟต์แวร์สำเร็จรูปให้มาก แก้ไขซอฟต์แวร์ให้น้อย อยู่กับเส้นทางที่มีการซัพพอร์ตชัดเจน ต้นทุนต่ำ ยอมเปลี่ยนกระบวนการทำงานหากจำเป็น
 

lewcpe

CTO at MFEC PLC. Chief Editor at Blognone.com

 

One thought on “วิกฤติโปรแกรมเมอร์

  1. ผมคิดว่าผู้ประกอบการควรจะลงขันกันทำ software เพราะว่าธุรกิจคล้าย ๆ กันต่อให้ต้อง customize บ้างก็นิดเดียว เพื่อความสะดวกควรจะทำเป็นซอฟต์แวร์เสรีไปเลย

Comments are closed.