ผมเดินไปตาม Marina Bay ในสิงคโปร์ จุดที่เป็นสัญลักษณ์แห่งทุนนิยมมหาศาลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จุดที่ความโลภ วัตถุ และการพนันมาอยู่รวมกันในวงกลมเล็กๆ รอบแอ่งน้ำแห่งนี้
แสงไฟสาดไปตามเมือง เข้ากับเพลงจากวงออเครสตร้าที่ถูกจ้างมาบรรเลงอัดไว้ให้เข้ากับจังหวะของแสงไฟ
ไม่มีธรรมชาติ ไม่มีต้นไม้ ไม่มีความจริง
แม่น้ำที่ล้อมกรอบด้วยแนวตลิ่งคอนกรีต พื้นดินที่ถูกถมด้วยงานวิศวกรรรม และแสงไฟที่ได้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงมหาศาล
แต่นาทีหนึ่ง ผมรู้สึกว่ามันสงบและสวยงาม
เราจะเรียกสิ่งเหล่านี้ว่าอะไร ความหลงไหลในทุนนิยม ความหลงไหลในวัตถุ หรือความสร้างสรรค์แห่งมนุษยชาติ
เราควรจะรังเกียจมัน เราควรจะด่าว่ามันว่ามันเป็นความเลวร้าย หรือเราควรจะหยุดความเกลียดที่สร้างมาแต่หนไหน แล้วมองความงามที่สร้างสรรค์โดยเพื่อนร่วมโลกของเราเองที่ทำงานอย่างหนัก แล้วมองความสร้างสรรค์นี้ด้วยความชื่นชม
เวลาผ่านไปห้านาที การแสดงจบลง
ผมสงสัยกับตัวเองว่าการนั่งเครื่องบิน ขึ้นรถไฟฟ้า มาดูแสงไฟ มันก็เป็นความงามไม่ต่างจากการลุยป่า เข้าดง เพื่อไปชมน้ำตกอย่างนั้นหรือ
ทุนนิยมนี่มันเหี้ยจริงๆ
ไม่ค่อยเข้าถึงเท่าไรครับ โปรดอธิบายขยายความ
ชอบข้อเขียนนี้ครับ
ไปอยู่ 5 วันรู้สึกได้ว่าประเทศนี้ดูปลอมๆไปหมด ==”
ผมอยากขอแตกมุมมองอีกอย่างว่า…
เราปฎิเสธไม่ได้หรอกว่า ทุนนิยม คือแรงผลักดันหลายๆ อย่าง
โลกเราที่ถูกขับเคลื่อนแบบก้าวกระโดดแบบนี้ ส่วนหนึ่งนั้นมา
จากทุนนิยม…
ผมสงสัยอยู่คำหนึ่ง ที่บอกว่า “ความเป็นไปของโลก”
คำๆ นี้ถ้าตีความให้ดีจะพบว่า เหมือนโลกเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดเดาได้ มันมีบางอย่างที่เราไม่สามารถกำหนดได้ และ “ความเป็นไปของโลก” ก็คงบวก “ทุนนิยม” เข้าไปด้วย
ผมเองก็รู้สึกว่าทุนนิยมเป็นเหมือนมะเร็ง ที่เป็นส่วนเกินและไม่เป็นธรรมชาติ แต่ท้ายที่สุด “เรา” ต่างหากที่เป็นคนเลือก “มะเร็ง” ตัวนั้น ไม่ใช่หรือ?
ผมพอจะตีความบทความของคุณ lew ได้น่ะว่าเป็นการตั้งคำถามถึง”ทุนนิยม” – แบบไม่กล้าฟังธง
แต่ไม่เข้าในในบรรทัดสุดท้ายว่ามันจะเข้ากับบทความที่คุณ lew พูดมาทั้งหมดยังไง
+1
มองความเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างงุนงง ทุกอย่างเป็นข้าทาสของกษาปณ์เท่านั้นฤา
ผมว่าคุณ Lew กำลังจะบอกว่าให้เรารู้จัก Consume ช่วงเวลาที่ผ่านเข้ามาในชีวิตมั้งครับ ไม่ว่ามันจะเป็นยังไงก็มีด้านดีๆ ได้