Translation Memory

ยังว่าด้วยเรื่องของการแปลกันต่อ

เวลาที่เราแปลอกสารไปนานๆ โดยเฉพาะเอกสารด้านวิชาการ เรามักะพบว่ามีประโยคหรือวลีที่เราต้องแปลซ้ำไปซ้ำมาอยู่เรื่อยๆ พอจำได้เราก็แปลซ้ำเหมือนเดิม ถ้าจำไม่ได้เราก็แปลใหม่

การแปลใหม่โดยลืมไปว่าประโยคเดิมเคยแปลไว้อย่างไร มีข้อเสียหลายอย่าง หลักเลยคือเสียเวลาคนแปลที่จะต้องมานั่งนึกคำแปล ทั้งๆ ที่เคยคิดไว้ดีอยู่แล้ว อีกอย่างคือประโยคเดียวกันในเอกสารเดียวกัน อาจจะถูกแปลไม่เหมือนกันในเอกสารฉบับเดียวกัน ทำให้คนอ่านงงเอาได้

เรื่องนี้มีคนพยายามแก้ปัญหาไว้แล้วด้วยการทำ Translation Memory เป็นฐานข้อมูลของรูปแบบที่เคยแปลไว้แล้ว และนำกลับมาใช้ใหม่ เมื่อเจอวลีเดิมๆ หลักการทำงานโดยทั่วไปคือการแปลงเอกสารเข้ามาอยูในรูป XML ที่ใช้ในการแปล แล้วจึงแปลที่ละประโยคจากนั้นจึงสร้างเอกสารในรูปแบบเดิมของเอกสารต้นฉบับในภาษาใหม่

ขั้นตอนที่พูดถึงนี้โปรแกรมอย่าง OmegaT ทำให้หมดแล้ว เวลาเราแปลเราก็จะเห็นโปรแกรมที่แสดงประโยคให้เราดูทีละประโยคเท่านั้น ไม่ต้องสนว่าประโยคไหนอยู่ตรงไหนของหน้าเว็บ

ข้อดีอีกอย่างคือไฟล์ Translation Memory เช่น TMX มักจะง่ายต่อการ Merge มากๆ ทำให้ใช้โปรแกรมพื้นฐานเช่น Winmerge มารวมเอกสารเอาได้สบายๆ

ปล. Winmerge ไม่รองรับ UTF-8 แฮะ

 

lewcpe

CTO at MFEC PLC. Chief Editor at Blognone.com