เรื่องที่บ้านเราทำกันไม่ค่อยได้คือการไปให้ตรงนัดแบบพอดีเป๊ะๆ สมัยก่อนนั้นเราคงอ้างได้ว่ากรุงเทพฯ รถมันติด แต่สมัยนี้แม้จะทำงานในกรุงเทพฯ ที่เป็นแนวรถไฟฟ้า เราก็ยังคงเห็นการไม่ตรงเวลาอยู่นั่นเอง
เรื่องระเบียบคนก็ต้องสร้างกันไป แต่เรื่องหนึ่งที่บ้านเราไม่มีคือข้อมูลพื้นฐานประกอบการวางแผน เรามีโฆษณา BTS ที่โฆษณาว่าเร็วสารพัด หรือโฆษณา MRT ว่ามาตรงเวลาถึง 95% แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่าถ้าเราไปถึงประตูรถไฟฟ้าแล้วเราจะถึงปลายทางในกี่นาที และเราต้องเผื่อเวลาไว้เท่าใหร่
เมื่อวานเลยลองจับเวลาแต่ละสถานีเล่นๆ จากหมอชิตไปอโศก
- หมอชิต (0.00) จุดเริ่มต้น
- สะพานควาย (+2.11)
- อารีย์ (+2.09)
- สนามเป้า (+1.43)
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (+2.34)
- พญาไท (+1.47)
- ราชเทวี (+1.36)
- สยาม (+2.08)
- ชิดลม (+2.31)
- เพลินจิต (+1.33)
- นานา (+1.44)
- อโศก (+1.31)
ถ้ามีแผนผังทั้งระบบรถไฟอีกหน่อยเวลาใครโทรตามเราจะได้ไม่ต้องบอกส่งเดชว่า “อีก 5 นาที” แค่ดูจำนวนป้ายแล้วบวกเวลากันประมาณไปได้เลย
อันนี้คือนับเวลาหยุดที่สถานีไหม
นับแล้ว นี่คือนั่งไปแล้วนับจากเวลาที่ประตูเปิดในแต่ละสถานี
เวลาที่วัดนี่ วัดจากช่วงเวลาไหนครับ ( rush hour, etc. )
ผมเคยได้ยินมาว่า BTS ปล่อยจำนวนขบวน ในแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากันครับ
จำนวนขบวนไม่น่าเกี่ยวมากครับ แค่รอนานหรือไม่ ส่วนความเร็วน่าจะใกล้เคียงกันยกเว้นตอนมีปัญหาแล้วต้องหยุดรอกัน
จำนวนขบวนจะเกี่ยวตอนเรารอรถว่าต้องรอนานแค่ไหนซึ่งนั่นก็อีกตัวแปร