จบเรื่องหนังไปแล้ว กลับมาเรื่องความคิดอีกที
- หนังสะท้อนค่านิยมของไทยโดยรวมๆ สาวไทยต้องแต่งงานก่อน 30
- ที่จริงแล้วสังคมยุคใหม่คงไม่ได้สนใจเรื่องแต่งงานก่อน 30 กันจริงๆ แล้ว แต่มันสะท้อนมาจากค่านิยม แต่งงานคือมีลูก น่าสนใจมากว่าค่านิยมแบบนี้กำลังกดดันให้สาวๆ ในเมืองกรุงเลือกที่จะ “ไม่แต่งแม่งเลย” (อ่านจาก economist)
- เส้น 30 คือ barrier ของสังคมที่กำลัง crash กันระหว่างรุ่น รุ่นใหม่: การมีลูกเป็น optional, ทำงานทั้งสองคน, ดูแลกันและกัน ไม่ใช่ให้ใครเอาใจใคร กับ รุ่นก่อนหน้า: ต้องมีลูก (ซิ), คนนึงหาเลี้ยง อีกคนดูแลบ้าน, ชั้นทำให้ลูกชายชั้นมาอย่างดี เธอมาก็ต้องทำได้เท่ากัน
- การ crash กันแบบนี้สะท้อนออกมาในหนังอีกหลายต่อหลายเรื่อง ไอ้ประเภท 30+ ทั้งหลายนั่นล่ะ
- ไอ้ที่ว่า crash กันนี่บางทีก็อยู่ในคนๆ เดียว อย่าแปลกใจถ้าแฟนหนุ่มบางคนงงๆ ว่าจะวางตัวยังไงกับแฟนดี จะให้ทำงานด้วยกันดีมั๊ย หรือจะให้อยู่บ้าน หรือที่บ้านจะว่ายังไง ภาวะงงๆ นี่ก็ออกมาในหนังอีกเหมือนกัน (งงสองต่อเพราะผู้หญิงเงินเดือนดีกว่า ทำลายกำแพงด้านเศรษฐกิจของครอบครัวไปอีก)
- เรื่องงาน จริงๆ หลายคนคงมีปัญหาการคบกันในที่ทำงานอยู่แล้วจริงๆ ค่านิยมคนเมืองจำนวนมากกลัวการคบกับเพื่อนร่วมงาน ตัวหนังก็แค่เอามาขยายให้เว่อๆ
- เด็กฝึกงาน… อันนี้ถ้ากลับเพศเคยเจอ เคสแบบในหนังนี่ยังไม่เคยเจอ
ถ้าจีบคนที่ทำงานโดยเฉพาะทำงานแผนกเดียวกัน กลัวว่าถ้าเลิกกันแล้วจะวางตัวยาก เวลาทำงานด้วยกัน และอาจทำให้คนที่แอบชอบเราเสียใจว่าทำไมไม่เลือกเค้า
ทั้งหมดนี้คิดเอาเองนะครับ ยังไม่เคยลองทำ